JM CUISINE ใส่เทคโนโลยีพลิกโฉมธุรกิจ

 

 

 
ด้วยความที่สองพี่น้อง ธีรศานต์-ธวัชชัย สหัสสพาศน์ เป็นคนยุคใหม่ที่สนใจเทคโนโลยี พวกเขาจึงเชื่อมั่นว่า เทคโนโลยีจะสามารถสร้างโอกาสให้ธุรกิจได้ ปัจจุบันทั้งคู่ดำรงตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายสร้างสรรค์ธุรกิจ บริษัทไทยทำน้ำผลไม้ เพชรบุรี จำกัด แต่พวกเขาเป็นที่รู้จักในฐานะผู้รีแบรนด์ “เจ๊กเม้ง” ร้านก๋วยเตี๋ยวเก่าแก่ใน จ.เพชรบุรี ให้กลายเป็นเครือข่ายธุรกิจอาหารในชื่อใหม่ JM CUISINE ด้วยการทำการตลาดผ่านสื่อออนไลน์อย่างโซเชียลมีเดีย
 
“เดิมธุรกิจอาหาร ถ้าจะทำการประชาสัมพันธ์ต้องใช้เงินจำนวนมากในการซื้อสื่อโทรทัศน์หรือหนังสือพิมพ์ในการโฆษณา ซึ่งเป็นไปไม่ได้ด้วยยอดขายจำนวนไม่มาก เราจึงเป็นแบรนด์แรกและเป็นแบรนด์เดียวที่ผนวกสื่อออนไลน์ทุกอย่างที่คนไทยใช้ ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Twitter, Hi 5 หรือ Youtube ในการสื่อสารกับลูกค้า นอกจากนี้ยังมีเว็บไซต์ Flickr และระบบเช็คอินผ่าน Foursquare ล่าสุดเราใช้ Instagram ในการอัพโหลดภาพลูกค้าที่มาใช้บริการที่ร้าน” 
 
ความสำเร็จจากการใช้เทคโนโลยีทำการตลาดของ JM CUISINE สะท้อนให้เห็นผ่านฐานลูกค้าในปัจจุบันกว่า 60,000 ราย ซึ่งมีประโยชน์มากในการทำธุรกิจ เพราะระบบการจัดเก็บข้อมูลทุกอย่างของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์หรืออีเมล เพื่อนำไปต่อยอดทางธุรกิจด้วยการติดต่อแจ้งข่าวสารและโปรโมชั่นถึงกลุ่มลูกค้าได้โดยตรง ซึ่งจะมีทีมงานคอยทำหน้าที่ส่ง sms ขอบคุณลูกค้า วิธีการนี้จะช่วยให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกที่ดีและผูกพันกับแบรนด์ทางอ้อม
 
“ในการส่ง sms หาลูกค้า เราจะแนบลิงก์ Facebook หรือ Twitter ของร้านไปด้วย ซึ่งลูกค้าที่ใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนสามารถกดลิงก์ไปได้เลยทันที และหากลูกค้าเซฟเบอร์โทรศัพท์ของร้านเราไว้ในเครื่องก็จะทำให้ Contact ของเราไปขึ้นอยู่ใน Whatsapp หรือว่า Line ของเขาทันที ซึ่งตรงนี้เราสามารถขยายฐานลูกค้าและมีความผูกพันกับลูกค้าเพิ่มขึ้น” 
 
ผลจากการสร้างระบบบริหารงานและวางแผนการตลาดที่ดี ทำให้ JM CUISINE เติบโตทางธุรกิจเท่าตัวทุกปี นอกจากร้านอาหารทั้ง 2 สาขา ยังแตกไลน์ธุรกิจอาหารเพิ่มเติม เช่น JM Catering ที่ให้บริการออกร้านนอกสถานที่ บริการจัดเลี้ยงบุฟเฟต์สำหรับกรุ๊ปทัวร์ และบริการส่งตรงอาหารแบบเดลิเวอรี่ ธวัชชัยยอมรับว่าการขยายธุรกิจทำให้ต้นทุนสูงขึ้น จึงต้องมีการวางแผนเรื่องรายได้ล่วงหน้า โดยการดึงกรุ๊ปทัวร์มาลงที่ร้านเป็นประจำ ทำให้สามารถการันตียอดขายได้ว่าจะไม่มีทางขาดทุน ซึ่งเครื่องมือสำคัญที่เขานำมาใช้ในการนำเสนอข้อมูลแก่ลูกค้า ก็คือ สื่อออนไลน์อย่าง Blog, Facebook, Youtube ฯลฯ ที่นอกจากจะช่วยอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าแล้ว ยังลดต้นทุนค่าใช้จ่ายและประหยัดเวลา 
 
“การที่เราเป็นร้านเล็กๆ สื่อออนไลน์เหล่านี้จะช่วยได้มาก ส่วนใหญ่ลูกค้าเข้ามาจะชอบถ่ายรูปแล้วไปโพสต์ต่อ เราจึงมีการจัดมุมถ่ายรูปให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ของลูกค้า และบนโต๊ะจะมีกล่องตะเกียบ กล่องช้อนที่เป็นโลโก้ร้านติดไปด้วย เป็นการสร้างการรับรู้ให้ผู้บริโภคเกิดการซึมซับในแบรนด์อีกทางหนึ่ง”
 
ธีรศานต์กล่าวต่อว่า วันนี้ธุรกิจที่ใช้สื่อออนไลน์ในการโฆษณาจะมีรูปแบบที่คล้ายกัน แต่สิ่งที่ทำให้แตกต่าง คือความสม่ำเสมอ ต้องทำอย่างต่อเนื่องทุกวัน หรือจำนวนยอดวิวหรือยอดที่มีคนมากดไลค์มากๆ ไม่ได้หมายความว่าธุรกิจประสบความสำเร็จ เพราะหากหยุดทำโปรโมชั่นยอดไลค์ก็จะหายไป แต่ถ้าใช้วิธีการดึงคนที่เป็นลูกค้าจริงๆ เข้ามากดไลค์เป็นแฟนเพจ เชื่อว่าวิธีนี้จะสามารถขยายฐานลูกค้าได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนที่สุด
 
หากคิดจะใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ ผู้ประกอบการจำเป็นต้องศึกษาวิธีใช้อย่างรู้เท่าทันด้วย
 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ

ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด ฉบับทายาทรุ่น 3 จาก 3 แบรนด์เก๋า หอยนางรม-น่ำเอี๊ยง-เด็กสมบูรณ์

ธุรกิจครอบครัวที่ผ่านรุ่น 3 ไปได้ต้องทำอย่างไร ? เราจะพาไปดูวิธี ‘ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด’ จาก 3 แบรนด์เก๋า: หอยนางรม - น่ำเอี๊ยง - เด็กสมบูรณ์" ​ ที่ไม่เพียงรักษามรดกครอบครัวไว้ แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ๆ อีกด้วย ​