“ช้อนกินได้” จากอินเดียบูม ผลิตกว่าหมื่นชิ้นต่อวัน

เรื่อง  วิมาลี วิวัฒนกุลพาณิชย์

    การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลกเป็นกระแสที่มีมานานแล้วและถูกนำมาใช้ในการตลาด หรือที่รู้จักกันว่า green marketing วิธีการถนอมโลกมีหลายทาง วิธีหนึ่งคือการลดปริมาณขยะบนในพื้นที่ของตัวเอง Narayana Peesapaty นักวิจัยในอินเดียมองเห็นปัญหาอย่างหนึ่งในอินเดีย ประเทศที่แม้ประชากรจำนวนมากเปิบข้าวด้วยมือ แต่ก็มีการใช้ช้อนพลาสติกมากถึงปีละ 1.2 แสนคัน และพลาสติกที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้นี้ใช้เวลาย่อยสลายนับร้อยปีเลยทีเดียว


Cr.Bakeys.com

    ความพยายามจะสร้างการเปลี่ยนแปลงและลดการใช้ขยะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ Narayana ผันตัวจากนักวิชาการมาเป็นนักธุรกิจโดยบังเอิญหลังประสบความสำเร็จในการสรรค์นวัตกรรมเกี่ยวกับอุปกรณ์ใช้บนโต๊ะอาหาร อาทิ ช้อน ส้อม ตะเกียบที่กินได้ เขาจึงตั้งบริษัท Bakeys เพื่อผลิตอย่างจริงจัง ช่วงแรก ๆ ยังไม่เป็นที่รู้จัก แต่เมื่อทำคลิปนำเสนอ วัตถุประสงค์เพื่อระดมทุนผ่าน crowd-funding บริษัทของเขาก็ได้รับความสนใจ รวมถึงยอดสั่งซื้อก็เพิ่มขึ้น นอกจากในประเทศแล้ว ยังมีออร์เดอร์จากต่างประเทศ อาทิ ออสเตรเลีย บัลแกเรีย แคนาดา เอสโทเนีย เยอรมนี ฮ่องกง สหรัฐฯ อังกฤษ และสหรัฐอาหรับเอมิเร็ตส์

    ช้อนและอุปกรณ์กินได้ของ Bakeys ผลิตจากข้าวฟ่างผสมข้าวและแป้งสาลี นำไปอบในพิมพ์รูปช้อนหรือพิมพ์รูปอื่นจนแห้งสนิท เหตุผลที่ใช้ข้างฟ่างเนื่องจากเป็นพืชที่ใช้น้ำน้อยในการปลูก เมื่อเทียบกับการปลูกข้าว 1 กก.ที่ต้องใช้น้ำ 500 ลิตร ข้าวฟ่างจะใช้น้ำน้อยกว่า 60 เท่า สำหรับคนที่แพ้กลูเต็นหรือโปรตีนในแป้งสาลี ทางบริษัทก็รับผลิต
ตามสั่งโดยตัดแป้งสาลีออกไปแล้วเพิ่มแป้งอื่นเข้าไปแทน

Cr.Bakeys.com

    สำหรับรสสัมผัสคือมีความกรอบสูง ไม่เปื่อยยุ่ยง่าย เว้นเสียแต่จะแช่ในของเหลวนานเกิน 10 นาที รสชาติมีให้เลือก 3 รสคือรสธรรมชาติ รสหวาน และรสเครื่องเทศ ลูกค้าที่ได้ชิมต่างบอกว่าอร่อย ปัจจุบัน บริษัทมีกำลังการผลิต
3.5 หมื่นชิ้นต่อวัน ลูกค้าสามารถสั่งซื้อตรงจจากเว็บไซต์บริษัท โดยจะบรรจุแพ็คละ 100 ชิ้น ราคาประมาณ 300 รูปี 
(ราว 150 บาท) อายุของสินค้าอยู่ได้นานปีครึ่งถึงสองปีหากไม่แกะห่อ แต่ถ้าแกะแล้ว อาจทำให้ความกรอบลดลง
และหลังการใช้งาน หากผู้ใช้ไม่ทานเข้าไป ทิ้งไว้ 4-5 วันก็จะย่อยสลายตามธรรมชาติ การเปิดตัวช้อนกินได้เข้าสู่ตลาดดูเป็นการรับกระแสห้ามใช้ถุงพลาสติกในหลายรัฐของอินเดีย รวมถึงในเนปาล และบางเมืองในมาเลเซีย
เช่น มะละกา Narayana 

   เจ้าของนวัตกรรมช้อนกินได้คาดหวัง นี่จะเป็นก้าวเล็ก ๆ ที่นำไปสู่สังคมไร้พลาสติกในอนาคต   



ที่มา
www.bakeys.com
www.forbes.com

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ

ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด ฉบับทายาทรุ่น 3 จาก 3 แบรนด์เก๋า หอยนางรม-น่ำเอี๊ยง-เด็กสมบูรณ์

ธุรกิจครอบครัวที่ผ่านรุ่น 3 ไปได้ต้องทำอย่างไร ? เราจะพาไปดูวิธี ‘ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด’ จาก 3 แบรนด์เก๋า: หอยนางรม - น่ำเอี๊ยง - เด็กสมบูรณ์" ​ ที่ไม่เพียงรักษามรดกครอบครัวไว้ แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ๆ อีกด้วย ​