เม.ย.ดัชนีเชื่อมั่นฯส่งออกพุ่ง SME วูบ
Share:
ส.อ.ท.เผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมเดือน เม.ย. แนวโน้มดีเพิ่มขึ้น 5 เดือนซ้อน ส่วนเอสเอ็มอีลดลง หลังโดนพิษยอดคำสั่งซื้อ ปริมาณการขาย พ่วงต้นทุนเพิ่ม
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทย (Thai Industries Sentiment Index: TISI) ในเดือนเมษายน 2555 จำนวน 1,086 ราย ครอบคลุม 42 กลุ่มอุตสาหกรรมของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย แยกเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดย่อม อุตสาหกรรมขนาดกลาง และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ร้อยละ 25.0, 49.4 และ 25.7 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ตามลำดับ
ทั้งนี้ ผลการสำรวจพบว่า ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯในเดือนเมษายนอยู่ที่ระดับ 104.0 ปรับเพิ่มขึ้นจากระดับ 102.1 ในเดือนมีนาคม ค่าดัชนีที่เพิ่มขึ้นเกิดจากองค์ประกอบด้านยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ ความเชื่อมั่นปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เหนือระดับ 100 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 สะท้อนภาคการผลิตที่น่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว
สำหรับปัจจัยที่สนับสนุนความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในเดือนเมษายน ได้แก่ อุปสงค์ภายในประเทศที่ยังขยายตัวต่อเนื่อง ผลดีจากเทศกาลสงกรานต์ทำให้มีการใช้จ่ายมากขึ้น
ขณะที่ภาคการส่งออกยังส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการเช่นกัน เห็นได้จากค่าดัชนียอดคำสั่งซื้อและยอดขายในต่างประเทศอยู่ในระดับเกิน 100
อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการโดยเฉพาะเอสเอ็มอี ยังให้น้ำหนักกับต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้น จากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท/วัน ใน 7 จังหวัด นำร่อง (กรุงเทพมหานคร, นครปฐม, นนทบุรี, สมุทรปราการ, ปทุมธานี, สมุทรสาคร, และภูเก็ต) และปรับเพิ่มอีกร้อยละ 40 ของค่าจ้างเดิมในอีก 70 จังหวัด ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ที่ผ่านมา ขณะเดียวกันราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น เป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตในช่วงที่ผ่านมาด้วยเช่นกัน
ส่วนภาคอุตสาหกรรมเอสเอ็มอีดัชนีความเชื่อมั่นฯ เดือนเมษายนอยู่ที่ระดับ 95.7 ลดลงจากระดับ 100.5 ในเดือนมีนาคม โดยองค์ประกอบดัชนีที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ
สำหรับอุตสาหกรรมขนาดย่อมที่ค่าดัชนีปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมแก้วและกระจก อุตสาหกรรมไม้อัด ไม้บาง และวัสดุแผ่น อุตสาหกรรมยา ขณะเดียวกันดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 108.5 เพิ่มขึ้นจากระดับ 100.9 ในเดือนมีนาคม โดยองค์ประกอบดัชนีคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการอยากให้รัฐช่วยส่งเสริมการบริโภคและการจำหน่ายในประเทศให้มากขึ้น ควบคู่กับการลดค่าครองชีพของประชาชน ส่วนการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ส่งผลให้ต้นทุนผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น ดังนั้น ภาครัฐควรมีมาตรการเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการเพื่อบรรเทาปัญหาดังกล่าว รวมถึงควรมีการวางแผนการศึกษาหรือการส่งเสริมการศึกษาให้สอดคล้องกับตลาดแรงงาน เพื่อช่วยลดการขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรมควบคู่กันไป
Topics:
Share:
Related Articles
อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต แต่งตั้ง โทมัส วิลสัน ดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่ และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
บมจ.อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต ประกาศแต่งตั้ง โทมัส วิลสัน ดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. อลิอันซ์ อยุธยา ประกันช..
บ้านปูจัด “UpImpact” ผลักดันกิจการเพื่อสังคมให้รอดพ้นวิกฤติ ปั้น BC4C กิจการเพื่อสังคมรุ่นต่อไปในปี 2564
บ้านปู จำกัด (มหาชน) สานต่อการทำงานด้านการสนับสนุนกิจการเพื่อสังคม หรือ “Social Enterprise (SE)” ในปี 2563 ผ่านโครงการพลังเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคม หรือ..
‘ไลอ้อน ประเทศไทย’ ขนไลน์อัพสินค้าเสริมอาหาร-ดูแลสุขอนามัยบุกตลาดช่วงโควิด-19
ไลอ้อน ประเทศไทย เผยโควิด-19 หนุนผู้บริโภคตื่นตัวดูแลสุขภาพ ขนทัพผลิตภัณฑ์กลุ่มดูแลสุขอนามัย จัดโปรโมชันรับกระแส รุกเจาะช่องทางออนไลน์ตอบโจทย์ความต้..