"ผักกาดดองตรานกพิราบ" แบรนด์ที่ไม่เคยทำตลาดมากว่า 50 ปี หลังจากก่อตั้งแบรนด์ แต่จู่ดีๆ วันหนึ่งก็กลับโด่งดังขึ้นมาได้ เพราะถูกนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในเมนูผักกาดดองต้มกระดูกหมู เมนูพื้นฐาน แต่หากจะทำให้อร่อยได้ ก็ต้องใช้ผักกาดดองที่มีคุณภาพเท่านั้น
กลยุทธ์ที่โรงแรมต่างๆ งัดมาใช้ในช่วงนี้มากที่สุด ก็คือกลยุทธ์ด้านราคา ที่หลายๆ แบรนด์พาเหรดกันกระหน่ำให้ส่วนลดกันอย่างไม่เคยมีมาก่อน ในมุมแขกผู้เข้าพักอาจเป็นเรื่องดี แต่ทว่าในมุมของผู้ประกอบการโดยเฉพาะรายเล็กนี่คือโจทย์ใหญ่ที่ต้องรับมือ
ข้อดีของการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์คือการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ดีกว่า แต่การเป็น SME จะสามารถปรับตัวได้คล่องตัวมากกว่า จึงมีคำแนะนำจากรุ่นพี่ที่เคยเป็น SME มาก่อนว่า ในวิกฤต SME ควรต้องเริ่มต้นแก้ปัญหาจากจุดใด ไปหาคำตอบกัน
“ชวนเสวย” แบรนด์ขนมไทยกินเล่นแบบง่ายๆ เช่น ครองแครง กลีบลำดวน ปั้นสิบ ที่เริ่มต้นธุรกิจจากบูธเล็กๆ ในห้างฯ จนปัจจุบันสามารถส่งขนมขายให้กับร้านเลมอนฟาร์ม, Jiffy ปตท. และเบทาโกร เดลี่ ได้
ถ้าพูดถึงแบรนด์น้ำจิ้มสุกี้ชื่อดังของไทย หนึ่งในนั้นต้องมีชื่อของ “ตราพันท้ายนรสิงห์” รวมอยู่ด้วยแน่นอน แต่รู้ไหมว่ากว่าจะเติบโตเป็นกิจการใหญ่โตขายอยู่ในประเทศ และส่งออกไปไกลกว่า 40 – 50 ประเทศทั่วโลกได้ แบรนด์เริ่มต้นกิจการมาจากรถเข็นขายข้าวเกรียบกุ้งและน้ำพริกเผาเล็กๆ มาก่อน
เจ๊ง้อเป็น SME สู้ชีวิต ที่เริ่มธุรกิจตอนอายุกว่า 60 ปี ถึงวันนี้วัยล่วงเลยมากว่า 80 ปีแล้ว แต่เจ๊ง้อก็เพิ่งเจอกับวิกฤตหนักสุดในชีวิตเมื่อตอนโควิด-19 มาเยือน และหลายอย่างที่ตัดสินใจทำลงไป เพิ่งมารู้ตัวว่า ‘ไม่น่าเลย’ ก็ในวันที่สายไปแล้วอย่างวันนี้
ธุรกิจร้านอาหารเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ค่อนข้างมาก นอกจากต้องบริหารจัดการรายได้ให้เข้ามาแล้ว ยังต้องบริหารจัดการต้นทุนให้ดีอีกด้วย และอีกสิ่งสำคัญที่ทิ้งไม่ได้ ก็คือการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค
ในยุคที่สภาพแวดล้อมทางธุรกิจเปลี่ยน ลูกค้าลดลง คนระวังการใช้จ่าย และยังกลัวพิษภัยของไวรัส ผู้ประกอบการร้านอาหาร ต้องเร่งปรับตัวสู่บรรทัดฐานใหม่ในการทำธุรกิจ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป และยังอยู่รอดได้ในโลกใบใหม่นี้
ในสถานการณ์วิกฤต หลายอย่างถูกหยุดไว้ชั่วคราว แต่ในเวลาที่ต้องหยุดทุกอย่างไว้นั้น กลับมอบโอกาสในการกลับมามองจุดด้อยของธุรกิจ แล้วทำการแก้ไข เพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์ของเรามีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้นหลังวิกฤตผ่านพ้น เช่นเดียวกับ วุ้นระเบิด
สถานการณ์ไวรัสโควิด-19 กระทบต่อภาคธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะธุรกิจค้าปลีกและร้านอาหารที่รายได้ส่วนใหญ่มาจากการขายหน้าร้านเป็นหลัก หนึ่งในการปรับตัวเพื่อประคับประคองธุรกิจคือ การเพิ่มช่องทางการขายทางออนไลน์มากขึ้นนั่นเอง
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ปรับประมาณการรายได้ของธุรกิจร้านอาหารในปี 2563 ลงเหลือ 4.02 – 4.12 แสนล้านบาท จากคาดการณ์เดิม ณ ต้นปี 2563 มีมูลค่า 4.39 แสนล้านบาท หรือลดลงที่ประมาณ 2.65 - 3.65 หมื่นล้านบาท
“โทฟุซัง” คือเจ้าตลาดนมถั่วเหลืองพาสเจอร์ไรซ์ ที่กินส่วนแบ่งตลาดอยู่ประมาณ 69 เปอร์เซ็นต์ ตลอดการทำธุรกิจ 9 ปีที่ผ่านมา พวกเขามีรายได้เติบโตเฉลี่ย 130 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ปี 2562 ที่ผ่านมา ประมาณการรายได้ที่ 550 ล้านบาท และในปีนี้ตั้งเป้าที่จะไปถึง 1,000 ล้านบาท!