ผู้ประกอบการธุรกิจ SMEกับภาษี!!!!

 

 
เรื่อง      จิระณัฏฐ์ จั่นอาจ   
              ศิวะ แนวโนนทัน                           
                                                                                       
          ตอนที่ผู้เขียนเรียนกฏหมายภาษีและเปิดอ่านประมวลรัษฎากรที่เล่มหนามากๆ ก็เกิดคำถามในใจว่าภาษีเกี่ยวข้องกับธุรกิจอย่างไรบ้าง เมื่อพอเรียนจบแล้ว ผู้เขียนทั้งสองคนจึงเห็นความสำคัญและผลกระทบของกฎหมายภาษี  และอยากที่จะแบ่งปันแก่ผู้ประกอบการเป็นความรู้ที่คู่ขนานในการดำเนินธุรกิจ เพราะผู้ประกอบการนอกจากต้องมีช่ำชองในทางธุรกิจแล้วนั้นยังไม่พอนะครับ ท่านต้องมีความรู้ทางภาษีด้วยเพราะว่า  “ภาษีหรือTax” เป็นสิ่งที่รัฐออกกฎหมายมาบังคับจัดเก็บ(Compulsory)จากประชาชน เมื่อออกมาเป็นกฎหมายบังคับให้ต้องเสีย จึงถือว่าเป็นภาษีเป็นต้นทุนอย่างหนึ่งที่ตายตัว(fixed cost)ในการประกอบธุรกิจ!! 
 
โอละหนอยิ่งเจอกับสภาพทางเศรษฐกิจในปีที่ไม่ค่อยดีแบบนี้ ทำเอาผู้ประกอบการหน้าบูดเบี้ยวไปตามๆกันเวลาที่ต้องเสียภาษี อย่างไรก็ตามอย่าลืมว่าภาษีที่รัฐออกกฎหมายมาจัดเก็บนั้นย่อมเป็นประโยชน์ ที่ประชาชนทุกคนได้รับกลับมาโดยทางอ้อมเช่น การสร้างทางด่วน สะพาน สวนสาธารณะ เป็นต้นให้เราทุกๆคนได้ใช้ร่วมกัน 
 
ภาษีที่ผู้ประกอบการที่เป็นบริษัทต่างๆต้องเกี่ยวข้องด้วยนั้นมีอยู่ด้วยกัน คือภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดา (Personal Income Tax) ภาษีเงินได้นิติบุคคล(Corporate Income Tax) ภาษีเงินได้หัก ณที่จ่าย(Withholding Tax)ภาษีมูลค่าเพิ่ม(Value  Added Tax) อากรแสตม์(Stamp Duty) ภาษีธุรกิจเฉพาะ(Business Income Tax) 
 
ภาษีที่กล่าวมานี้จะเกี่ยวเนื่องเป็นวงล้อกับวงจรธุรกิจของท่านไปตลอดตั้งแต่เริ่มต้นทำธุรกิจและเลิกกิจการ  ผู้เขียนอยากจะเน้นย้ำว่าผู้ประกอบการโดยเฉพาะที่เป็นบริษัท(เอกชนหรือมหาชน)นั้น นอกจากจะต้องจัดทำบัญชีการเงินทั่วไปแล้ว เวลายื่นบัญชีเพื่อเสียภาษีต้องทำให้ถูกต้องตามกฎหมายภาษีซึ่งเป็นเรื่องของฝ่ายบัญชีของบริษัทต้องให้ความสำคัญอย่างมากแบบว่า พลาดไม่ได้ เพราะถ้าทำไม่ถูกต้อง อาจต้องเจอกับเบี้ยปรับและเงินเพิ่มอีก!! 
 
 
 
 
นอกจากนี้ความยุ่งยากของภาษีมูลค่าเพิ่ม(เก็บจากการขายและการให้บริการ) ในเรื่องใบกำกับภาษี ก็เป็นปัญหาด้วยเช่นกันในการนำมาคำนวน ส่วนภาษีหัก ณ ที่จ่ายถ้าหักไม่ถูกต้องตามที่กฎหมายเขียนไว้ล่ะก็ จะเจอแจ็กพ็อตทางภาษีในเรื่องเบี้ยปรับและเงินเพิ่มเช่นกัน!! 
 
เมื่อกล่าวถึงอากรแสตม์ถ้าติดไม่ถูกต้องตามสัญญาที่กำหนด เวลาจะใช้เป็นหลักฐานในศาล ศาลจะไม่รับฟังสัญญานั้น มีผู้ประกอบการหลายรายที่เสียภาษีไม่ถูกต้องหรือไม่เสียภาษีเลยเมื่อสรรพากรตรวจเจอแล้วมีการเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มทำให้ผู้ประกอบการเหล่านั้นถึงต้องกับล้มละลายไปเลยก็มี  ที่กล่าวมานี้เพื่อให้ผู้ประกอบการตระหนักถึงความสำคัญของภาษีที่มีต่อธุรกิจมากกว่าที่จะทำให้ตกใจกลัว เพราะว่าถ้ารู้จักการบริหารภาษี(Tax management)ให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้ก็จะ ปลอดภัยจากเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม รวมทั้งเวลาที่เจ้าพนักงานภาษีมาตรวจสอบก็จะสบายใจแบบยิ้มได้สุดๆเพราะว่าไม่กลัว  เห็นหรือไม่ว่ารู้ภาษีมีชัยไปกว่าครึ่ง แล้วพบกันใหม่นะครับ ผู้ประกอบการSME
 

RECCOMMEND: FINANCE

ทีทีบี มอบรางวัล 12 องค์กรดีเด่น ร่วมส่งเสริมชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น ให้พนักงานในองค์กร

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี ประกาศรางวัล “ttb financial well-being awards 2023” ให้กับ 12 องค์กรชั้นนำ เพื่อตอกย้ำพันธกิจสำคัญในการสร้างชีวิตทางการเงินให้พนักงานในองค์กรมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นรอบด้าน

7 เรื่องต้องรู้ กู้เงินแบบไหนอนาคตสดใส ไม่ตกเป็นทาสหนี้

ใครๆ ก็ไม่อยากเป็นหนี้ แต่ถ้าจำเป็นต้องเป็น เป็นแบบไหนถึงจะดี ชวนผู้ประกอบการมาดู 7 ข้อต้องห้ามกู้เงินแบบไหนไม่ให้ตกเป็นทาสหนี้กัน