เปิดโผสำรวจกลุ่มอาเซียนติดกลุ่มย่ำแย่สุดด้านสิทธิแรงงาน
Share:
ในจำนวน139 ประเทศ ที่สหพันธ์สหภาพแรงงานระหว่างประเทศ ได้ดำเนินการสำรวจ เพื่อจัดทำดัชนีสิทธิแรงงานโลก โดยให้คะแนนจาก 1 ดีสุด ไปจนถึง 5 ซึ่งหมายถึงย่ำแย่สุดนั้น พบว่า ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ติดอยู่ในกลุ่มล่างสุดของดัชนี โดยกัมพูชา มาเลเซีย ลาว และฟิลิปปินส์ ได้ 5 คะแนนเท่ากันหมด โดยทางสหพันธ์ ระบุว่า ไม่มีการรับประกันถึงเรื่องสิทธิแรงงานในประเทศเหล่านี้
ขณะที่อินโดนีเซีย ไทย และพม่า มีคะแนนดีกว่าเพื่อนบ้านในกลุ่มดังกล่าวเพียงเล็กน้อยที่ 4 คะแนนเท่านั้น สะท้อนให้เห็นถึง การล่วงละเมิดทางระบบ ที่รัฐบาล หรือบริษัท มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินความพยายามอย่างจริงจัง ที่จะปิดปากพนักงาน และทำให้สิทธิพื้นฐานตกอยู่ภายใต้ภัยคุกคามอย่างต่อเนื่องคะแนนของทั้ง 3 ประเทศนี้ อยู่ในกลุ่มเดียวกับประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่สุดของโลก อย่างสหรัฐ โดยผู้เขียนรายงานอธิบายถึงกรณีของสหรัฐว่า เน้นให้เห็นว่า ระดับการพัฒนาของเศรษฐกิจ ไม่จำเป็นต้องบ่งชี้ว่าเป็นประเทศที่มีการเคารพสิทธิแต่อย่างใด
ประเทศที่มีคะแนนดีสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ สิงคโปร์ อยู่ที่ 3 คะแนน บ่งชี้ว่า ยังขาดการบังคับใช้กฎหมาย หรือหลักปฏิบัติที่จำเป็นจำนวนหนึ่ง อาทิเช่น ยังมีการควบคุมข้อมูลของสหภาพแรงงาน และไม่ให้สิทธิพนักงานในการหยุดงานประท้วง ซึ่งทำให้มีความเป็นไปได้ว่า จะเกิดการล่วงละเมิดสิทธิแรงงานขึ้นอยู่บ่อยครั้ง
การสำรวจพบว่า ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ในประเทศต่างๆ อย่างน้อย 35 ประเทศ ใช้วิธีการจับกุม หรือคุมขังแรงงาน เป็นกลยุทธสำหรับการปฏิเสธข้อเรียกร้องของแรงงานในการที่จะมีสิทธิตามระบอบประชาธิปไตย หรือการขอค่าแรงที่เหมาะสม ความปลอดภัยในการทำงาน และตำแหน่งงานที่มั่นคง
นอกจากนี้ ยังพบว่า กฎหมาย และการปฏิบัติตามกฎหมาย ในอีกอย่างน้อย 87 ประเทศ ไม่ให้แรงงานมีสิทธิในการประท้วงหยุดงานด้วย
สำหรับประเทศอื่นๆ ในเอเชียนั้น ญี่ปุ่นมีคะแนนดีที่สุด ที่ 2 คะแนน โดยกลุ่มประเทศที่มีกฎหมายแรงงานแข็งแกร่ง อย่าง เยอรมนี และนอร์เวย์ จะได้รับคะแนนดีสุด ที่ 1 คะแนน ซึ่งบ่งชี้ว่า มีการรับประกันถึงสิทธิของแรงงาน
ในการสำรวจครั้งนี้ เดนมาร์กเป็นประเทศเดียวที่มีความสมบูรณ์แบบในเรื่องสิทธิแรงงานมากที่สุด โดยได้ 0 คะแนนในปัจจัยการพิจารณาถึงการละเมิดสิทธิแรงงานทั้ง 97 ข้อ ขณะเดียวกัน ก็มี 8 ประเทศ รวมถึง โซมาเลีย ที่ได้คะแนน 5+ อันหมายถึง ไม่มีการรับประกันในเรื่องสิทธิแรงงาน ที่มีสาเหตุมาจากการละเมิดกฎหมาย
ที่มา : www.bangkokbiznews.com
Topics:
Share:
Related Articles
ไทยพาณิชย์ ออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าเอสเอ็มอีทั่วประเทศรับมือโควิด-19 ระลอกใหม่
ธนาคารไทยพาณิชย์พร้อมอยู่เคียงข้างช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยก้าวผ่านวิกฤต เร่งออกมาตรการบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ ให..
AP ยืนหนึ่งผู้นำด้านบริหารจัดการโครงการอสังหาฯ เพื่อการอยู่อาศัยครบวงจร
AP ยิ้มรับความสำเร็จหลัง SMART (สมาร์ท) บริษัทผู้นำธุรกิจพร็อพเพอร์ตี้ แมเนจเม้นท์ ในเครือ “คว้า ISO 41001:2018” มาตรฐานใหม่ของการให้บริการด้านการบร..
“สุริยะ” สั่งการ กสอ. ออกมาตรการเยียวยาลูกหนี้เงินทุนฯ เพิ่มสภาพคล่องกว่า 2,300 กิจการ
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ออกมาตรการเยียวยาลูกหนี้เงินทุน กว่า 2,300 กิจการ ประกอบด้วย การพักชำระหนี้สูงสุด 12 เดือนสำหรับลูกหนี้ชั้นดี พักชำระหน..