พาณิชย์เปิดเสรีต่างชาติลงทุนธุรกิจเกี่ยวข้องธนาคาร-โครงสร้างพื้นฐาน





     กระทรวงพาณิชย์ปลดล็อค 19 ธุรกิจออกจากบัญชีสามท้ายพ.ร.บต่างด้าวฯ มีผลให้นักธุรกิจต่างชาติไม่ต้องขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจอีกต่อไป ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2560 คาดดึงทุนต่างชาติเข้าไทยเพิ่มขึ้น และช่วยอำนวยความสะดวกในการทำธุรกิจ สร้างสภาพแวดล้อมที่น่าลงทุนเพื่อประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธนาคาร และธุรกิจพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของประเทศให้เติบโต พร้อมปักหมุดไทยเป็นศูนย์กลางการค้าการลงทุนของอาเซียนตามนโยบายรัฐบาล

     นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ได้ปลดล็อค19 ธุรกิจ โดยถอดออกออกจากบัญชีท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ตามกฎกระทรวงพาณิชย์ฉบับใหม่ สำหรับนักลงทุนต่างชาติที่สนใจเข้ามาลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธนาคาร และธุรกิจพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ซึ่งจะช่วยให้นักลงทุนต่างชาติลดภาระค่าใช้จ่าย ระยะเวลา และลดความยุ่งยากซ้ำซ้อนในการขออนุญาตจากหน่วยงานรัฐ ก่อให้เกิดความรวดเร็วและความคล่องตัวด้านการประกอบธุรกิจในประเทศไทย สร้างสภาพแวดล้อมการประกอบธุรกิจช่วยดึงดูดเงินทุนและผู้มีความสามารถจากต่างประเทศให้สนใจเข้ามาลงทุนส่งเสริมในการพัฒนาประเทศมากขึ้น 

     โดยธุรกิจที่ได้ถอดออกทั้ง 19 รายการแบ่งเป็น 6 กลุ่มธุรกิจ ดังนี้ 1) ธุรกิจสถาบันการเงิน ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องหรือจำเป็นต่อการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน (14 ธุรกิจ) เช่น การเป็นตัวแทนของสถาบันการเงิน การนำอสังหาริมทรัพย์ออกให้เช่า เป็นต้น 2) ธุรกิจการบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ 3) ธุรกิจบริการเป็นสำนักงานผู้แทนของนิติบุคคลต่างประเทศในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ 4) ธุรกิจบริการเป็นสำนักงานภูมิภาคของนิติบุคคลต่างประเทศในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ 5) ธุรกิจบริการที่มีส่วนราชการเป็นคู่สัญญา และ 6) ธุรกิจบริการที่มีรัฐวิสาหกิจเป็นคู่สัญญา
 
     สำหรับ ‘ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับสถาบันการเงิน’ ที่ถอดออกจากบัญชีในครั้งนี้เป็นธุรกิจที่มีความสำคัญต่อการส่งเสริมการแข่งขันในภาคธุรกิจบริการธนาคารพาณิชย์ และเป็นกิจกรรมที่ธนาคารพาณิชย์ต้องดำเนินการอยู่แล้ว ส่งผลให้เกิดการแข่งขันด้านการพัฒนาประสิทธิภาพและคุณภาพในการให้บริการมากยิ่งขึ้น ส่งผลดีต่อภาคการลงทุนของประเทศในระยะยาว 

     ส่วน ‘ธุรกิจบริการเป็นสำนักงานผู้แทนและสำนักงานภูมิภาคของนิติบุคคลต่างประเทศ’ เป็นการให้บริการแก่สำนักงานใหญ่ที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศ ในการหาแหล่งจัดซื้อสินค้าหรือบริการในประเทศไทย จึงเป็นโอกาสให้ไทยเป็นศูนย์กลางในการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ และสำหรับ ‘ธุรกิจที่คนต่างด้าวเป็นคู่สัญญากับส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ’ เป็นการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเช่น ทางรถไฟ รถไฟฟ้า สนามบิน โรงไฟฟ้า และการขุดเจาะปิโตรเลียม เป็นต้น

     ทั้งนี้ เห็นได้ชัดเจนว่าการปรับปรุงบัญชีท้าย 3 พ.ร.บ ต่างด้าวฯ ในธุรกิจดังกล่าว จะเกิดโอกาสสำคัญที่ดึงดูดการลงทุนจากผู้ประกอบการต่างชาติให้เข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทย ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนานวัตกรรมการบริการ เสริมให้ไทยก้าวไปเป็นศูนย์กลางของอาเซียนด้วยลักษณะของชัยภูมิที่เหนือกว่าประเทศอื่น ประกอบกับมีโครงสร้างพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพของไทยทั้งทางบก น้ำ และอากาศ ที่พร้อมสำหรับการเป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงการค้าของตลาดอาเซียนรองรับประชากรที่มีมากกว่า  600 ล้านคน


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ

ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด ฉบับทายาทรุ่น 3 จาก 3 แบรนด์เก๋า หอยนางรม-น่ำเอี๊ยง-เด็กสมบูรณ์

ธุรกิจครอบครัวที่ผ่านรุ่น 3 ไปได้ต้องทำอย่างไร ? เราจะพาไปดูวิธี ‘ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด’ จาก 3 แบรนด์เก๋า: หอยนางรม - น่ำเอี๊ยง - เด็กสมบูรณ์" ​ ที่ไม่เพียงรักษามรดกครอบครัวไว้ แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ๆ อีกด้วย ​