สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) เปิดตัวสายงานลูกค้าพาณิชย์
Share:
สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) เปิดตัวสายงานลูกค้าพาณิชย์ มั่นใจอาเซียนกระตุ้นโอกาสการค้าข้ามพรมแดนแก่บริษัทขนาดกลางในประเทศไทย
ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) เผยชี้ช่วง 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา การค้าทั่วโลกมีวิวัฒนาการและบริษัทขนาดกลางเริ่มมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งในอดีต บริษัทขนาดกลางเหล่านี้อาจเน้นตลาดภายในประเทศเป็นหลัก แต่ปัจจุบันบริษัทขนาดกลางกระตือรือร้นที่จะค้าขายข้ามพรมแดนมากขึ้นในฐานะผู้จัดหาสินค้าหรือวัตถุดิบ และผู้กระจายสินค้า
ลิน ค็อก กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ประจำประเทศไทยและลุ่มแม่น้ำโขง ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด กล่าวเกี่ยวกับการเปิดตัวสายงานลูกค้าพาณิชย์ว่า “นี่เป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นสำหรับธนาคาร สายงานลูกค้าพาณิชย์ก่อตั้งขึ้นในช่วงเวลาที่เหมาะสม ซึ่งการควบรวมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปลายปี 2558 นี้จะเปิดประตูสู่โอกาสทางการค้าข้ามพรมแดนมากขึ้น และจะช่วยให้บริษัทขนาดกลางในประเทศไทยเข้าสู่ตลาดอื่นๆ ในเซียนและเข้าถึงผู้บริโภค”
ร้อยละ 70 ของ GDP ประเทศไทยมาจากการส่งออกสินค้าและบริการ โดยร้อยละ 19 อยู่ภายในภูมิภาคอาเซียน และร้อยละ 11.3 ของการนำเข้ามาจากภายในภูมิภาคอาเซียน ประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่ใจกลางของภูมิภาค เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่จะเป็นประตูไปสู่ประเทศในกลุ่ม CLMV ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม
ภาคธุรกิจที่มีส่วนสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย ได้แก่ ยานยนต์ อาหารและเครื่องดื่ม ขนส่งและคลังสินค้า กระดาษและการพิมพ์ ผลิตภัณฑ์ยาและการแพทย์ และการดูแลสุขภาพ ความเชี่ยวชาญในแต่ละด้านของประเทศสมาชิกในอาเซียนจะเป็นการเสริมซึ่งกันและกัน มากกว่าแข่งขันกันเอง ซึ่งจะช่วยให้เกิดความเคลื่อนไหวของกระแสการค้ามากขึ้น และเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่มองหาโอกาสก้าวไปสู่ตลาดนานาชาติ
อชิช ชาร์มา รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานลูกค้าพาณิชย์ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) กล่าวว่า “ปัจจุบัน กว่าบริษัทจะเติบโตถึงระดับกลาง มักจะมีแนวโน้มที่เริ่มก้าวไปสู่ตลาดนานาชาติแล้ว บริษัทเหล่านี้จึงมีความต้องการมากขึ้นที่จะมองหาโอกาสและการสนับสนุนในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หรือบริการ และการแสวงหาสู่ตลาดใหม่ๆ นี่คือหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญในวงจรชีวิตของธุรกิจเหล่านี้”
จากผลสำรวจความเห็นบริษัทขนาดกลางในเอเชียของธนาคารเมื่อเร็วๆ นี้พบว่า ตลาดนานาชาติคือจุดเน้นที่บริษัทให้ความสำคัญ โดยร้อยละ 67 บอกว่ามีแผนจะเพิ่มยอดขายในตลาดต่างประเทศที่มีอยู่แล้ว และ ร้อยละ 63 บอกว่า คาดหวังจะเพิ่มจำนวนตลาดต่างประเทศที่ดำเนินธุรกิจอยู่
“นับวัน บริษัทขนาดกลางก็ยิ่งต้องการคำแนะนำจากธนาคารเพื่อหารือว่าควรเข้าไปแสวงหาโอกาสที่อยู่ในตลาดนอกประเทศที่ไหนและอย่างไร” นายอชิชกล่าว
บริษัทขนาดกลางส่วนใหญ่ใช้บริการพื้นฐานอย่างการบริหารเงินสดอยู่แล้ว แต่เมื่อก้าวไปสู่ตลาดนานาชาติ หลายบริษัทต้องการคำแนะนำว่าจะบริหารกระแสเงินสดข้ามพรมแดนอย่างไร หรือจะใช้ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ก้าวหน้ากว่านั้นได้อย่างไร เช่น อนุพันธ์สินค้าโภคภัณฑ์หรืออนุพันธุ์ทางการเงิน เพื่อช่วยบริหารความเสี่ยง
“นอกจากนี้่ บริษัทขนาดกลางหลายแห่งก็มีความต้องการทางการธนาคารแบบเดียวกับบริษัทขนาดใหญ่ เช่น การเรียกเก็บชำระเงินข้ามพรมแดน หรือช่วยให้เข้าถึงเงินทุนผ่านตลาดทุนต่างๆ ในหลายประเทศในเอเชีย รวมทั้งฮ่องกงและสิงคโปร์ หลายบริษัทเริ่มออกตราสารหนี้หรือตราสารทุนก่อนที่จะก้าวสู่ระดับ ‘บริษัทขนาดใหญ่’ ในแง่ของการธนาคาร” นายอชิชกล่าว
ข้อได้เปรียบในการแข่งขันของธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) คือเครือข่ายสาขาทั้งในเชิงกว้างและเชิงลึกที่อยู่ในภูมิภาคอาเซียนและทั่วโลก ซึ่งทำให้ธนาคารมีความพร้อมอย่างยิ่งในการสนับสนุนความต้องการของบริษัทขนาดกลางในประเทศไทยที่จะเติบโตข้ามพรมแดน เครือข่ายของธนาคารครอบคลุมทั่วเอเชีย แอฟริกาและตะวันออกกลาง นอกจากนี้ ในตลาดอาเซียน ธนาคารก็มีจุดเด่นที่เหนือกว่าเพราะเป็นธนาคารต่างชาติเพียงแห่งเดียวที่มีเครือข่ายครอบคลุมครบทั้ง 10 ประเทศในอาเซียน ปัจจุบัน สายงานลูกค้าพาณิชย์ดำเนินงานอยู่ใน 19 ประเทศทั่วโลก (และกำลังขยายเพิ่มขึ้น) สำหรับในกลุ่มอาเซียน สายงานกลุ่มลูกค้าพาณิชย์มีอยู่ในประเทศไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย นอกจากนี้ ธนาคารยังสามารถให้บริการบริษัทขนาดกลางในเวียดนามและบรูไน
ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) สนับสนุนลูกค้าด้วยผลิตภัณฑ์และบริการที่สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ตั้งแต่เงินทุนหมุนเวียน ความสะดวกทางการค้า ไปจนถึงใช้ประโยชน์จากเครือข่ายเพื่อช่วยลูกค้าเข้าสู่ตลาดใหม่ๆ ในการก้าวสู่ระดับนานาชาติ กล่าวให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ธนาคารสามารถใช้ประโยชน์จากเครือข่ายทั่วโลกเพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้าเติบโตข้ามพรมแดน ร่วมมือกับธุรกรรมธนาคาร (Transaction Banking) เพื่อให้บริการด้านการค้าและการบริหารเงินสดที่เหมาะสมกับแต่ละราย ร่วมมือกับการบริหารการเงินการลงทุน (Wealth Management) เพื่อจัดสรรผลิตภัณฑ์แบงก์แอสชัวรันส์ ร่วมมือกับสายงานกลุ่มลูกค้ารายย่อยเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในด้านบริการธนาคารสำหรับพนักงาน (Employee Banking)
“การที่ธนาคารให้การสนับสนุนบริษัทตั้งแต่ช่วงแรกๆ ในวงจรชีวิตของธุรกิจ เป็นการวางรากฐานเชื่อมโยงไปสู่ลูกค้าบริษัทขนาดใหญ่ในอนาคต สอดคล้องกับแนวทางการทำธุรกิจของธนาคารที่เน้นความยั่งยืนในระยะยาว บริษัทขนาดกลางมีความสำคัญต่อการค้า สำคัญต่อการเติบโต สำคัญต่อการสร้างงาน และสำคัญต่อธนาคาร เพราะพวกเขาคือผู้ริเริ่มสร้างสรรค์และผู้ชนะในธุรกิจแห่งอนาคต” นายอชิชสรุป
Topics:
Share:
Related Articles
SME รู้ทันความเสี่ยง เลี่ยงค่าเงินผันผวน ในโครงการ FX Options
จากการที่ค่าเงินบาทผันผวนไปมา อาจจะทำให้ผู้ประกอบการที่ทำการค้าระหว่างประเทศได้รับผลกระทบ หากตั้งราคาซื้อขายหรือคำนวณต้นทุนผิดพลาด รัฐบาลจึงได้จัดทำ..
อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต แต่งตั้ง โทมัส วิลสัน ดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่ และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
บมจ.อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต ประกาศแต่งตั้ง โทมัส วิลสัน ดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. อลิอันซ์ อยุธยา ประกันช..
บ้านปูจัด “UpImpact” ผลักดันกิจการเพื่อสังคมให้รอดพ้นวิกฤติ ปั้น BC4C กิจการเพื่อสังคมรุ่นต่อไปในปี 2564
บ้านปู จำกัด (มหาชน) สานต่อการทำงานด้านการสนับสนุนกิจการเพื่อสังคม หรือ “Social Enterprise (SE)” ในปี 2563 ผ่านโครงการพลังเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคม หรือ..