อธิบดีกรมพัฒน์ฯคนใหม่ ชูภารกิจสำคัญ 3 ด้านดูแล SME




 
             อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าคนใหม่ ชี้แจงภารกิจปี 2561 ทันทีที่เข้ารับตำแหน่ง ประกาศภารกิจสำคัญ 3 ด้านที่ต้องเร่งดำเนินการ...เน้นการสร้างความเข้มแข็งของเอสเอ็มอีและเศรษฐกิจฐานรากของประเทศแบบเข้มข้น ให้สามารถแข่งขันได้ - พัฒนาระบบการให้บริการอำนวยความสะดวกทางธุรกิจโดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพโดยเน้นคุณภาพมากขึ้น รวมทั้ง เชื่อมต่อฐานข้อมูลธุรกิจของกรมฯ กับฐานข้อมูลของหน่วยงานราชการอื่นๆ เพื่อให้เป็นคลังข้อมูลธุรกิจขนาดใหญ่ (Big Data) ของประเทศ - ส่งเสริมและสร้างมาตรฐานด้านธรรมาภิบาลแก่ภาคธุรกิจสร้างความเชื่อมั่นให้คู่ค้า คู่ขนาน...บริหารงานภายในสร้างบรรยากาศการทำงานแบบทีมเวิร์ค ผสานเป็นหนึ่งเดียว เกื้อกูลสนับสนุนงาน...มุ่งสู่ความสำเร็จร่วมกัน


          นางกุลณี อิศดิศัย อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า "ในฐานะที่ตนเข้ารับตำแหน่งอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าคนใหม่ ซึ่งเป็นอธิบดีของกรมฯ ในลำดับที่ 27 ภารกิจสำคัญที่เป็นเป้าหมายหลักที่จะต้องเร่งดำเนินงานในปี 2561 นี้ จะสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและยุทธศาสตร์กระทรวงพาณิชย์ โดยแบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ


          1) เน้นการสร้างความเข้มแข็งของผู้ประกอบการ SMEs และเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ

          2) พัฒนาระบบการให้บริการอำนวยความสะดวกทางธุรกิจ โดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เน้นคุณภาพมากขึ้น รวมทั้งเป็นคลังข้อมูลธุรกิจของประเทศ (Big Data)

          3) ส่งเสริมและสร้างมาตรฐานด้านธรรมาภิบาลแก่ภาคธุรกิจสร้างความเชื่อมั่นให้คู่ค้า


          1. ในส่วนของการดูแล SMEs และเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ ถือเป็นหัวใจหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ จะเน้นการสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของ SMEs และเศรษฐกิจฐานรากของ ประเทศให้สามารถแข่งขันได้ โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มธุรกิจรุ่นใหม่ สมาชิกเครือข่ายธุรกิจ MOC Biz Club, OTOP ผู้ประกอบการชุมชน, วิสาหกิจเพื่อสังคม เน้นการบริหารจัดการ การส่งเสริมให้เข้าสู่ตลาด และดำเนินธุรกิจอย่างมีระบบยิ่งขึ้น


          - เน้นการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบธุรกิจสู่การเป็น Smart Enterprises เสริมสร้างแนวคิดและทักษะของผู้ประกอบธุรกิจที่ดี มีความเป็นมืออาชีพสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ ด้วยความคิดสร้างสรรค์ ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมให้สอดคล้องกับความความต้องการของตลาด


          - พัฒนาช่องทางการตลาดออนไลน์ (Offline to Online) เพื่อเป็นช่องทางในการกระจายสินค้าให้ผู้บริโภค สามารถเลือกซื้อสินค้าได้อย่างสะดวก เช่น การนำเสนอผลิตภัณฑ์ การจัดทำบรรจุภัณฑ์สำหรับการค้าออนไลน์ การบริหารจัดการร้านค้าออนไลน์ และส่งเสริมธุรกิจ e-Commerce เพิ่มโอกาสทางการค้าและขยายตลาดให้ทันต่อเศรษฐกิจยุคดิจิทัล และเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสร้างความน่าเชื่อถือ


          - สร้างมาตรฐานและโอกาสทางการตลาดให้แก่ธุรกิจบริการ อาทิ ธุรกิจร้านอาหาร ธุรกิจบริการสุขภาพ ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ ธุรกิจแฟรนไชส์ ธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ เป็นต้น ตลอดจนสร้างโอกาสด้านอาชีพเพื่อก่อให้เกิดการสร้างรายได้ของชุมชนจากงานบริการ เช่น งานช่างประเภทต่างๆ งานให้บริการหัวหน้าแม่บ้าน เป็นต้น


                    - ยกระดับและพัฒนาส่งเสริมร้านค้าปลีกในชุมชนให้มีระบบบริหารจัดการร้านค้าที่มีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนทางการค้า เพิ่มศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ โดยนำระบบเทคโนโลยีมาใช้ โดยจะต่อยอดโครงการ โชวห่วยไฮบริดเชื่อมกับ e-Commerce, Counter Service ไปรษณีย์ไทย รวมทั้งบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ (Local Economy) โดยจะพัฒนาร้านค้าชุมชนให้เกิดการแข่งขันได้มีแหล่งรับซื้อสินค้าชุมชนในภูมิภาคระหว่างภูมิภาค เพื่อพัฒนาสร้างเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ


          2. การพัฒนาระบบการให้บริการอำนวยความสะดวกทางธุรกิจ จะนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพทางธุรกิจ อาทิ การเริ่มต้นธุรกิจที่ง่าย สะดวก รวดเร็วยิ่งขึ้น ลดขั้นตอนการเริ่มต้นของธุรกิจโดยรวมขั้นตอนการจดทะเบียนให้เหลือเพียง 1 ขั้นตอน จากระบบเดิมจะมีขั้นตอนที่ 1 จองชื่อ ขั้นตอนที่ 2 จดทะเบียนบริษัท โดยระบบใหม่จะรวมขั้น 1 + 2 ให้เหลือเพียงขั้นตอนเดียว โดยรวมขั้นตอนการจองชื่อนิติบุคคลและการจดทะเบียนนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Registration) ให้อยู่ในขั้นตอน/หน้าเดียวกัน ซึ่งการพัฒนาบริการในส่วนนี้จะสอดคล้องกับเกณฑ์การจัดอันดับความยากง่ายในการประกอบธุรกิจของธนาคารโลกที่เน้นการบริการภาครัฐที่มีประสิทธิภาพและคุณภาพ เพิ่มช่องทางการจองชื่อนิติบุคคลผ่าน Mobile Application


          - พัฒนาการขอหนังสือรับรองนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ไฟล์ ทำคำขอผ่าน Smart Phone เพื่อขอหนังสือรับรองได้ทุกที่ทุกเวลา นอกเหนือจากการขอหนังสือรับรองฯ ผ่านธนาคาร


          - การพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพคลังข้อมูลธุรกิจของกรมฯ สู่การเป็น Business Intelligence โดยการให้บริการค้นหาข้อมูลและจับคู่ทางธุรกิจ (Business Matching) ให้สามารถติดต่อทางธุรกิจได้โดยง่าย เพิ่มข้อมูลการติดต่อผ่าน e-Mail จากเดิมที่มีเพียงเบอร์โทรศัพท์/โทรสารเท่านั้น


          - สามารถวิเคราะห์แนวโน้นทางธุรกิจ การพยากรณ์ผลการประกอบธุรกิจจากอัตราส่วนทางการเงินและงบการเงินเพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถพิจารณาข้อมูลเชิงลึก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงข้อมูลได้สะดวกรวดเร็ว เพื่อประกอบการตัดสินใจในเชิงธุรกิจ และจะใช้ข้อมูลธุรกิจที่กรมมีอยู่ตั้งเป็นศูนย์กลางคลังข้อมูลธุรกิจเชื่อมโยงข้อมูลธุรกิจกับหน่วยงานราชการต่างๆ เพื่อให้เป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของประเทศหรือ Big Data ต่อไป


          3. การส่งเสริมและสร้างมาตรฐานด้านธรรมาภิบาลแก่ภาคธุรกิจ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้คู่ค้า (Business Governance) โดยจะเน้นทั้งมาตรการป้องปรามและมาตรการส่งเสริม ได้แก่ การตรวจสอบแนะนำการปฎิบัติตามกฎหมายเพื่อกำกับดูแลให้ภาคธุรกิจปฎิบัติหน้าที่ได้อย่างถูกต้อง ติดตามควบคุมธุรกิจกลุ่มเสี่ยง เช่น นิติบุคคลไทยที่มีคนต่างด้าวถือหุ้น (นอมินี) การส่งเสริมให้ธุรกิจนำหลักธรรมาภิบาลไปใช้ในการประกอบธุรกิจมากขึ้น


          - จะมีการยกระดับธุรกิจตามเกณฑ์มาตรฐานที่กรมฯ จัดทำขึ้นซึ่งอิงตามเกณฑ์มาตรฐานสากล


          - จัดให้มีธุรกิจต้นแบบและประกวดธุรกิจที่มีธรรมาภิบาลดีเด่นในระดับจังหวัดและระดับประเทศ


          - จะใช้ระบบบัญชีมาตรฐานเข้ามาช่วยสร้างธรรมาภิบาลให้แก่ภาคธุรกิจ (สามารถจัดทำบัญชีผ่านทาง Application หรือ ทางออนไลน์) และจัดทำระบบ e-Accountiog เพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถจัดทำรายรับรายจ่าย และงบแสดงฐานะการเงินได้โดยง่าย สามารถนำส่งงบการเงินประจำปีได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งจะทำให้ SMEs มีการจัดทำบัญชีที่ถูกต้อง สามารถประเมินสภาพคล่องทางการเงิน และสามารถดำเนินงานได้


          นอกจากนี้ การบริหารงานภายในกรมฯ จะมีการดำเนินงานให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและยุทธศาสตร์กระทรวงพาณิชย์ สร้างบรรยายการทำงานในลักษณะ Team Work บูรณาการการทำงานด้วยความเกื้อกูลและสนับสนุนซึ้งกันและกัน เดินหน้าสู่ DBD 4.0 ที่จะรักษาไว้ซึ่งต้นสายปลายทางธุรกิจ ที่ขับเคลื่อนด้วย "ยิ้มแย้ม โปร่งใส ใส่ใจบริการ”


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ

ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด ฉบับทายาทรุ่น 3 จาก 3 แบรนด์เก๋า หอยนางรม-น่ำเอี๊ยง-เด็กสมบูรณ์

ธุรกิจครอบครัวที่ผ่านรุ่น 3 ไปได้ต้องทำอย่างไร ? เราจะพาไปดูวิธี ‘ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด’ จาก 3 แบรนด์เก๋า: หอยนางรม - น่ำเอี๊ยง - เด็กสมบูรณ์" ​ ที่ไม่เพียงรักษามรดกครอบครัวไว้ แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ๆ อีกด้วย ​