ในโลกนี้มีพลเมืองที่แพ้กลูเตนมากถึง 600-700 ล้านคน นั่นเป็นโอกาสธุรกิจของ “Sava Flour” แป้งกลูเตนฟรีสำหรับผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ ที่ทำจากมันสำปะหลัง จนสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มจากแป้งมันธรรมดาได้สูงถึง 8 เท่า แค่ 1 พาเลท ก็กำไรเท่า 1 ตู้คอนเทนเนอร์
พวกเขาไม่ใช่ชาวสวนธรรมดาๆ แต่เป็นคนทำสวนผลไม้เกรดพรีเมียมที่ลุกมาทำสินค้านวัตกรรม “Juice Ball” เจลบอลน้ำผลไม้ 100 เปอร์เซ็นต์ ที่ผลิตจากสารสกัดจากสาหร่าย จนสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ถึง 4 เท่า
“น้ำพริกส็อก” By Chef May ตัวอย่างนวัตกรรรมความอร่อยในหนึ่งซอง ที่แกะไปจิ้มผักกินคู่กับหมูทอด-ไก่ทอดและข้าวเหนียว หรือจะพลิกแพลงไปแทน “โคชูจัง” ซอสพริกแบบเกาหลี ทำซุปกิมจิก็ยังได้
หลายคนอยากกระโดดเข้าสู่วงการ Food Tech แต่ถนนเส้นนี้ไม่ง่าย! มาฟัง บมจ. ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป คุยเรื่องอาหารแห่งอนาคตและโอกาสของผู้ประกอบการไทย ตลอดจนการทำงานร่วมกัน เพื่อร่วมขับเคลื่อนนวัตกรรมอาหารไทยสู่ตลาดโลก
ไอติมหวานเย็นในหลอดใส ใช้ชื่อแบรนด์ว่า “ฟรีซช็อต” ชูจุดต่างด้วยการเป็น สมูทตี้ที่ไม่ต้องปั่น นวัตกรรมความอร่อยโดนใจเด็กๆ เปิดตัวครั้งแรกด้วยการขายได้เกือบหมื่นหลอดในเวลาเพียง 4-5 วัน และยังคว้ารางวัลนวัตกรรมระดับประเทศมาแล้ว
อดีตเด็กนอกที่ไปเรียนและทำงานอยู่ประเทศอังกฤษมาประมาณ 7 ปี วันนี้เธอกลับบ้านเกิดที่ จ.พัทลุง เพื่อต่อยอดธุรกิจผลิตกะปิของครอบครัวที่ทำมาหลายสิบปี สู่นวัตกรรมซอสกะปิและน้ำปลาหวาน ในชื่อแบรนด์ “เคยนิคะ”
“อารีฟู้ดส์” SME ที่ทำอาหารแช่แข็งส่งให้กับครัวร้อนในซูเปอร์มาร์เก็ตหลายแห่ง มีรายได้ต่อปีที่ประมาณ 150 ล้านบาท เมื่อต้องเจอกับโควิด-19 จึงปรับสายพานการผลิตมาสู่สินค้าประเภท Ready to Eat ที่รองรับกับพฤติกรรมของผู้ประกอบการร้านอาหารและผู้บริโภค
อยากทำสินค้านวัตกรรม แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นจากไหนดี ลองดูแนวทางของ แบรนด์ “จั๊บ จั๊บ” (JUB JUB) ก๋วยจั๊บอุบลกึ่งสำเร็จรูป ที่ใช้วิธีขอซื้อสิทธิบัตรงานวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัย แล้วมาต่อยอดเป็นผลิตใหม่ พัฒนาแบรนด์จนประสบความสำเร็จ
สวนเกษตรเล็กๆ แถวรังสิต คลอง 10 จ.ปทุมธานี ได้บุกเบิกนำ “แก้วมังกร” มาทดลองปลูกในประเทศไทย และวันนี้ยังให้กำเนิดแบรนด์ “Fruitaya” (ฟรุตทายา) ผลิตภัณฑ์แยม น้ำแก้วมังกร และแก้วมังกรอบแห้ง นวัตกรรมความอร่อยจากผลผลิตทางการเกษตรที่เข้ามาตอบตลาดคนรักสุขภาพโดยเฉพาะ
ย้อนกลับไปในวันที่ประเทศไทยยังไม่มีผู้ผลิต Plant-based กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ทำงานด้านการออกแบบนวัตกรรม เกิดไอเดียที่จะทำร้านอาหารเพื่อสุขภาพ ในคอนเซปต์ Plant-based Thai Street Food ขึ้น โดยใช้เนื้อจากพืชมาปรุงเป็นอาหารรสแซ่บสไตล์สตรีทฟู้ดแบบไทยๆ
“บะหมี่หมื่นลี้” อยู่ในตลาดมานานเกือบ 20 ปี ในวันที่ “แพม-ภิญญาพัชญ์ ศรีรุ่งเรืองจิต” เข้ามาสานต่อธุรกิจครอบครัว เธอรับมือกับพันธกิจที่ท้าทายนี้อย่างไร แล้วธุรกิจในยุคของเธอจะขับเคลื่อนไปในทิศทางไหน
ภายใต้การนำของ วิภาวี วัชรากร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วัชมนฟู้ด จำกัด กำลังผลักดันให้บริษัทฯ ก้าวไปข้างหน้าอีกขั้น ด้วยการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยดิจิทัล เพื่อให้เป็นจุดสตาร์ทของแผนการขยายขนาดธุรกิจในอนาคต