​เจาะกลยุทธ์ธุรกิจแอร์ไทย แข่งเดือดรับอุณหภูมิร้อนระอุ!

Text : นิตยา สุเรียมมา
Photo : KTC

 



     นอกจากอุณหภูมิของฤดูร้อนที่กำลังร้อนระอุ เราเคยรู้กันบ้างไหมว่าแท้จริงแล้วในเขตประเทศเมืองร้อนอย่างบ้านเรานี้มีเครื่องปรับอากาศ หรือ แอร์ ผลิตออกมาขายอยู่ในท้องตลาดมากกว่า 60-70 แบรนด์เลยทีเดียว


    ความจริงข้อนี้ถูกเปิดเผยโดย เชาวนนท์ คลังเปรมจิตต์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามมิตซุย จำกัด ทายาทรุ่นที่ 2 ของผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องปรับอากาศแบรนด์ MITSUI หนึ่งในแอร์ไทยที่มีอายุยาวนานมากว่า 20 ปี โดยเล่าย้อนถึงจุดเริ่มต้นของแอร์มิตซุย รวมถึงตลาดแอร์ไทยในยุครุ่นคุณพ่อให้ฟังว่า ในสมัยนั้นนอกจากจะมีการนำเข้าเครื่องปรับอากาศแบรนด์ดังๆ จากเมืองนอกเข้ามาขายแล้ว ในเมืองไทยเองยังมีการรวมตัวกันสร้างแบรนด์จากร้านแอร์ต่างๆ เพื่อสั่งผลิตขายในยี่ห้อของตัวเองด้วย โดยนำยอดการสั่งผลิตของแต่ละร้านที่ได้ไปต่อรองกับโรงงานผู้ผลิต ทำให้ได้ราคาที่ดีกว่า

 
    


     “เดิมทีก่อนหน้านี้แบรนด์ MITSUI ไม่ใช่แบรนด์ของเราซะทีเดียว เป็นแบรนด์เครื่องปรับอากาศที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวของร้านแอร์ต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 20 กว่าร้าน เพื่อนำยอดการสั่งผลิตมารวมกันและนำไปดิวกับโรงงานผู้ผลิตภายใต้ชื่อแบรนด์เดียวกัน ทำให้ได้ราคาที่พิเศษกว่าแยกกันไปซื้อ แต่จนเมื่อประมาณสิบกว่าปีที่แล้ว ด้วยปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ หุ้นส่วนหลายร้านก็เลยเลิกไป แต่คุณพ่อเห็นว่าน่าจะยังสามารถไปต่อได้ เพราะแบรนด์ก็มีภาพลักษณ์ที่ดีอยู่แล้ว จึงนำกลับมาทำเองและใช้ชื่อแบรนด์นี้แต่เพียงผู้เดียวมาจนถึงปัจจุบันนี้”


    เชาวนนท์เล่าว่าหลังจากที่ได้แยกออกมาทำแบรนด์เองแต่เพียงผู้เดียวนั้น ลูกค้าในยุคแรกๆ ของแอร์มิตซุยส่วนใหญ่ คือ ลูกค้ากลุ่มโปรเจกต์ที่รับงานรายใหญ่ เช่น โรงแรม อาคารสำนักงาน มหาวิทยาลัยต่างๆ จนกระทั่งเมื่อเขาได้เข้ามาช่วยดูแลกิจการของครอบครัวเมื่อ 5-6 ปีที่แล้ว จึงเริ่มหันมาจับกลุ่มลูกค้าที่เป็นผู้บริโภครายย่อยมากขึ้น รวมถึงเพิ่มวาไรตี้ผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายมากขึ้นด้วย
    

    “เดิมเราจับกลุ่มลูกค้าโปรเจกต์ แต่ตอนนี้เริ่มหันมาจับกลุ่มลูกค้าปลีกมากขึ้นด้วย สัดส่วนอยู่ที่ประมาณ 70 : 30 แต่เนื่องจากเป็นแบรนด์เล็กๆ ตอนนี้เราจึงอาศัยทำโปรโมชั่นร่วมกับพาสเนอร์ เช่น บัตรเครดิตต่างๆ และเปิดขายออนไลน์ผ่านเว็บไซด์มาร์เก็ตเพลสต่างๆ ด้วย รวมถึงออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคให้มากขึ้น อย่างตอนนี้เรามีทำระบบ VRF เป็นระบบที่มีอินเวอร์เตอร์ในตัว ติดตั้งได้ง่าย ประหยัดพื้นที่ และช่วยประหยัดพลังงานด้วย ซึ่งแต่เดิมที่รับงานโปรเจกต์เรารับงาน custom ด้วย เช่น บางทีลูกค้าอยากให้ทำระบบแอร์ในเรือ, แอร์หน้าต่างในตู้คอนเทนเนอร์ เรามีประสบการณ์มาหมด จึงทำให้ค่อนข้างมีความเชี่ยวชาญในตรงนี้”

 
    
    


    ด้านการแข่งของตลาดเครื่องปรับอากาศในไทย เชาวนนท์กล่าวว่ามีการแข่งขันที่ค่อนสูง เนื่องจากเมืองไทยเป็นเมืองร้อน แอร์จึงเป็นเหมือนปัจจัยที่ 5 ของคนไทยไปแล้ว จึงทำให้มีผู้สนใจลงมาเล่นจำนวนมาก ซึ่งหากนับรวมๆ แล้วมีมากกว่า 60 -70 แบรนด์เลยทีเดียว   
    

    “เมืองไทยเป็นเมืองร้อน แอร์จึงเป็นเหมือนปัจจัยที่ 5 ไปแล้ว เมื่อก่อนธุรกิจเครื่องปรับอากาศอาจทำกำไรได้มาก แต่ปัจจุบันเมื่อมีคนสนใจลงมาทำเยอะขึ้น จึงเกิดการแข่งขันที่สูง โดยเฉพาะเรื่องของการลดราคา แต่สุดท้ายก็อยู่ที่ลูกค้าว่าจะเลือกใครและมั่นใจใครมากกว่า เพราะธุรกิจเครื่องปรับอากาศไม่ได้จบลงแค่การขายเครื่อง บริการหลังการขายก็เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งแอร์มิตซุยของเราให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาโดยตลอด และลูกค้าก็ค่อนข้างให้ความไว้วางใจ เราเป็นแอร์แบรนด์คนไทย ที่ผลิตในเมืองไทย ดังนั้นเวลามีปัญหาเรามีทีมเซอร์วิสที่พร้อมเข้าไปช่วยดูแลได้เลย โดยสิ่งที่ทำให้แอร์มิตซุยสามารถแข่งขันอยู่ในตลาดได้ คือ 1.ราคาที่ไม่ได้แพงจนเกินไป 2.คุณภาพและการบริการ  และ3.สินค้าที่หลากหลาย”


     และนี่คือ อีกหนึ่งเรื่องราวของเครื่องปรับอากาศแบรนด์ไทย ที่สะท้อนภาพของตลาดแอร์ไทยให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นในอีกแง่มุมหนึ่งนั่นเอง...


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ

ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด ฉบับทายาทรุ่น 3 จาก 3 แบรนด์เก๋า หอยนางรม-น่ำเอี๊ยง-เด็กสมบูรณ์

ธุรกิจครอบครัวที่ผ่านรุ่น 3 ไปได้ต้องทำอย่างไร ? เราจะพาไปดูวิธี ‘ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด’ จาก 3 แบรนด์เก๋า: หอยนางรม - น่ำเอี๊ยง - เด็กสมบูรณ์" ​ ที่ไม่เพียงรักษามรดกครอบครัวไว้ แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ๆ อีกด้วย ​