เปิดสูตรคำนวณ “มูลค่าบริษัท” ในแบบ SME

TEXT : นเรศ เหล่าพรรณราย





Main Idea

 
 
     วิธีการคำนวนหามูลค่าของบริษัทในแบบ SME
 
 
  • สูตรที่นิยมใช้คือการคำนวนหาค่า P/E โดยเทียบกับค่าเฉลี่ยในอุตสาหกรรม ซึ่งจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์
 
  • เมื่อนำทุนจดทะเบียนของบริษัทมาคูณกับค่า P/E ก็จะได้มูลค่ารวมของกิจการ
 
  • นำไปหารตามสัดส่วนของผู้ถือหุ้นก็จะออกมาเป็นมูลค่าหุ้นที่จะต้องจ่ายเพื่อที่จะเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหม่
 


 
     การคำนวนหามูลค่าของบริษัทหรือแวลูเอชัน (Valuation) ถือเป็นหนึ่งในขั้นตอนสำคัญก่อนที่จะเกิดการร่วมลงทุนหรือระดมทุน เนื่องจากมูลค่าของบริษัทจะเป็นตัวเลขที่บ่งบอกว่าผู้ลงทุนจะต้องจ่ายเงินเป็นมูลค่าเท่าไรเพื่อให้ได้มาซึ่งความเป็นเจ้าของ
               

     ทั่วไปแล้วการคำนวณแวลูเอชันจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ วิธีการคำนวณในแบบธุรกิจ Startup หรือธุรกิจที่มีพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีกับอีกรูปแบบคือการคำนวนมูลค่าให้กับธุรกิจแบบดั้งเดิมหรือ SME ซึ่งสองแนวทางนี้มีความแตกต่างกัน



               

     ก่อนอื่นลองมาดูแนวทางการคำนวณแวลูเอเชันของ SME หลักเกณฑ์การคัดเลือกจะต้องเป็นกิจการที่เปิดดำเนินงานมาแล้วระยะเวลาหนึ่ง มีข้อมูลทางการเงินที่สามารถตรวจสอบได้และควรที่จะต้องมีมาตราฐานเป็นที่ยอมรับ เช่น ไม่มีทำบัญชี 2 เล่ม
               

     สูตรที่นิยมใช้กันมากที่สุดก็คือการคำนวนหาค่า P/E โดยเทียบกับค่าเฉลี่ยในอุตสาหกรรมซึ่งจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์เนื่องจากสามารถนำตัวเลขมาใช้ในการอ้างอิงได้ เช่น ธุรกิจค้าปลีกที่อยู่ในตลาดหุ้นปัจจุบันมีค่า P/E เฉลี่ยอยู่ที่ 20 เท่า หมายความว่าหากจะมีการประเมินมูลค่าในการเข้าลงทุนในบริษัทที่ยังไม่ได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นก็ใช้ค่า P/E 20 เท่า นั้นเป็นตัวเลขมาตราฐาน
               

     เมื่อนำทุนจดทะเบียนของบริษัทมาคูณกับค่า P/E ก็จะได้มูลค่ารวมของกิจการจากนั้นก็หารตามสัดส่วนของผู้ถือหุ้นก็จะออกมาเป็นมูลค่าหุ้นที่จะต้องจ่ายเพื่อที่จะเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหม่



               

     สาเหตุที่ใช้วิธีการคำนวนมูลค่าแบบนี้ เนื่องจากธุรกิจ SME ส่วนใหญ่ยังดำเนินธุรกิจแบบดั้งเดิม (Traditional) ไม่ว่าจะเป็นภาคการผลิตหรือภาคบริการ โดยเทคโนโลยีอาจจะไม่ได้มีความโดดเด่นมากนักเมื่อเทียบกับธุรกิจ Startup การที่ไม่ใช้คำนวนมูลค่าในอนาคตมาคำนวนทำให้สูตรการใช้ค่า P/E จึงมีความเหมาะสมเพราะเป็นตัวเลขที่สะท้อนความเป็นปัจจุบันมากกว่า
               

     เช่นเดียวกับจุดประสงค์ในการระดมทุนเพื่อขยายกิจการ ธุรกิจ Startup จะใช้เม็ดเงินในการลงทุนทางด้านเทคโนโลยีเป็นหลัก ต่างจาก SME ที่จะใช้เงินลงทุนไปกับทรัพยากรบุคคลหรือเพิ่มการผลิต ซึ่งการลงทุนทางด้านเทคโนโลยีแน่นอนว่ามีความเสี่ยงที่มากกว่าอย่างแน่นอน เพราะมีปัจจัยเรื่องของการแข่งขันรวมถึงความผิดพลาดในการลงทุนที่อาจเกิดขึ้นหากเลือกใช้เทคโนโลยีที่ไม่ตรงกับวัตถุประสงค์หรือล้าสมัยไปแล้ว



               

     นอกจากนี้นักลงทุนที่มีความต้องการร่วมลงทุนในธุรกิจ SME จะมีแนวความคิดในการลงทุนในกิจการที่ค่อนข้างจะนิ่งแล้วมากกว่าการเติบโตแบบหวือหวาในแบบของ Startup แม้ว่าผลตอบแทนที่จะได้รับย่อมน้อยกว่าการลงทุนในธุรกิจที่มี Growth สูง ที่อาจจะสร้างผลตอบแทนได้ถึงระดับเลขสามหลัก แต่เมื่อมีประเด็นเรื่องของความเสี่ยงเข้ามา ธุรกิจเอสเอ็มอีอาจจะมีความผิดพลาดน้อยกว่าซึ่งต้องแลกมากับผลตอบแทนที่อาจจะน้อยกว่า Startup
               

     โดยสรุปคือการคำนวณแวลูเอชั่นแบบ SME จะอยู่บนพื้นฐานของปัจจุบันมากกว่าและจะไม่นำมูลค่าที่ยังไม่สามารถประเมินได้มาคำนวนเช่นเทคโนโลยี ซึ่งนักลงทุนที่สนใจลงทุนในกิจการเหล่านี้ก็จะมีความคอนเซอร์เวทีพมากกว่า
 
 
 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี



 

RECCOMMEND: FINANCE

ทีทีบี มอบรางวัล 12 องค์กรดีเด่น ร่วมส่งเสริมชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น ให้พนักงานในองค์กร

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี ประกาศรางวัล “ttb financial well-being awards 2023” ให้กับ 12 องค์กรชั้นนำ เพื่อตอกย้ำพันธกิจสำคัญในการสร้างชีวิตทางการเงินให้พนักงานในองค์กรมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นรอบด้าน

7 เรื่องต้องรู้ กู้เงินแบบไหนอนาคตสดใส ไม่ตกเป็นทาสหนี้

ใครๆ ก็ไม่อยากเป็นหนี้ แต่ถ้าจำเป็นต้องเป็น เป็นแบบไหนถึงจะดี ชวนผู้ประกอบการมาดู 7 ข้อต้องห้ามกู้เงินแบบไหนไม่ให้ตกเป็นทาสหนี้กัน