หุ้นกู้สำหรับ SME ทางเลือกระดมทุนที่ไม่สูญเสียความเป็นเจ้าของ

TEXT : นเรศ เหล่าพรรณราย





Main Idea
 
 
     ความน่าสนใจของหุ้นกู้สำหรับ SME 
 
 
  • SME จะได้รับเงินทุนในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อนำไปใช้เป็นสภาพคล่องหมุนเวียนในธุรกิจ 
 
  • จะไม่เสียหุ้นสามัญในบริษัทไปเหมือนกับวิธีการร่วมลงทุน
 
  • ไม่จำเป็นที่จะต้องวางหลักทรัพย์ค้ำประกัน 
 
  • ไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมหากมีการไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนกำหนด 
 
  • สามารถรู้ผลการอนุมัติภายใน 5 วันทำการ รวดเร็วกว่าการเสนอขายหุ้นกู้ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
 



 
     หุ้นกู้ ถือเป็นเครื่องมือระดมทุนที่ปกติแล้วจะถูกใช้โดยบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หรือบริษัทนอกตลาดที่มีขนาดใหญ่ แต่ตอนนี้ธุรกิจ SME ก็สามารถที่จะระดมทุนด้วยรูปแบบดังกล่าวได้แล้ว ซึ่งจะเป็นการเพิ่มทางเลือกในการระดมทุนโดยไม่จำเป็นต้องเสียความเป็นหุ้นส่วน





     ทั้งนี้ผู้ที่ลงทุนในหุ้นกู้จะได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยตามที่ได้ตกลงไว้ในหนังสือชี้ชวนเสนอขาย โดยอาจจะจ่ายเป็นรายเดือน รายไตรมาสหรือรายปี โดยไม่มีสิทธิในการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกิจการ โดยทางผู้ประกอบการ Crowd Funding จะทำการเสนอขายหุ้นกู้ดังกล่าวให้กับนักลงทุนซึ่งอาจจะเป็นกลุ่ม Hi Net Worth รายใหญ่หรือนักลงทุนสถาบัน เพื่อให้เข้ามาลงทุน


     ประโยชน์ที่ SME จะได้รับคือแหล่งเงินทุนในช่วงระยะเวลาหนึ่งเช่นหนึ่งปีเพื่อที่จะนำไปใช้เป็นสภาพคล่องหมุนเวียนในธุรกิจ และจะไม่เสียหุ้นสามัญในบริษัทไปเหมือนกับวิธีการร่วมลงทุน





     นอกจากนี้สำหรับ SME  ไม่จำเป็นที่จะต้องวางหลักทรัพย์ค้ำประกัน รวมถึงไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมหากมีการไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนกำหนด และยังสามารถรู้ผลการอนุมัติภายใน 5 วันทำการซึ่งถือว่ามีขั้นตอนที่รวดเร็วยิ่งกว่าการเสนอขายหุ้นกู้ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เสียอีก 


     การที่สามารถทราบผลการพิจารณาภายใน 5 วันถือเป็นทางเลือกสำหรับธุรกิจ SME ที่ต้องการความคล่องตัวสูงเพราะหากนำเข้าสู่การพิจารณาของสถาบันการเงินตามรูปแบบปกติอาจจะไม่ทันต่อความต้องการซึ่งอาจส่งผลต่อกระแสเงินสดที่ขาดตอน





     ทั้งนี้ดอกเบี้ยที่จะต้องจ่ายให้กับผู้ลงทุนอาจจะอยู่ในระดับที่สูงกว่าการกู้เงินจากธนาคาร เนื่องจากหุ้นกู้สำหรับ SME ถือเป็นทางเลือกสำหรับกิจการที่ไม่สามารถขอเงินกู้จากธนาคารได้ อย่างไรก็ตามดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายจะอยู่ที่ 8-22 เปอร์เซ็นต์ รวมถึงวงเงินที่สามารถออกหุ้นกู้จะอยู่ตั้งแต่ 2-10 ล้านบาท ระยะเวลาการผ่อนชำระตั้งแต่ 6-24 เดือน


     คุณสมบัติของ SME ที่ต้องการจะระดมทุนต้องเป็นนิติบุคคลที่เปิดดำเนินการมาแล้วเป็นระยะเวลา 2 ปี รวมถึงต้องมีผู้ถือหุ้นหลักเป็นคนไทยอย่างน้อยหนึ่งคนที่ถือหุ้นตั้งแต่ 20 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นไป


     สำหรับเอกสารที่ต้องใช้มีเพียงรายงานจากเครดิตบูโรเพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทมีเครดิตทางการเงินที่ดีรวมถึง Statement ของธนาคารย้อนหลัง 6 เดือน ทั้งนี้ผู้ประกอบการ Crowd Funding จะทำการเข้าตรวจสอบกิจการรวมถึงพูดคุยกับเจ้าของกิจการเพื่อนำไปใช้ประกอบการพิจารณา





     หาก SME ต้องการที่จะออกหุ้นกู้สามารถติดต่อไปได้ที่ผู้ให้บริการ Crowd Funding ที่สามารถออกหุ้นกู้สำหรับ SME ได้ซึ่งได้รับใบอนุญาตจากทางสำนักงาน ก.ล.ต. เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยสามารถเข้าไปเช็ครายชื่อได้ที่ www.sec.or.th


     หุ้นกู้ Crowd Funding จึงเป็นเครื่องมือการเงินที่เป็นตัวช่วยให้กับ SME ได้อย่างดี ทั้งนี้ผู้ประกอบการต้องวางโครงสร้างทางการเงินของตัวเองให้ได้มาตรฐานที่ดีเพื่อให้การพิจารณาหุ้นกู้ได้รับการอนุมัติโดยง่าย เช่น ไม่มีระบบบัญชีซ้ำซ้อนรวมถึงสามารถตรวจสอบที่มาของเงินได้อย่างโปร่งใส
 
 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
 
 
 

RECCOMMEND: FINANCE

ทีทีบี มอบรางวัล 12 องค์กรดีเด่น ร่วมส่งเสริมชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น ให้พนักงานในองค์กร

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี ประกาศรางวัล “ttb financial well-being awards 2023” ให้กับ 12 องค์กรชั้นนำ เพื่อตอกย้ำพันธกิจสำคัญในการสร้างชีวิตทางการเงินให้พนักงานในองค์กรมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นรอบด้าน

7 เรื่องต้องรู้ กู้เงินแบบไหนอนาคตสดใส ไม่ตกเป็นทาสหนี้

ใครๆ ก็ไม่อยากเป็นหนี้ แต่ถ้าจำเป็นต้องเป็น เป็นแบบไหนถึงจะดี ชวนผู้ประกอบการมาดู 7 ข้อต้องห้ามกู้เงินแบบไหนไม่ให้ตกเป็นทาสหนี้กัน