บ้านอุปกรณ์การแพทย์ ร้านค้าเพื่อผู้ป่วยรักษาตัวที่บ้าน



    บ้านอุปกรณ์การแพทย์เป็นธุรกิจของ ทนพ.เสรี จำปี หนึ่งในผู้ที่ผ่านการอบรมหลักสูตร Next Step NEC 2017 : เจาะลึกกลยุทธ์การตลาด 4.0 โดยธุรกิจนี้จำหน่ายเกี่ยวกับอุปกรณ์การแพทย์สำหรับผู้ป่วยที่ดูแลรักษาตัวที่บ้าน ซึ่งได้แก่ 1.กลุ่มผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อชนิดเรื้อรังหรือ NCDs อาทิ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดัน โรคมะเร็ง และโรคหลอดเลือดในสมอง เป็นต้น 2.กลุ่มผู้ป่วยติดเตียงที่ทั้งช่วยเหลือตัวเองได้และไม่ได้ และ 3.กลุ่มผู้สูงวัยที่หันมาให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพตนเอง


    เดิมทีบ้านอุปกรณ์การแพทย์เปิดให้บริการ 2 สาขาในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ แต่ด้วยตระหนักว่ายังมีลูกค้าจำนวนไม่น้อยไม่สะดวกเดินทางที่ร้าน ทนพ.เสรีจึงเพิ่มช่องทางจำหน่ายสินค้าอย่างเฟซบุ๊กเพจและเว็บไซต์ โดยคอนเทนต์หลักๆ ที่โพสต์ในช่องทางดังกล่าว คือ ความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยที่รักษาตัวที่บ้าน และคลิปวิดีโอแนะนำวิธีการใช้งานอุปกรณ์การแพทย์ต่างๆ เพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้งานอุปกรณ์การแพทย์ที่ซื้อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ


    ทั้งนี้ หลังจากเข้าร่วมอบรมหลักสูตร Next Step NEC 2017 ทนพ.เสรีได้มีมุมมองใหม่ในการขยายธุรกิจซึ่งจากเดิมเขามองว่าธุรกิจของตนค่อนข้างขยายได้ลำบาก โดยแผนที่เขาวางไว้คือ เปิดแฟรนไชส์บ้านอุปกรณ์การแพทย์ใน 2 เขตบริการสุขภาพ ได้แก่ กลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ (จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดสุรินทร์) และกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ (จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดขอนแก่น จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดกาฬสินธุ์) โดยนักธุรกิจหรือนักลงทุนที่จะซื้อแฟรนไชส์ต้องมีเจตนารมณ์และวิสัยทัศน์ที่คล้ายคลึงกับเขา คือ ต้องการเห็นประชาชนมีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดี และสามารถดูแลตนเองหรือผู้ป่วยที่รักษาตัวที่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี




 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ

ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด ฉบับทายาทรุ่น 3 จาก 3 แบรนด์เก๋า หอยนางรม-น่ำเอี๊ยง-เด็กสมบูรณ์

ธุรกิจครอบครัวที่ผ่านรุ่น 3 ไปได้ต้องทำอย่างไร ? เราจะพาไปดูวิธี ‘ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด’ จาก 3 แบรนด์เก๋า: หอยนางรม - น่ำเอี๊ยง - เด็กสมบูรณ์" ​ ที่ไม่เพียงรักษามรดกครอบครัวไว้ แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ๆ อีกด้วย ​