​WOW! เมื่อหลอดดูดกลายเป็นของกินได้





 Cr: Loliware
 
 
     ด้วยความคิดที่จะลดปัญหาจากการใช้แล้วทิ้งของหลอดพลาสติกที่มากถึง 500 ล้านหลอดต่อวันในสหรัฐอเมริกา แบรนด์ ลอลิแวร์ (Loliware) จึงถือกำเนิดขึ้นในปี 2557 โดยมุ่งมั่นที่จะสร้างอนาคตของความยั่งยืนโดยการใช้วัสดุจากธรรมชาติเข้ามาแทนที่การใช้พลาสติกสำหรับเครื่องใช้หรือภาชนะที่ใช้ในการรับประทานอาหารและบรรจุภัณฑ์ ทั้งนี้ ได้มีการคิดค้นนวัตกรรมการใช้วัสดุจากสาหร่ายทะเลมาทำเป็น “หลอดเครื่องดื่ม” ที่สามารถกินได้หลังจากการใช้แล้ว หรือถ้าผู้บริโภคไม่กินหลอดนั้นก็สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติอย่าง 100 เปอร์เซ็นต์


     ทั้งนี้ ทางแบรนด์ได้ออกแบบ Lolistraw หรือหลอดกินได้ ให้ออกมาเหมือนหลอดพลาสติกที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน โดยมีอายุการใช้งานได้นานถึง 24 ชั่วโมงในเครื่องดื่มและมีอายุการเก็บรักษานานถึง 24 เดือน โดยมีทั้งหลอดธรรมดาที่ปราศจากรสชาติ และมีรสชาติ เช่น กุหลาบ มะม่วง ส้มยูสุ ชาร์โคล ไม้หอมพาโลซานโตและวนิลา หรือแม้กระทั่งหลอดที่มีวิตามินสำหรับการดื่มหลังออกกำลังกาย



 Cr: Loliware


     หนึ่งในผู้ก่อตั้งแบรนด์อย่าง Chelsea Briganti บอกว่า ลองจินตนาการดูว่าจะเป็นยังไงถ้าเราดื่มกาแฟเย็นด้วยหลอดรสวนิลาหรือคาราเมล เราเชื่อว่านวัตกรรมนี้จะเข้ามากระตุ้นเรื่องการลดใช้พลาสติกในขณะที่ลูกค้าก็มีความสุขไปด้วยได้ โดยที่สีและรสชาติของหลอดนั้นทำมาจากผักและผลไม้


     “ความแตกต่างของ Lolistraw คือการถูกออกแบบมาให้ย่อยสลายหายไปโดยไม่ทิ้งร่องรอย ซึ่งต่างจากวัสดุพลาสติกชีวภาพบางชนิดที่สามารถแตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยได้ ดังนั้นหลอดกินได้จึงถูกออกแบบมาเพื่อให้หายไปอย่างแท้จริง”


     ขณะที่ผู้ร่วมก่อตั้งอย่าง Leigh Ann Tucker เสริมว่า หลอดนี้ให้ความรู้สึกเหมือนหลอดพลาสติกของจริงแต่คุณสามารถกินมันได้จริงๆหลังจากดื่มเครื่องดื่มหมดแล้ว ส่วนสำหรับใครที่ไม่อยากกินก็ไม่เป็นปัญหาเพราะมันสามารถย่อยได้เองตามธรรมชาติหรือถ้ามันถูกทิ้งลงในทะเลมันก็จะสามารถสลายได้โดยไม่ทำความเสียหายให้กับสิ่งแวดล้อม

 
     “หลอดพลาสติกเป็น 1 ใน 10 ขยะที่พบมากที่สุดในทะเล จึงเป็นที่มาของไอเดียออกแบบหลอดกินได้ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ตัวที่สองของแบรนด์ต่อจากแก้วน้ำกินได้ Lolistraw ทำมาจากวัตถุดิบใหม่ที่เราเรียกว่า Lolizero หรือทำจากสาหร่ายทะเลปราศจากน้ำตาล ไร้สารเคมีและไม่กลายเป็นขยะ”




     เป้าหมายของแบรนด์คือการแทนที่หลอดพลาสติกที่ใช้ในสถานที่ที่มีขยะจำนวนมาก เช่น สนามกีฬา ร้านอาหารและร้านกาแฟ โดยคาดว่าจะเปิดตัวผลิตภัณฑ์ในช่วงซัมเมอร์ปีนี้


     ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการใส่ใจสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยหนึ่งที่ผู้ประกอบการหันมาให้ความสนใจมากขึ้น โดยทางหนึ่งที่จะแสดงให้เห็นถึงจุดยืนตรงนี้คือการออกแบบบรรจุภัณฑ์หรือสินค้าที่สามารถย่อยสลายได้โดยไม่มีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์ อีกทั้งเทรนด์ของการออกแบบจุภัณฑ์ที่สามารถรับประทานได้กำลังมาแรง โดยคาดว่าตลาดบรรจุภัณฑ์กินได้ของโลกจะมีการเติบโตอยู่ที่ 7.9 เปอร์เซ็นต์ในทศวรรษหน้าหรือมีมูลค่า 13.26 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2568
 
 
 www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ

ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด ฉบับทายาทรุ่น 3 จาก 3 แบรนด์เก๋า หอยนางรม-น่ำเอี๊ยง-เด็กสมบูรณ์

ธุรกิจครอบครัวที่ผ่านรุ่น 3 ไปได้ต้องทำอย่างไร ? เราจะพาไปดูวิธี ‘ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด’ จาก 3 แบรนด์เก๋า: หอยนางรม - น่ำเอี๊ยง - เด็กสมบูรณ์" ​ ที่ไม่เพียงรักษามรดกครอบครัวไว้ แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ๆ อีกด้วย ​