จับบริษัทขนาดใหญ่- SME ละเมิดลิขสิทธิ์ 110 แห่งเสียหาย 190 ล้านบาท

 
 
    กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) แถลงผลงานตรวจจับองค์กรธุรกิจที่ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ครึ่งแรกของปี 2560 จำนวน 110  ราย ทั้งธุรกิจขนาดเล็ก  ขนาดกลางและขนาดใหญ่ พบการติดตั้งใช้งานซอฟต์แวร์โดยไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ บนคอมพิวเตอร์ จำนวนกว่า 1,380 เครื่อง คิดเป็นมูลค่าความเสียหายกว่า 190  ล้านบาท 
 
 
     โดยมากกว่าร้อยละ 90 ของบริษัทที่ถูกดำเนินคดีฐานละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ในระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมานั้น  ยังคงอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมด้านชิ้นส่วนรถยนต์ ด้านการออกแบบ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ใช้ซอฟต์แวร์เป็นเครื่องมือหลักในการทำงาน ทั้งภาคการผลิตและบริการ กลุ่มซัพพลายเออร์ ก่อสร้าง ตัวแทนจำหน่าย และธุรกิจบันเทิง เป็นต้น ทั้งบริษัทที่มีขนาดใหญ่  ตลอดจนบริษัทขนาดกลางและเล็ก หรือเอสเอ็มอี  เหล่านี้ต่างอยู่ในกลุ่มที่เจ้าหน้าที่ฯ ได้รับเบาะแสและดำเนินคดีไปแล้วในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา โดยเจ้าหน้าที่ฯ กำลังเร่งเดินหน้าร่วมมือกับเจ้าของลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในการสืบสวนเพิ่มเติมจากเบาะแสที่ได้
 
 
     ทั้งนี้ พื้นที่ในการตรวจจับไม่ได้จำกัดเฉพาะในเขตกรุงเทพและปริมณฑลเท่านั้น แต่ยังดำเนินการกับองค์กรที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ในภูมิภาคอื่นๆ เช่น ในจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ปราจีนบุรี สมุทรสาคร สงขลา และภูเก็ต สำหรับซอฟต์แวร์ที่มีอัตราการละเมิดสูงสุด ประกอบด้วยซอฟต์แวร์ของบริษัทไมโครซอฟต์ ออโต้เดสก์ รวมถึงซอฟต์แวร์ของบริษัทไทยซอฟท์แวร์เอ็นเตอร์ไพรส์
 
 
     ปัจจุบัน อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ของประเทศไทย อยู่ที่ร้อยละ 69 แม้ว่าอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ฯ ในประเทศไทยจะลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ยังคงสูงกว่าอัตราการละเมิดโดยเฉลี่ยในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 61 ซึ่งการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เป็นเพียงหนึ่งในมาตรการปราบปรามเท่านั้น ที่ผ่านมายังมีมาตรการป้องปราม ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแสดงออกในรูปแบบของการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบการได้เห็นถึงความเสี่ยงต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการใช้งานซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น ความเสี่ยงด้านภัยไซเบอร์ที่มาพร้อมกับการใช้งานซอฟต์แวร์เถื่อน
 
 
       พ.ต.อ.วินัย  วงษ์บุบผา  รอง ผบก.ปอศ. กล่าวว่า ในยุคที่รัฐบาลสนับสนุนการขับเคลื่อนธุรกิจด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ยิ่งมีความต้องการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือซอฟต์แวร์ต่างๆ เพิ่มมากขึ้น  อย่างไรก็ตาม บก. ปอศ. ขอประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบการธุรกิจได้กรุณาตรวจสอบซอฟต์แวร์ที่ติดตั้ง ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ในองค์กร หากว่าเป็นซอฟต์แวร์ที่ไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ  ที่เข้าข่ายเป็นการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์  ซึ่งเจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิดำเนินคดีในทางอาญาและทางแพ่งกับองค์กรธุรกิจที่ทำการละเมิดฯ ได้ ก็ขอเชิญชวนให้ผู้ประกอบการธุรกิจได้ดำเนินการแก้ไขหรือขออนุญาตให้ถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งนี้ ความร่วมมือจากภาคธุรกิจจะเป็นส่วนสำคัญยิ่ง ที่จะช่วยลดปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศไทยได้
 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
 
 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ

ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด ฉบับทายาทรุ่น 3 จาก 3 แบรนด์เก๋า หอยนางรม-น่ำเอี๊ยง-เด็กสมบูรณ์

ธุรกิจครอบครัวที่ผ่านรุ่น 3 ไปได้ต้องทำอย่างไร ? เราจะพาไปดูวิธี ‘ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด’ จาก 3 แบรนด์เก๋า: หอยนางรม - น่ำเอี๊ยง - เด็กสมบูรณ์" ​ ที่ไม่เพียงรักษามรดกครอบครัวไว้ แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ๆ อีกด้วย ​