โกอินเตอร์อย่างไร ไปแล้วให้เปรี้ยง!
Share:
Text : ไศลธร เหมะสิขัณฑกะ
เมื่ออินเทอร์เน็ตทำให้โลกนี้ไร้พรมแดน ผู้ประกอบการควรตระหนักว่าลูกค้าของเราไม่จำเป็นต้องอยู่ในประเทศเสมอไป แม้เราจะไม่มีหน้าร้านในต่างแดน แต่เราก็สามารถพาสินค้าโกอินเตอร์ได้ เพียงแต่เมื่อโกอินเตอร์แล้ว จะมีวิธีในการไปอย่างไรจึงจะไม่ร้องไห้โฮกลับมา นี่คือเรื่องพื้นฐานเล็กๆ น้อยๆ แต่ยิ่งใหญ่ที่ผู้ประกอบการควรรู้
1.เลือกใช้แพลทฟอร์มที่เป็นสากล อุตส่าห์โกอินเตอร์กับเค้าทั้งทีแต่ดันเลือกใช้แพลทฟอร์มที่เป็นภาษาไทย แล้วเมื่อไหร่ลูกค้าถึงจะเห็น การเลือกแพลทฟอร์มที่จะนำสินค้าขึ้นไปวางถือเป็นสิ่งแรกๆ ที่ต้องพิจารณา อย่างแรกคือแพลทฟอร์มนั้นต้องมีความเป็นสากล นอกจากนี้ยังมีปัจจัยรองลงมาด้วยว่าตลาดอินเตอร์ที่เข้าไปในภูมิภาคนั้น คนนิยมใช้แพลทฟอร์มใดในการซื้อของด้วย เช่น จีนคนซื้อของจาก อาลีบาบา เป็นต้น
2.Localize ต้องเป๊ะ ต่อจากแพลทฟอร์มแล้ว สิ่งที่ตามมาคือการ localize ที่ต้องเป๊ะในทุกรายละเอียด เรื่องนี้ไม่ยากลองนึกถึงเวลาที่เราอยากซื้ออะไรซักชิ้นแล้วรายละเอียดสินค้าไม่มีภาษาไทยเลย หรือมีแต่อยู่ในเวอร์ชั่นอากู๋การแปลดูสิ มันจะน่าหงุดหงิดขนาดไหน หนำซ้ำหน่วยเงินยังเป็นดอลลาร์หรือยูโร แทนที่จะเป็นเงินไทยอีก มันน่าปวดหัวใช่มั้ย การเอาสินค้าไปขายยังตลาดต่างประเทศก็เช่นเดียวกัน หากรายละเอียดแปลมาไม่ดีพอ และการระบุหน่วยเงินในกรณีที่เข้าไปเจาะตลาดประเทศนั้นๆ แต่ยังใช้เป็นดอลลาร์แต่ไม่ใช่เงินของบ้านเขาอีก ลูกค้าจะรู้สึกอย่างไร เขาต้องเสียเวลาไปกับการเช็คราคาเทียบอัตราแลกเปลี่ยนเงินอีกใช่ใหมแล้วถ้าเขาหงุดหงิดจนเปลี่ยนใจไม่ซื้อจะว่าอย่างไร
3.อ๊ะๆ อย่าลืมขนส่ง สินค้าพร้อมแล้ว localize เข้ากับตลาดและลูกค้าแล้ว เรื่องต่อมาคือระบบการจัดส่ง การเลือกบริการจัดส่งที่ดี มีความเร็วและแม่นยำกับราคาไม่สูงมาก จะช่วยให้ผ่านเรื่องนี้ไปได้ ที่สำคัญคือลูกค้าส่วนใหญ่มองราคาค่าจัดส่งสินค้าเป็นปัจจัยอันดับต้นๆ ก่อนตัดสินใจกดซื้อด้วยนะ ดังนั้นเรื่องนี้จะมองข้ามไม่ได้เด็ดขาด
4.You are not alone อย่าลืมว่าการโกอินเตอร์นั้น ไม่ต่างอะไรกับการล่องเรือออกสู่มหาสมุทรอันกว้างใหญ่ ดังนั้น เรือเล็กๆ เพียงลำเดียวก็ยากที่จะท่องไปตลอดรอดฝั่ง การทำธุรกิจค้าออนไลน์ต่างแดนจึงไม่ได้จบแค่การขายของได้ แต่ยังต้องรู้จักสร้างความสัมพันธ์กับเจ้าถิ่นนั้นๆ ด้วย
5.มองหาตลาดสำรองบ้าง จะเป็นการดีมากหากธุรกิจที่ขยายไปยังประเทศใดๆ ก็ตามเมื่อเริ่มเข้าที่แล้วผู้ประกอบการจะมองหาตลาดประเทศอื่นเพิ่มเติม เพื่อขยายสาขาและขยายการเติบโตต่อไป เพราะไม่มีอะไรมาการันตีได้ว่าตลาดของพื้นที่ๆ ลงทุนไปนั้น จะยั่งยืนเพียงใด การมีเป้าหมายสำรองที่ 2-3 จึงเป็นทางออกที่ดีเสมอ
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

เมื่ออินเทอร์เน็ตทำให้โลกนี้ไร้พรมแดน ผู้ประกอบการควรตระหนักว่าลูกค้าของเราไม่จำเป็นต้องอยู่ในประเทศเสมอไป แม้เราจะไม่มีหน้าร้านในต่างแดน แต่เราก็สามารถพาสินค้าโกอินเตอร์ได้ เพียงแต่เมื่อโกอินเตอร์แล้ว จะมีวิธีในการไปอย่างไรจึงจะไม่ร้องไห้โฮกลับมา นี่คือเรื่องพื้นฐานเล็กๆ น้อยๆ แต่ยิ่งใหญ่ที่ผู้ประกอบการควรรู้
1.เลือกใช้แพลทฟอร์มที่เป็นสากล อุตส่าห์โกอินเตอร์กับเค้าทั้งทีแต่ดันเลือกใช้แพลทฟอร์มที่เป็นภาษาไทย แล้วเมื่อไหร่ลูกค้าถึงจะเห็น การเลือกแพลทฟอร์มที่จะนำสินค้าขึ้นไปวางถือเป็นสิ่งแรกๆ ที่ต้องพิจารณา อย่างแรกคือแพลทฟอร์มนั้นต้องมีความเป็นสากล นอกจากนี้ยังมีปัจจัยรองลงมาด้วยว่าตลาดอินเตอร์ที่เข้าไปในภูมิภาคนั้น คนนิยมใช้แพลทฟอร์มใดในการซื้อของด้วย เช่น จีนคนซื้อของจาก อาลีบาบา เป็นต้น
2.Localize ต้องเป๊ะ ต่อจากแพลทฟอร์มแล้ว สิ่งที่ตามมาคือการ localize ที่ต้องเป๊ะในทุกรายละเอียด เรื่องนี้ไม่ยากลองนึกถึงเวลาที่เราอยากซื้ออะไรซักชิ้นแล้วรายละเอียดสินค้าไม่มีภาษาไทยเลย หรือมีแต่อยู่ในเวอร์ชั่นอากู๋การแปลดูสิ มันจะน่าหงุดหงิดขนาดไหน หนำซ้ำหน่วยเงินยังเป็นดอลลาร์หรือยูโร แทนที่จะเป็นเงินไทยอีก มันน่าปวดหัวใช่มั้ย การเอาสินค้าไปขายยังตลาดต่างประเทศก็เช่นเดียวกัน หากรายละเอียดแปลมาไม่ดีพอ และการระบุหน่วยเงินในกรณีที่เข้าไปเจาะตลาดประเทศนั้นๆ แต่ยังใช้เป็นดอลลาร์แต่ไม่ใช่เงินของบ้านเขาอีก ลูกค้าจะรู้สึกอย่างไร เขาต้องเสียเวลาไปกับการเช็คราคาเทียบอัตราแลกเปลี่ยนเงินอีกใช่ใหมแล้วถ้าเขาหงุดหงิดจนเปลี่ยนใจไม่ซื้อจะว่าอย่างไร
3.อ๊ะๆ อย่าลืมขนส่ง สินค้าพร้อมแล้ว localize เข้ากับตลาดและลูกค้าแล้ว เรื่องต่อมาคือระบบการจัดส่ง การเลือกบริการจัดส่งที่ดี มีความเร็วและแม่นยำกับราคาไม่สูงมาก จะช่วยให้ผ่านเรื่องนี้ไปได้ ที่สำคัญคือลูกค้าส่วนใหญ่มองราคาค่าจัดส่งสินค้าเป็นปัจจัยอันดับต้นๆ ก่อนตัดสินใจกดซื้อด้วยนะ ดังนั้นเรื่องนี้จะมองข้ามไม่ได้เด็ดขาด
4.You are not alone อย่าลืมว่าการโกอินเตอร์นั้น ไม่ต่างอะไรกับการล่องเรือออกสู่มหาสมุทรอันกว้างใหญ่ ดังนั้น เรือเล็กๆ เพียงลำเดียวก็ยากที่จะท่องไปตลอดรอดฝั่ง การทำธุรกิจค้าออนไลน์ต่างแดนจึงไม่ได้จบแค่การขายของได้ แต่ยังต้องรู้จักสร้างความสัมพันธ์กับเจ้าถิ่นนั้นๆ ด้วย
5.มองหาตลาดสำรองบ้าง จะเป็นการดีมากหากธุรกิจที่ขยายไปยังประเทศใดๆ ก็ตามเมื่อเริ่มเข้าที่แล้วผู้ประกอบการจะมองหาตลาดประเทศอื่นเพิ่มเติม เพื่อขยายสาขาและขยายการเติบโตต่อไป เพราะไม่มีอะไรมาการันตีได้ว่าตลาดของพื้นที่ๆ ลงทุนไปนั้น จะยั่งยืนเพียงใด การมีเป้าหมายสำรองที่ 2-3 จึงเป็นทางออกที่ดีเสมอ
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
Topics:
Share:
Related Articles
ทำไม “มูซังคิง” ทุเรียนบ้านๆ จากมาเลย์ ถึงกลายเป็นราชันแห่งทุเรียน ส่งออกไปจีนปีละกว่า 1,000 ตัน
“มูซังคิง” ผลไม้ยอดฮิตของกลุ่มคนรักทุเรียนในจีน ได้เริ่มต้นส่งออกทุเรียนมูซังคิงไปยังประเทศจีนเมื่อ 6 ปีก่อน และปัจจุบันได้รับการขนานนามว่าเป็น “ราช..
EAON MALL สลัดภาพค้าปลีกหัวเก่า ก้าวเท้าสู่ “ดิจิทัล” ตั้งศูนย์เทคโนโลยีนำร่องในจีน ก่อนใช้จริงในญี่ปุ่น
อิออน มอลล์ที่ให้บริการในจีนได้เคยนำร่องให้ร้านค้าของห้างไลฟ์สดจำหน่ายสินค้าไปแล้วหลังจากที่มีการก่อตั้งศูนย์บริหารดิจิทัลอิออนขึ้นในเมืองหังโจว เรี..
หมัดเด็ดเล็กสู้ยักษ์! ถอดกลยุทธ์ Dunham's ห้างสรรพสินค้าอิสระแห่งสุดท้ายในอเมริกา
ทุกเมืองคงเคยมีห้างสรรพสินค้าในท้องถิ่น ก่อนที่แบรนด์ใหญ่ทุนหนาจะค่อยๆ คืบคลานเข้ามาจนห้างท้องถิ่นสู้ไม่ไหวปิดตัวลงไปในที่สุด แต่ไม่ใช่กับ Dunham’s ..