ในวันที่ประเทศไทยยังมีโรงงานผลิตกระจกนิรภัยเทมเปอร์ อยู่แค่ไม่กี่โรง “เอสอาร์ แอดวานซ์อินดัสตรีส์” ได้ถือกำเนิดขึ้น วันนี้คู่แข่งในสนามเพิ่มขึ้นเท่าทวี พวกเขาจึงรุกตลาดกระจกนิรภัยรถยนต์ เพื่อทำเรื่องยาก สร้างของใหม่ เล่นในตลาดที่คู่แข่งน้อย
ด้วยน้ำอดน้ำทน และพลังศรัทธาของ “พลัฏฐ์ อารีวงศ์ศิลป์” ทายาทธุรกิจรองเท้าหนังที่มีประสบการณ์ในสนามเครื่องหนังมากว่า 30 ปี วันหนึ่งเขาสามารถนำพาแบรนด์ "PALATTA" ให้กลายเป็นเครื่องหนังไทยขวัญใจลูกค้าคนจีนได้สำเร็จ
ที่หนองคาย ธุรกิจสถานที่ออกกำลังกายกำลังเติบโตคึกคัก และมีรูปแบบบริการที่ครบและจัดเต็มไม่ต่างจากในกรุงเทพและจังหวัดใหญ่ๆ หนึ่งในนั้น คือ “เปรม ฟิตเนส” (PREM FITNESS) จุดนัดพบคนรักสุขภาพที่อยู่ตรงข้างวัดโพธิ์ชัย ติดถนนหนองคาย-โพนพิสัย
ผู้หญิงคนหนึ่งเดินหิ้วโครงไม้ลามิเนตไปบุกบริษัทอสังหาริมทรัพย์ชื่อดังอย่าง “แสนสิริ” เพื่อนำเสนอขายสินค้า โดยที่บริษัทพึ่งตั้ง ประสบการณ์ทำงานเท่ากับศูนย์ และมีสินค้าทั้งบริษัทแค่ 1 ตัวเท่านั้นก็คือ “พื้นไม้ลามิเนต” แต่เธอขายงานได้!
ไอติมหวานเย็นในหลอดใส ใช้ชื่อแบรนด์ว่า “ฟรีซช็อต” ชูจุดต่างด้วยการเป็น สมูทตี้ที่ไม่ต้องปั่น นวัตกรรมความอร่อยโดนใจเด็กๆ เปิดตัวครั้งแรกด้วยการขายได้เกือบหมื่นหลอดในเวลาเพียง 4-5 วัน และยังคว้ารางวัลนวัตกรรมระดับประเทศมาแล้ว
ณรัฐ หาญคำภา ผู้อยู่เบื้องหลังแบรนด์สกินแคร์แก้ปัญหาสิว Clear Nose กับการพลิกวิธีทำการตลาดจากสินค้าราคาหลักร้อย มาทำบรรจุซองในราคาขายแค่หลักสิบ เพียงไม่นานก็กลายเป็นสินค้าขายดีใน 7-11 และ 24 Shopping เป็นที่เรียบร้อย
“อารีฟู้ดส์” SME ที่ทำอาหารแช่แข็งส่งให้กับครัวร้อนในซูเปอร์มาร์เก็ตหลายแห่ง มีรายได้ต่อปีที่ประมาณ 150 ล้านบาท เมื่อต้องเจอกับโควิด-19 จึงปรับสายพานการผลิตมาสู่สินค้าประเภท Ready to Eat ที่รองรับกับพฤติกรรมของผู้ประกอบการร้านอาหารและผู้บริโภค
ทายาทรุ่นที่ 5 ธุรกิจเกลือสมุทร 120 ปี ลุกมาต่อยอดธุรกิจครอบครัว นำเกลือทะเลมาผลิตเป็นสินค้านวัตกรรม เริ่มต้นจากเงิน 2 แสนบาท ใช้คนแค่ 5 คน ปั้นธุรกิจใหม่ ทำรายได้หลัก 10 ล้านบาท ทั้งยังโตได้ถึง 400 เปอร์เซ็นต์ในยุคโควิด
เจาะทุกเรื่องสำหรับผู้ที่สนใจอยากมีแบรนด์น้ำพริกเป็นของตัวเอง จะจ้างผลิต หรือลงทุนทำเอง แบบไหนดีกว่า “ณัฐพัชร์ วราสุทธิไพศาล” ผู้ประกอบการผลิตน้ำพริกและหนังไก่กรอบ ภายใต้แบรนด์ “วังวรา” จะมาไขข้อสงสัยทุกอย่าง
“บะหมี่หมื่นลี้” อยู่ในตลาดมานานเกือบ 20 ปี ในวันที่ “แพม-ภิญญาพัชญ์ ศรีรุ่งเรืองจิต” เข้ามาสานต่อธุรกิจครอบครัว เธอรับมือกับพันธกิจที่ท้าทายนี้อย่างไร แล้วธุรกิจในยุคของเธอจะขับเคลื่อนไปในทิศทางไหน
ใครจะคิดว่าขยะเหลือทิ้งและของเสียในกระบวนการผลิตมะม่วงเบาแช่อิ่ม อย่างเปลือกมะม่วงและน้ำเชื่อม จะกลายร่างสู่เครื่องดื่มไซเดอร์มะม่วงเบาไร้แอลกอฮอล์ขึ้นมาได้
วันแรกที่มะเขือเทศ Take Me Home วางขายในตลาดขายส่งผัก-ผลไม้เมืองเชียงใหม่ ทำยอดขายไปได้ทั้งสิ้น “0 บาท!” ผ่านมา 15 ปี มะเขือเทศที่คนเมินใส่ในวันแรก เติบใหญ่กลายเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายมะเขือเทศสดในระบบไฮโดรโปนิกส์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย