ถอดรหัสความยั่งยืน ธนบดีเดคอร์เซรามิค จากชามตาไก่สู่เซรามิคมีดีไซน์

Text : กองบรรณาธิการ


     หากเอ่ยชื่อชามตาไก่ หลายคนคงเคยได้ยินเพราะเป็นของดีในจังหวัดลำปางที่เคยรุ่งเรืองในยุคจอมพล ป.พิบูลสงคราม ซึ่งมีที่มาจากนายอี้ (ซิมหยู แซ่ฉิน) ที่ค้นพบแร่ดินขาวที่บ้านปางค่า อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง เป็นวัตถุดิบในการทำเซรามิค จึงตั้งโรงงานผลิตชามตาไก่ที่ลำปางตั้งแต่ตอนนั้น แต่พอถึงประมาณปี 2506 ถูกกระแสเซรามิคของต่างประเทศที่ราคาถูกเข้ามาตีตลาดทำให้กิจการเริ่มซบเซาและชามตาไก่ค่อยๆ หายไปจากเมืองไทยจนมาถึงทายาทรุ่นที่ 2 ของนายอี้อย่าง พนาสิน ธนบดีสกุล ได้เข้ามาสืบทอดกิจการพร้อมกับต่อยอดองค์ความรู้ที่มีอยู่ในด้านเซรามิคจนกลายเป็นบริษัท ธนบดีเดคอร์เซรามิคจำกัด ที่มีทั้งสินค้าตกแต่งบ้าน จาน ชาม ชุดเครื่องใช้ในห้องน้ำ ชุดหมู่บูชา สินค้าที่ระลึกและยังมีการพลิกฟื้นชามตาไก่ที่เคยหายไปในอดีตให้กลับมาอีกครั้ง


Cr : www.dhanabadee.com            


     จุดเด่นของธนบดีเดคอร์เซรามิค คือการนำเอกลักษณ์ของท้องถิ่นมาผสานกับความทันสมัยของเทคโนโลยีด้วยการใช้เครื่องจักรทำให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความสวยงาม โดดเด่นและตอบโจทย์ผู้บริโภคทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ


     “ด้วยความที่ประเทศเรามีวัฒนธรรม มีเอกลักษณ์ท้องถิ่น เราจึงมีการใช้นวัตกรรมผสานเอกลักษณ์ของท้องถิ่นที่สวยงามเข้ากับเทคโนโลยีในยุคปัจจุบันเพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิต ทำให้ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพได้มากขึ้นแต่ยังคงมีความประณีต สวยงามด้วยฝีมือของมนุษย์ นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ของเรายังมีการใช้ลวดลายไทยๆ ใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นสร้างสรรค์ให้กลายเป็นสินค้าที่มีเอกลักษณ์ ตอนนี้ก็ส่งขายไปประมาณ 78 ประเทศ”


     นอกจากความโดดเด่นในเรื่องของการนำเอกลักษณ์ท้องถิ่นมาใส่ลงในเซรามิคแล้ว ธนบดีเดคอร์เซรามิค ยังมีจุดแข็งในเรื่องของการบริหารองค์อย่างยั่งยืนด้วยการนำเอาหลักวิถีพุทธมาใช้ในการบริหารรวมทั้งยังเน้นความสุขของพนักงานเป็นหลัก


     “ในการบริหารองค์กร เรามีการน้อมนำเอาวิถีพุทธเข้ามาใช้ แต่เราไม่ได้ห้ามในการนับถือศาสนาอื่นของพนักงาน ก็มีทั้งศาสนาอิสลามและคริสต์ ในองค์กรของผมจะเน้นเรื่องของการมีความสุข 24 ชั่วโมง มีการสร้างสมดุลในชีวิตทั้งเรื่องสุขภายกาย สุขภาพใจ มีการตรวจสุขภาพพนักงาน มีการจัดทำคู่มือชีวิตให้พนักงานได้วางแผนชีวิตของตนเอง มีการดูแลพนักงานในเรื่องของสุขภาพใจด้วยการจัดกิจกรรมนั่งสมาธิ นอกจานี้เรายังเน้นช่วยเหลือพนักงานในด้านต่างๆ เรื่องเงินออม เรามีระบบออมทรัพย์ให้พนักงานได้ออมเงิน มีการให้กู้เงินภายในองค์กรไม่ต้องเป็นหนี้นอกระบบ นอกจากนี้ยังเน้นความสุขของพนักงาน ให้พนักงานได้ Happy&Relax ดูความต้องการว่าพวกเขาต้องการอะไร เราพบว่าพนักงานต้องการสระผมในช่วงพักกลางวัน เราก็มีการซื้อเก้าอี้สระผม 2 ตัว มีอาจารย์มาสอนในเรื่องของการสระผมและให้พนักงานที่อยากมีรายได้เสริมมาเป็นคนสระ พนักงานก็มีความสุข”


     อีกหนึ่งเรื่องที่ทำให้ ธนบดีเดคอร์เซรามิค เติบโตอย่างยั่งยืนคือการปลูกฝังพนักงานด้วยการเปลี่ยนคำว่า “ยาก” ให้กลายเป็นคำว่า ต้องทำให้ได้
               

     “เวลาที่หลายคนเจอเรื่องยากหรือเรื่องที่ทำไม่ได้ ก็มักจะคิดว่าทำไม่ได้หรอกและก็จะไม่ทำ แต่สำหรับผมพอเจอเรื่องยากๆ ผมมองว่านี่แหละคือนวัตกรรม ที่ต้องลอง ครั้งแรกอาจจะไม่สำเร็จก็ลองครั้งต่อไป ลองทำไปเรื่อยๆ จนกว่าที่จะประสบความสำเร็จ นอกจากนี้เรายังมักที่จะมีการวางแผนธุรกิจอยู่เสมอทุกๆ 6 เดือน จากเมื่อก่อนปรับทุกๆ 1 ปี หรือ 2 ปี แต่ตอนนี้ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น ทั้งพฤติกรรมคน เทคโนโลยี เราเลยมีการวางแผนธุรกิจทุกๆ 6 เดือน”
               

     ด้วยความได้เปรียบเรื่องขององค์ความรู้ในการผลิตเซรามิคตั้งแต่รุ่นพ่อผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์ต่อยอดสินค้าท้องถิ่นให้มีความทันสมัย ใส่ดีไซน์จนกลายเป็นสินค้าที่ได้ใจลูกค้าทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ทำให้ตอนนี้ ธนบดีเดคอร์เซรามิค เติบโตอย่างต่อเนื่องแบบยั่งยืนเพราะทัศนคติของผู้บริหารที่เน้นการพัฒนาบุคลากรในองค์กรซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญ นอกจากนี้ยังมีการนำเอาแนวคิดเรื่องความพอเพียงมาใช้ ไม่ขยายกิจการมากเกินความจำเป็น ไม่กู้ยืมเงินทั้งในและนอกระบบ ยึดหลักทำเท่าที่ศักยภาพของตนเองมี ทำให้องค์กรแห่งนี้เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับ SME ยุคใหม่ที่อยากจะเติบโตอย่างยั่งยืน 


ที่มา : งานสัมมนาธุรกิจยั่งยืนด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง 


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ

ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด ฉบับทายาทรุ่น 3 จาก 3 แบรนด์เก๋า หอยนางรม-น่ำเอี๊ยง-เด็กสมบูรณ์

ธุรกิจครอบครัวที่ผ่านรุ่น 3 ไปได้ต้องทำอย่างไร ? เราจะพาไปดูวิธี ‘ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด’ จาก 3 แบรนด์เก๋า: หอยนางรม - น่ำเอี๊ยง - เด็กสมบูรณ์" ​ ที่ไม่เพียงรักษามรดกครอบครัวไว้ แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ๆ อีกด้วย ​