กสอ.ชู IDEA HOUSE โปรเจคต์เมกโอเว่อร์เปลี่ยนลุคอุตสาหกรรมด้วยดีไซน์




     กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) เปิดตัว IDEA HOUSE โครงการนำร่องสนับสนุนการออกแบบ 4 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ผ่าน 4 กิจกรรมหลัก เพื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างมูลค่าเพิ่มจากความคิดสร้างสรรค์และสร้างมูลค่าทางอุตสาหกรรมให้กับภูมิภาค โดยคาดว่าจะช่วยเพิ่มมูลค่าจากการออกแบบผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์ให้สินค้าได้ 3-5 เท่า สร้างรายได้ทางเศรษฐกิจของภาคเหนือตอนบนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5-10

     นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า เพื่อเป็นการขานรับนโยบายรัฐบาลและยกระดับความแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ให้กระจายสู่ระดับภูมิภาค กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจึงมุ่งเน้นยุทธศาสตร์ข้อสำคัญด้วยการส่งเสริมการออกแบบให้เกิดขึ้นกับธุรกิจอุตสาหกรรมในทุกมิติ โดยล่าสุดได้จัดตั้งโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรมและการออกแบบ หรือโครงการ “IDEA HOUSE” นำร่องชึ้นในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ได้แก่ เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน โดยจัดขึ้นเพื่อพัฒนาทั้งผู้ประกอบการ SMEs ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน สถาบันการศึกษา ตลอดจนบุคคลทั่วไปให้ตื่นตัวและตระหนักถึงความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบแฟชั่น การออกแบบกราฟฟิก การออกแบบดิสเพลย์ การจัดวางสินค้าให้น่าสนใจ การเรียนรู้กระบวนการทำงานร่วมกับนักออกแบบในสาขาที่มีความจำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจ 

    โครงการดังกล่าวยังมุ่งสร้างพื้นที่ให้กับนักศึกษาได้แสดงพลังทางความคิดนอกห้องเรียน และได้รับการถ่ายทอดประสบการณ์จริงจากผู้ประกอบการบนพื้นฐานของกระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์และสามารถนำภูมิปัญญาและเอกลัษณ์ท้องถิ่นมาปรับใช้กับความรู้ที่ได้รับเพื่อนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมและมูลค่าของสินค้าที่สูงขึ้น ต่อเนื่องถึงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภาคการผลิตสู่ภาคบริการและการท่องเที่ยว ทั้งยังจะเป็นการผลักดันให้กลุ่มจังหวัดดังกล่าวเป็นศูนย์กลางการพัฒนาฐานความรู้และปัจจัยพื้นฐานตลอดจนเป็นกำลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในอนาคตได้ต่อไป

     สำหรับโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรมและการออกแบบ หรือ IDEA HOUSE ประกอบไปด้วย 4 กิจกรรมที่สำคัญ ได้แก่ 1.กิจกรรมพัฒนานักออกแบบเพื่อผู้ประกอบการ (Design Savvy) เป็นกิจกรรมจับคู่ระหว่างนักออกแบบและ SMEs หรือ วิสาหกิจชุมชนจำนวน 100 คู่ เพื่อสร้างโอกาสในการทำงานและผลักดันผลงานใน 4 ด้านคือ การออกแบบผลิตภัณฑ์ ออกแบบแฟชั่น การออกแบบกราฟฟิก และการออกแบบดิสเพลย์

     2.กิจกรรมปลุกพลังสร้างสรรค์กระตุ้นคลังความคิด (Creative Think Tank) กิจกรรมในรูปแบบเวิร์คช็อประยะสั้นสำหรับผู้ประกอบการ SMEs หรือ วิสาหกิจชุมชนที่มุ่งเน้นให้ได้เรียนรู้และเข้าใจกระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์ ออกแบบ และนวัตกรรม ที่สามารถนำไปต่อยอดและประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมสำหรับองค์กร

     3.กิจกรรมสนามประลองความคิดเพื่อสร้างนักคิดรุ่นใหม่ (Creative Amateur Playground : CAP) กิจกรรมเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาและฟื้นฟูย่านหัตถกรรมที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน โดยคัดเลือกนักศึกษาที่อยู่ในพื้นที่ 4 จังหวัดจับคู่กับ SMEs หรือ วิสาหกิจชุมชนในพื้นที่เป้าหมายสร้างแนวคิดผลิตภัณฑ์ใหม่และการพัฒนาย่านหัถตกรรมร่วมกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของฝากของที่ระลึก และสร้างโมเดลการพัฒนาพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวในอนาคต

     4.กิจกรรมให้คำปรึกษาแนะนำเบื้องต้นด้านการออกแบบ (Design Counseling) ดำเนินการให้คำปรึกษาแนะนำเบื้องต้นด้านการออกแบบให้แก่ SMEs หรือ วิสาหกิจชุมชนจำนวนไม่น้อยกว่า 250 คน ณ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 และดำเนินการในลักษณะสัมมนากลุ่มย่อย ใน 4 ด้าน ได้แก่ การออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบแฟชั่น การออกแบบกราฟฟิก และการออกแบบดิสเพลย์โดยนักออกแบบมืออาชีพ พร้อมคัดเลือกวิสาหกิจ 25 กิจการพัฒนาต่อยอดสู่ต้นแบบผลิตภัณฑ์ ต้นแบบบรรจุภัณฑ์ หรือต้นแบบชิ้นงานผ่านกระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์ต่อไป

     รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า กสอ.คาดว่าจะมีผู้ประกอบการ SME และวิสาหกิจชุมชน รวมทั้งนักออกแบบและนักศึกษาที่สนใจค้นหาประสบการณ์เข้าร่วมโครงการไม่ต่ำกว่า 1,000 ราย อีกทั้งยังจะช่วยส่งผลให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มจากความคิดสร้างสรรค์บนพื้นฐานของทรัพยากร วัฒนธรรม และภูมิปัญญาของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน พร้อมเป็นเครื่องมือที่ช่วยดึงดูดผู้บริโภควัยทำงาน นักท่องเที่ยว และนักลงทุนในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์อันจะเป็นหนทางในการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับภูมิภาค ซึ่งเมื่อโครงการฯแล้วเสร็จยังคาดการณ์ไว้อีกว่าจะสามารถเพิ่มมูลค่าจากการออกแบบผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์ให้สินค้าได้ประมาณ 3-5 เท่าของสินค้าปกติ และคาดว่าจะสร้างรายได้ทางเศรษฐกิจของภาคเหนือตอนบน 1 ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5–10

     นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวยังมีจุดมุ่งหมายเพื่อผลักดันสินค้าและบริการไทยให้เป็นที่ยอมรับและสร้างมูลค่าในช่องทางตลาดให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น พร้อมส่งเสริมภาพลักษณ์การเป็นประเทศที่ผลิตสินค้าที่มีการออกแบบและความน่าเชื่อถือที่สามารถแข่งขันได้ในระดับเวทีโลก อย่างไรก็ตาม ตลอดระยะเวลาการดำเนินการส่งเสริมตามยุทธศาสตร์ข้างต้น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมพบว่ายังมีหลายกลุ่มอุตสาหกรรมและหลายพื้นที่ที่กำลังประสบกับปัญหาการออกแบบอยู่เป็นจำนวนมาก โดยปัญหาหลักที่พบมีทั้งการขาดทักษะแนวความคิดสร้างสรรค์และไม่สามารถเข้าถึงการให้บริการด้านการออกแบบ จำนวนบุคลากรด้านการออกแบบที่มีอยู่ยังไม่เพียงพอ ขาดการเชื่อมโยงและโอกาสในการพบปะระหว่างกัน นักออกแบบที่มียังขาดความรู้ความเข้าใจในการสื่อสารหรือดึงความต้องการที่แท้จริงของผู้ประกอบการส่งผลให้ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ รวมถึงกลุ่มที่เป็นนักคิดรุ่นใหม่ยังขาดโอกาสในการประยุกต์ใช้องค์ความรู้สู่การปฏิบัติในสถานการณ์จริง

    สำหรับในปัจจุบันทั้ง 4 จังหวัดในกลุ่มภาคเหนือตอนบน 1 มีผู้ประกอบการกว่า 160,000 ราย (ที่มา สสว.) มีกลุ่มอุตสาหกรรมหลักได้แก่ อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป อุตสาหกรรมการเกษตร อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมก่อสร้างและเซรามิก มีมูลค่าอุตสาหกรรมกว่า 1.24 แสนล้านบาท และมียอดการเติบโตในพื้นที่กว่าร้อยละ 0.2-0.5 ต่อปี

     ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจรายละเอียด สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 จ.เชียงใหม่ โทรศัพท์ 053-245361-2 หรือเข้าไปที่ www.dip.go.th


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ

ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด ฉบับทายาทรุ่น 3 จาก 3 แบรนด์เก๋า หอยนางรม-น่ำเอี๊ยง-เด็กสมบูรณ์

ธุรกิจครอบครัวที่ผ่านรุ่น 3 ไปได้ต้องทำอย่างไร ? เราจะพาไปดูวิธี ‘ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด’ จาก 3 แบรนด์เก๋า: หอยนางรม - น่ำเอี๊ยง - เด็กสมบูรณ์" ​ ที่ไม่เพียงรักษามรดกครอบครัวไว้ แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ๆ อีกด้วย ​