ชาตรี ศิษย์ยอดธง จากคนไร้บ้านสู่เจ้าของธุรกิจหมื่นล้าน

TEXT : วิมาลี วิวัฒนกุลพาณิชย์

    รายการแข่งขันศิลปะการป้องกันตัวแบบผสมหรือ MMA (Mixed Martial Arts) ที่ยิ่งใหญ่สุดในเอเชียที่จัดโดย ONE Championship เมื่อเสาร์ 11 มี.ค.ที่ผ่านมา ณ อิมแพค อารีนา เมืองทองธานีเพิ่งเสร็จสิ้นไป ทำให้นึกถึงผู้อยู่เบื้อหลังอีเวนต์ใหญ่ ๆ เช่นนั้น ชาตรี ศิษย์ยอดธง นักธุรกิจหนุ่มลูกครึ่งไทย-ญี่ปุ่นวัย 45 ปีที่หลายคนอาจไม่คุ้นชื่อ แต่ในวงการ MMA  เขาเป็นที่รู้จักในฐานะผู้ก่อตั้ง ONE Championship รายการถ่ายทอดกีฬาที่ใหญ่สุดในเอเชีย มีผู้ชมกว่า 1,000 ล้านครัวเรือนใน 70 ประเทศทั่วโลก และเป็นเจ้าของ Evolve ค่ายยิมในสิงคโปร์ที่เน้นฝึกนักกีฬาให้เป็นแชมป์

    ภูมิหลังของชาตรี (นามสกุลจริง ตรีศิริพิศาล ส่วนศิษย์ยอดธง เป็นฉายาที่ได้มาตอนเป็นนักมวย) นั้นน่าสนใจ  เรียกว่าชีวิตระหกระเหิน พลิกผันยิ่งกว่าการนั่งรถไฟเหาะตีลังกาเสียอีก ความลำบากในชีวิตชนิดแทบไม่มีจะกินหล่อหลอมให้เขาเป็นนักสู้และไม่ยอมแพ้ จนท้ายที่สุด เขาก็พลิกชะตาชีวิตสำเร็จ ขึ้นแท่นนักธุรกิจที่ประสบความเร็จ เป็นเจ้าของสปอร์ตเอ็นเทอร์เทนเมนต์มูลค่าเกือบ 1,000 ล้านเหรียญ 


Cr : CNBC.com
    
  ย้อนไปช่วงวิกฤติต้มยำกุ้งเมื่อ 20 ปีก่อน ครอบครัวชาตรีซึ่งดำเนินธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในไทยได้รับผลกระทบจากฟองสบู่เศรษฐกิจแตก นอกจากส่งผลให้ธุรกิจล้มละลาย ครอบครัวยังพังทะลาย คุณแม่ชาวญี่ปุ่นได้พาเขาและน้องชายไปปักหลักที่อเมริกา แม้จะได้ทุนเรียน MBA ที่ฮาร์วาร์ด แต่ชีวิตชาตรีช่วงนั้นลำบากเลือดตาแทบกระเด็น กินข้าววันละมื้อ มีเงินใช้จำกัดวันละ 4 เหรียญ บ้านไม่มีอยู่ เขายอมแหกกฎแอบพาแม่มาอาศัยนอนในหอพักของมหาวิทยาลัยด้วย
 
    อย่างไรก็ตาม หลังเรียนจบ ชาตรีตั้งบริษัทไอทีขึ้นมา และขายต่อได้ในราคา 1 ล้านเหรียญ จากนั้นเขาก็เข้าสู่วงการเฮดจ์ฟันด์หรือกองทุนเก็งกำไร จับพลัดจับผลูมีคนเสนอทุนให้ตั้งกองทุนมูลค่า 500 ล้านเหรียญในวอลล์สตรีท คร่ำหวอดอยู่ในวงการนี้ 10 ปีจนร่ำรวยมีเงินหลายพันล้านแต่กลับไม่มีความสุขสักเท่าไร เขาตั้งคำถาม ทำไมต้องใช้ชีวิตไปอย่างหมดเปลือง มีบ้านมีรถมากๆ เหมือนคนอื่น มันเป็นชีวิตที่ไม่ค่อยมีความหมาย 

    ชาตรีตัดสินใจกลับมาปักหลักที่เอเชีย ด้วยความชื่นชอบศิลปะการป้องกันตัว เคยฝึกมวยไทยตั้งแต่เด็ก เคยเป็นครูฝึกมาก่อน เขาจึงตั้ง  Evolve และ ONE Championship ขึ้นที่สิงคโปร์ การแสวงหาความหมายในชีวิตเริ่มขึ้นด้วยการมอบโอกาสให้คนอื่น ชาตรีให้สัมภาษณ์ CNBC ว่า 95% ของคนส่วนใหญ่สนใจที่การใช้จ่ายของผู้บริโภค แต่คนที่เป็นเศรษฐีจะเน้นการเพิ่มคุณค่าให้ตัวเองและทำประโยชน์ให้กับโลก การช่วยคนเยอะ ก็ทำให้รายได้เยอะขึ้นมากด้วยเช่นกัน ปัจจุบันยิมของเขามีแชมป์จากลุมพินี-ราชดำเนินมากที่สุดในโลกการให้โอกาสคนอื่นทำให้เขารู้สึกมั่นคงและชีวิตมีความหมายมากกว่าการมีบ้านหลายหลังมีรถหลายคัน 

    ว่าไปแล้วเหมือนเขากำลังดำเนินชีวิตตามปรัชญาลัทธิเต๋าในการใช้ชีวิตอย่างสมถะ เขาไม่สนใจวัตถุนิยม ไม่สะสมบ้านหรือรถ ปี ๆ หนึ่งซื้อเสื้อยืดแค่ 5-10 ตัวราคาตัวละไม่เกิน 20 เหรียญ เขาพยายามดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่า สร้างประโยชน์ให้คนอื่น โดยการเป็นผู้นำตามแบบลัทธิเต๋า นั่นคือ servant leader หรือผู้นำแบบรับใช้/ผู้นำที่ให้บริการคนอื่น

     “ถ้าคุณสู้เพียงเพื่อให้ชีวิตตัวเองดีขึ้น เวลาท้อแท้ คุณจะยอมแพ้ง่ายมาก แต่ถ้าคุณสู้เพื่อคนอื่น คุณถอยไม่ได้เพราะคนเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว ลูกจ้าง หรือพนักงาน ที่ชะตาชีวิตของพวกเขาแขวนอยู่ที่คุณ ลองเขียนรายชื่อคนที่ต้องพึ่งใบบุญของคุณดู แล้วความคิดคุณจะเปลี่ยน”  ชาตรีทิ้งท้ายไว้ว่าสำหรับคนที่อยากประสบความสำเร็จ เป็นเศรษฐีหรือเป็นแชมป์คือต้องทำงานหนักชนิดวันละ 18 ชั่วโมง 7 วันต่อสัปดาห์ no gain without pain ไม่มีหรอกคนที่รวยจากการไม่ทำงาน

ข้อมูล:
www.cnbc.com/2017/03/06/mma-promoter-chatri-sityodtong-on-making-money.html
www.cnbc.com/2017/03/09/chatri-sityodtong-on-servant-leadership.html


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ

ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด ฉบับทายาทรุ่น 3 จาก 3 แบรนด์เก๋า หอยนางรม-น่ำเอี๊ยง-เด็กสมบูรณ์

ธุรกิจครอบครัวที่ผ่านรุ่น 3 ไปได้ต้องทำอย่างไร ? เราจะพาไปดูวิธี ‘ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด’ จาก 3 แบรนด์เก๋า: หอยนางรม - น่ำเอี๊ยง - เด็กสมบูรณ์" ​ ที่ไม่เพียงรักษามรดกครอบครัวไว้ แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ๆ อีกด้วย ​