6 แนวทางป้องกันธุรกิจจากภัยไซเบอร์
Share:
Text : กองบรรณาธิการ


ในแต่ละปี การขโมยหรือแฮ็คข้อมูลในโลกในโลกไซเบอร์ มีแต่จะเพิ่มปริมาณสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งการใช้งานส่วนบุคคลและสำหรับผู้ประกอบการในโลกธุรกิจ ซึ่งโดยปกติแล้วคนที่ขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องความปลอดภัยในการใช้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต จะเป็น "ประตู" ที่คอยเปิดให้ไวรัสเข้ามาแฮ็คระบบได้โดยง่าย ยกตัวอย่างเช่น พนักงานเปิดอีเมล์ที่มีไวรัส เปิดเว็บไซต์ที่เป็นแหล่มรวบรวมไวรัส หรือติดตั้งโปรแกรมที่ดาวน์โหลดมาจากอินเทอร์เน็ตโดยไม่มีระบบป้องกันที่ดีพอ ทั้งหมดนี้คือสาเหตุที่ทำให้ข้อมูลของเรามีโอกาสถูกแฮ็คได้ ดังนั้น ต้องพยายามระมัดระวัง และเพิ่มความปลอดภัยโดยรวมให้กับธุรกิจ และนี่คือแนวทางที่จะช่วยป้องกันได้ในระดับหนึ่ง
1. ใช้รหัสผ่านที่เดาได้ยาก
การใช้รหัสผ่านที่คาดเดาได้ง่าย ไม่ใช่เรื่องที่ดีอย่างแน่นอน สำหรับองค์กรที่มีพนักงานก็จำเป็นต้องอบรมให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยในโลกไซเบอร์และผลเสียที่จะตามมาจากการถูกแฮ็คข้อมูล เพื่อให้พนักงานช่วยกันตั้งรหัสที่คาดเดาได้ยาก ทำให้ข้อมูลมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เช่น พิมพ์ทั้งอักษรตัวใหญ่และตัวเล็ก เป็นต้น รวมถึงเปิดการแจ้งเตือนเอาไว้ หากมีการล็อคอินผ่านคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น โดยให้ส่งรหัสผ่านเป็น SMS มาที่โทรศัพท์ของเราเพื่อทำการ Activate จากนั้นจึงจะสามารถ log in ได้
2. โปรแกรม Antivirus
ไวรัส เป็นภัยคุกคามร้ายแรงอันดับหนึ่งสำหรับคอมพิวเตอร์และเซิฟเวอร์ เพราะเจ้าไวรัสตัวร้าย สามารถก่อความรำคาญ ฝังตัว สำเนาตัวเองไปอยู่ในคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ รวมถึงทำความเสียหายให้กับระบบของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆ วิธีที่ดีที่สุดก็คือการติดตั้งโปรแกรม Antivirus และสแกนเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างสม่ำเสมอ
3. ระบบ Firewall
หากอาคารคอนโดมิเนียม โรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย จำเป็นต้องมีพนักงานรักษาความปลอดภัย การท่องโลกออนไลน์ของเราก็จำเป็นต้องมีระบบ Firewall เพื่อรักษาความปลอดภัยเช่นเดียวกัน ดังนั้น เมื่อ Firewall ตรวจพบข้อมูลที่ไม่ปลอดภัยหรือมีความเสี่ยง ก็จะทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เข้ามาที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา
4. หมั่นสำรองข้อมูล
ในปัจจุบันมีอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล (External Hardisk) ราคาไม่สูงวางขายอยู่เป็นจำนวนมาก การสำรองข้อมูลที่สำคัญลงบน External Hardisk จะช่วยลดความเสี่ยงให้กับธุรกิจได้
5. จำกัดการเข้าถึงข้อมูล
ไม่ใช่ความคิดที่ดีแน่ๆ หากเราเปิดให้พนักงานทุกคนมีโอกาสเข้าถึงไฟล์ข้อมูลของธุรกิจได้ ดังนั้น พยายามจำกัดการเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญ อาจเป็นพนักงานไอที หัวหน้าส่วนงาน หรือคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานแต่ละส่วนที่จะมีโอกาสเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญนั้นๆ ได้ ไม่อย่างนั้น เดี๋ยวคนนั้นก็เอา USB มาคัดลอกข้อมูล อีกคนก็ถูกไวรัสเล่นงานจากเครื่องตัวเองจนส่งผลกระทบกับระบบ LAN และเซิฟเวอร์ เป็นต้น
6. หาผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้มาคอยดูแล
การหาพนักงาน IT Support มาคอยดูแลระบบคอมพิวเตอร์ เป็นเรื่องที่มีความจำเป็นอย่างมากสำหรับการประกอบธุรกิจขนาดกลางขึ้นไป รวมถึงธุรกิจขนาดเล็กที่มีการใช้คอมพิวเตอร์ที่จำเป็นต้องเชื่อมต่อเข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ต โดยหน้าที่หลักของพนักงานก็คือการตรวจสอบความปลอดภัยให้ระบบสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดความเสี่ยงจากการถูกแฮ็คข้อมูล ถามว่าการจ้างพนักงานคนหนึ่งมาดูแลเรื่องที่อาจจะไม่เกิดขึ้นนั้นคุ้มค่าหรือไม่ ก็ต้องบอกว่า หากข้อมูลธุรกิจต่างๆ ของเราเสียหายหรือถูกขโมย หรือหายไปจะคุ้มค่าหรือไม่ และอยู่ที่ตัวเราด้วยว่าจะเลือกตัวเลือกไหน
ยุคของอินเทอร์เน็ตได้ก้าวเข้ามาเปลี่ยนโลกให้ติดต่อสื่อสารและทำธุรกิจได้สะดวกขึ้น แต่ก็ก้าวเข้ามาพร้อมกับช่องโหว่ของเหล่านักจารกรรมข้อมูลและความเสี่ยงจากไวรัส การลงทุนเพื่อดูแลรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูลของธุรกิจ จึงมีความจำเป็นเป็นอย่างมาก
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
Topics:
Share:
Related Articles
จับตา “Double Disruption” ตัวปลุกเทรนด์ดิจิทัลปี ‘64 กับ 4 เรื่องที่ SME ต้องใช้!
ธุรกิจในตอนนี้กำลังเจอกับ Double Disruptions ซึ่งจะอยู่กับเราต่อไปอีกยาวแม้จะหมดจากโควิดไปแล้วก็ตาม และนี่คือ 9 เทรนด์เทคโนโลยีแห่งอนาคตที่เชื่อมโยง..
ไม่ต้องเก่งทุกอย่างทำทุกฟังก์ชั่น เพราะยุคใหม่เขาชนะกันที่ Data Ecosystem
ทำทุกอย่าง พยายามเก่งมันทุกเรื่อง และคาดหวังว่าทุกสิ่งจะคงอยู่ถาวรตลอดไป ความเชื่อทั้งหมดนี้คือ “หลุมพราง” และช่องว่างมรณะ (The Death Gap) ที่นำพาหล..
Epson ใช้เทคโนโลยีพรินเตอร์ช่วยโลก “Wheel for Wild” ปั่นพิทักษ์ป่า รักษาความยั่งยืนให้สังคมไทย
เอปสัน ประเทศไทย บริษัทฯ ได้ขยายขอบเขตของงานซีเอสอาร์มาด้าน Life on Land จัดกิจกรรม Wheel for Wild เพื่อรณรงค์ให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกั..