NEA ชู 4 กลยุทธ์เสริมแกร่งเพิ่มความรู้ SME ไทยทำธุรกิจทันสมัยเข้าใจลูกค้า




    "พรวิช" ผู้อำนวยการคนใหม่ NEA หรือสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ หน่วยงานภายใต้สังกัดกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เผยแผนกลยุทธ์ 4 ด้าน หนุนพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ SME ไทยให้มีองค์ความรู้ในการทำธุรกิจที่ทันสมัย เข้าใจความต้องการของกลุ่มลูกค้า เพื่อสร้างรายได้อย่างยั่งยืน ตั้งเป้าพัฒนาผู้ประกอบการ SME ไม่ต่ำกว่า 3 หมื่นคนในปี 2561

    นายพรวิช ศิลาอ่อน ผู้อำนวยการ สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ หรือ NEA (New Economy Academy) เปิดเผยว่า จากแนวคิดการพัฒนาประเทศให้ก้าวไปสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาลที่เน้นการใช้นวัตกรรม และเทคโนโลยีในการดำเนินธุรกิจ ประกอบกับอัตราการเติบโตของธุรกิจ SME  ในประเทศไทยที่เพิ่มจำนวนขึ้นทุกปี ข้อมูลล่าสุดจากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ในปี 2560 นี้มีจำนวนบริษัท SME อยู่ที่ 3,004,679 ราย เพิ่มขึ้นจากปี 2559 ถึง 238,713 ราย คิดเป็นเปอร์เซ็นคือ 8.63% 

     แต่ในกลุ่มผู้ประกอบการเหล่านี้ ยังขาดความรู้ในการดำเนินธุรกิจ หลายด้านเช่นการบริหารจัดการการ เงิน,การขาดความเข้าใจผู้บริโภค ,การเลือกใช้เทคโนโลยีเพื่อลดต้นทุน, การเปิดตลาดในต่างประเทศ เป็นต้น กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ จึงจัดตั้ง ‘สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ New Economy Academy หรือ NEA ขึ้นเพื่อมอบองค์ความรู้แก่ผู้ประกอบการ SME ไทยในทุกภาคส่วนธุรกิจ โดยเฉพาะจุดแข็งเรื่องความรู้ด้านการค้าในต่างประเทศ

     โดยรูปแบบการทำงานของสถาบันฯ เป็นการจัดหลักสูตรอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ SME ไทยทุกประเภทธุรกิจที่สนใจอยากพัฒนาศักยภาพ โดยแบ่งการจัดอบรม 3 รูปแบบ

     1.Face-to-face : หลักสูตรการอบรมแบบที่ผู้ประกอบการสามารถเรียนรู้จากวิทยากรได้สดๆ พร้อมทำ Workshop ในห้องปฏิบัติการ ผู้ประกอบการสามารถซักถามข้อสงสัยจากวิทยากรได้แบบ Real Time

    2.E-Learning : หลักสูตรการอบรมแบบออนไลน์ เหมาะสำหรับผู้ประกอบการที่ไม่สะดวกมาเข้าร่วมหลักสูตรในคลาสสด
     
    3.Virtual Classrooms : ระบบห้องเรียนเสมือนจริงที่ผู้ประกอบการสื่อสารกับวิทยากรและเพื่อนร่วมคลาสได้ผ่านอินเตอร์เน็ต โดยโครงการนำร่องแรกที่จะเปิดสอนในลักษณะนี้คือเรื่องการทำ Video Marketing

     “จริงอยู่ที่ปัจจุบันมีหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนจัดหลักสูตรอบรมผู้ประกอบการในลักษณะเดียวกัน แต่ความแตกต่างของ NEA คือการมี Knowledge Base เกี่ยวกับการตลาดระหว่างประเทศ จากกรมการค้าระหว่างประเทศที่มีสำนักงานพาณิชย์กว่า 58 แห่งทั่วโลกตั้งอยู่ในจุดการค้าสำคัญ รวมถึงการมีพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาธุรกิจจากหลายหน่วยงานผลัดเปลี่ยนมาให้ความรู้คำแนะนำจากประสบการณ์จริง ทุกหลักสูตรจึงมีความน่าเชื่อถือและมีสถานที่ตั้งสถาบันที่ทันสมัยอยู่กลางกรุงเทพฯ บนถนนรัชดาภิเษก โดยในปีแรกนี้มีผู้ประกอบการเข้าร่วมแล้วกว่า 10,000 ราย”

     สำหรับเป้าหมายของ NEA คือการพัฒนาผู้ประกอบการ SME ให้มีความรู้เป็นเลิศในการดำเนินธุรกิจเพื่อสร้างรายได้อย่างมั่งคั่งพร้อมเพิ่มความมีส่วนร่วมของ SME ต่อการกระตุ้น GDP ของประเทศ จึงจำเป็นต้องดำเนินการตามกลยุทธ์ ดังนี้

     กลยุทธ์ที่ 1 : มีการพัฒนาหลักสูตรของสถาบันอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ครอบคลุมกับความต้องการของผู้ประกอบการ SME ทุกขนาดทุกภาคธุรกิจ และตอบโจทย์สังคมที่เปลี่ยนแปลงไป

     กลยุทธ์ที่ 2 : การจัดโครงการสัมมนาอบรมผู้ประกอบการ SME ที่สอดคล้องกับเทรนด์เศรษฐกิจในปัจจุบัน ตอนนี้หลักสูตรของ NEA เน้นการส่งเสริมอีคอมเมิร์ซมากขึ้น และให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องผลกระทบที่เกิดขึ้นกับธุรกิจจากเทคโนโลยีและเทรนด์ในยุคดิจิทัล

     กลยุทธ์ที่ 3 : การสร้างพันธมิตรในทุกด้านทั้งการเงิน การศึกษา และเทคโนโลยีเพื่อร่วมมือพัฒนาผู้ประกอบการให้นำความรู้ไปต่อยอดในการดำเนินธุรกิจได้

     กลยุทธ์ที่ 4 : สถาบันจะขยายหลักสูตรการอบรมสู่ประเทศในอาเซียนโดยเริ่มที่กลุ่มประเทศ CLMV โดยจะจัดคอร์สฝึกอบรมพร้อมผู้ประกอบการไทยเพื่อสร้างพันธมิตรที่ดีทางการค้าและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ดีระหว่างผู้เข้าอบรม

     นายพรวิช กล่าวว่า ในยุคปัจจุบันเป็นยุคที่คนตัวเล็กอยากเป็นเจ้าของธุรกิจของตัวเอง ทำให้มีธุรกิจ SME เกิดขึ้นมาก นับเป็นความท้าทายของ NEA ที่จะจัดหลักสูตรให้เข้าถึงผู้ประกอบการ SME ทั้งหมด อีกเรื่องคือการทำความเข้าใจเทรนด์ตลาดและความคิดของกลุ่ม SME ในแต่ละกลุ่มว่ามีความต้องการพัฒนาความรู้แบบใด ในส่วนนี้เราจะต้องทำการวิเคราะห์เทรนด์ของการฝึกอบรมด้านการค้าระหว่างประเทศที่ทันสมัยที่สุดรวมทั้งใช้เทคโนโลยี “การวิเคราะห์ข้อมูล (Data analysis)” มาช่วยประมวลผลข้อมูลผู้ประกอบการที่เข้าร่วมอบรมว่าทำธุรกิจอะไรและมีความสนใจเรื่องใดเป็นพิเศษ เพื่อนำไปวิจัยออกแบบหลักสูตรให้สามารถพัฒนาศักยภาพ SME ไทยสู่การเป็น Smart SME อย่างแท้จริง

รายละเอียดหลักสูตรเพื่อผู้ประกอบการ SME สามารถดูได้เพิ่มเติมที่ www.nea.ditp.go.th

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ

ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด ฉบับทายาทรุ่น 3 จาก 3 แบรนด์เก๋า หอยนางรม-น่ำเอี๊ยง-เด็กสมบูรณ์

ธุรกิจครอบครัวที่ผ่านรุ่น 3 ไปได้ต้องทำอย่างไร ? เราจะพาไปดูวิธี ‘ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด’ จาก 3 แบรนด์เก๋า: หอยนางรม - น่ำเอี๊ยง - เด็กสมบูรณ์" ​ ที่ไม่เพียงรักษามรดกครอบครัวไว้ แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ๆ อีกด้วย ​