SME ไทยกับโอกาสและความท้าทายด้านการเงิน
Share:

จากรายงานที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างดีลอยท์และวีซ่า ระุบุว่าธุรกิจเอสเอ็มอีนับเป็น 37% ของจีดีพีโดยรวมในประเทศไทย และทำให้เกิดการว่าจ้างงานมากกว่า 80% ในตลาดแรงงานของประเทศ ซึ่งธุรกิจเอสเอ็มอีนั้นมีจุดศูนย์กลางใหญ่อยู่ในกรุงเทพมหานคร และธุรกิจเอสเอ็มอีที่มีอายุน้อยกว่าสิบปีมีจำนวนมากถึง 70% ของธุรกิจเอสเอ็มอีทั้งหมด
หลังจากการปรับเปลี่ยนขนาดของเศรษฐกิจและธุรกิจเอสเอ็มอีให้สอดคล้องกับจีดีพีโดยรวมของประเทศแล้ว ประเทศไทยถือเป็นผู้นำในภูมิภาคอาเซียนในด้านการจัดระเบียบการให้กู้ยืมเงินแก่ธุรกิจเอสเอ็มอี
ซึ่งเมื่อปี พ.ศ. 2557 ที่ผ่านมา ธุรกิจเอสเอ็มที่ได้รับเงินกู้มีมูลค่ารวมทั้งหมดเกือบหกหมื่นล้านบาท (171 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ) ซึ่งมีจำนวนเงินกู้มากกว่าสิงคโปร์ที่มีมูลค่าเงินกู้แก่ธุรกิจเอสเอ็มอีอยู่ที่ประมาณสองหมื่นล้านบาท (57 พันล้านดอลล่าร์สิงคโปร์) ซึ่งเมื่อดูจากขนาดแล้ว ธุรกิจเอสเอ็มอีในประเทศไทยต้องเผชิญกับความท้าทายอีกมาก ซึ่งความท้าทายทางด้านการเงินดังกล่าว มีดังต่อไปนี้
- การได้รับข้อมูลและคำแนะนำที่ไม่เพียงพอจากสถาบันการเงิน
- ขั้นตอนเพื่อขอกู้ยืมเงินมีความซับซ้อนมากและไม่ได้รับความสะดวกในการดำเนินการ
- คุณสมบัติของผู้กู้ยืมเงินไม่มีความเหมาะสม
- มีค่าใช้จ่าย ค่าธรรมเนียม และดอกเบี้ยที่สูง
- ขาด/ความบกพร่อง ของหลักค้ำประกัน
ความท้าทายในด้านอื่นๆ ประกอบด้วย:
- ค่าจ้างแรงงานมีอัตราสูงขึ้น
- การเมืองไม่มั่นคง
- ขาด/ความบกพร่อง ด้านเทคโนโลยีและโครงสร้าง
- ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
- กำลังซื้อของผู้บริโภคต่ำลง
- การขาดความเข้าใจในผลกระทบเมื่อมีการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ที่จะเกิดขึ้น และการที่จะทำให้ธุรกิจเอสเอ็มอีประสบผลสำเร็จในประเทศของตน
การเพิ่มโอกาสสู่จุดหมายเพื่อธุรกิจเอสเอ็มอี
โดยสรุปแล้ว ความท้าทายที่ธุรกิจเอสเอมอีในประชาคมอาเซียนกำลังเผชิญไม่ถือเป็นเรื่องใหม่ เพราะยังเป็นเรื่องท้าทายที่สามารถพบเห็นได้บ่อยในระบบเศรษฐกิจที่มีความก้าวหน้าสูง อย่างบางประเทศในสหภาพยุโรป (European Union - EU) ซึ่งประเทศเหล่านี้สามารถเอาชนะความท้าทายในระบบการให้กู้ยืมเงินแก่ธุรกิจเอสเอ็มอีด้วยการนำโซลูชันที่ใช้ในธุรกิจขนาดใหญ่มาปรับใช้ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการทั้งในด้านการเงิน และด้านอื่นๆ ของผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอี
ในช่วงที่เงินตราเข้าสู่การยุคดิจิตอล ธนาคารและสถาบันการเงินในประชาคมอาเซียนสามารถพัฒนาโมเดลธุรกิจแบบใหม่ ซึ่งอาจจะเกี่ยวเนื่องกับการเพิ่มขีดความสามารถในการเป็นผู้จัดทำโซลูชันดิจิตอล โดยการเป็นจับมือกับพันธมิตรกับ ธนาคารขนาดเล็กที่มีความสามารถในด้านดังกล่าว ธุรกิจฟินเทคส์ (FinTech หรือ financial technology) และธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เพื่อตอบสนองความต้องการกลุ่มลูกค้าเอสเอ็มอีที่กำลังมองหาช่องทางใหม่ ตัวอย่างเช่น ธนาคารสามารถปล่อยกู้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีผ่านทางช่องทางอื่น หรือการใช้ข้อมูลทางการชำระเงินในบริหารความเสี่ยงด้านเครดิตแก่ผู้กู้ยืม หรือการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายดิจิตอลเพื่อขยายจุดให้บริการของธนาคาร หรือการมอบชุดข้อมูลของผลิตภัณฑ์และการบริการที่มีความครอบคลุมมากขึ้น
ด้วยประชาคมเศรษฐกิจ เออีซี กำลังจะเปิดตัวในสิ้นปี พ.ศ. 2558 นี้ จะมีส่วนทำให้ธุรกิจเอสเอ็มอีภายในภูมิภาคอาเซียนมีความเป็นเสรีมากขึ้นทั้งในด้านการค้าขายและการลงทุน ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอีต้องพบเจอกับปัญหาอีกมากในหลากหลายประเด็น และอาจจะกลายเป็นปัญหาสำคัญที่ขัดขวางไม่ให้ผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอีสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งพวกเขาจะต้องการความช่วยเหลือจากสถาบันทางการเงินเพื่อส่งเสริมในด้านพัฒนาธุรกิจของตนให้เติบโตและประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนในตลาด
เพื่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดจากโอกาสในครั้งนี้ กลุ่มธนาคารและสถาบันการเงินในภูมิภาคอาเซียนควรไตร่ตรองถึงบทบาทที่จะเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อช่วยลดช่องว่างในการเข้าถึงสำหรับธุรกิจเอสเอ็มอี และสำรวจตัวเลือกจากผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอี ว่าควรจะสร้างช่องทางการเข้าถึงด้วยตัวสถาบันเอง หรือควรจะเพิ่มช่องทางใหม่ด้วยการลงนามเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ
Create by smethailandclub.com : แหล่งรวมข้อมูล เพื่อผู้ประกอบการ SME
Topics:
Share:
Related Articles
รับกระแสคนแห่เลี้ยงสัตว์ช่วงโควิด Ben & Jerry’s สบช่องเปิดตัวไอศกรีมสำหรับสุนัข
สร้างความฮือฮาให้กับวงการสัตว์เลี้ยงเมื่อแบรนด์ไอศกรีม Ben & Jerry’s เปิดตัว ”Doggie Desserts“ ไอศกรีมสำหรับสุนัข หลังจากการระบาดของโควิดทำให้จำ..
LOLI Beauty คิดนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ให้สินค้าออร์แกนิก กำจัดบับเบิลพลาสติกในกระบวนการขนส่ง
LOLI Beauty แบรนด์เครื่องสำอางออร์แกนิกที่วางขาย Amazon พัฒนาถุงย่อยสลายได้หลายชั้นที่ “ดัก” อากาศเอาไว้ระหว่างชั้นผลิตด้วยข้าวโพดและแป้ง ที่สุดท้าย..
ไอเดียล้ำ Lanour Beauty เปลี่ยนธุรกิจธรรมดาอย่างร้านทำเล็บ ให้ไฮเทคด้วย “Smart Nail”
Lanour Beauty Lounge ร้านเสริมสวยในนครดูไบ เปิดให้บริการทรีตเมนต์ทำเล็บที่ไฮเทคที่สุดในชื่อบริการ Smart Nail ติดตั้งไมโครชิปที่มีเทคโนโลยีการสื่อสาร..