​4 เคล็ดลับ ติดอาวุธเพิ่มขีดความสามารถ SME อาหาร





 
     ด้วยมูลค่าของอุตสาหกรรมอาหารในเชิงตลาดโลก ทั้งภาคการผลิต ภาคการค้าและบริการ รวมกันแล้วมีมูลค่าถึง 2 ล้านล้านบาท เฉพาะภาคการผลิตอย่างเดียวประมาณ 800,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 20 - 22 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี และมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้ ผู้ประกอบการ SME ไทยต้องมีการพัฒนาตัวเองให้มีศักยภาพมากขึ้น เพื่อที่จะสามารถแข่งขันและเอาตัวรอดได้
 

     ในเรื่องนี้ ยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าวว่า สำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มของไทยนั้น นับตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไปถือเป็นช่วงของการเปลี่ยนผ่านจากอุตสาหกรรมเดิมที่มีการส่งออกในรูปวัตถุดิบเป็นหลัก ไปสู่อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงโครงสร้างใน 2 ประเด็นหลัก ได้แก่
 

     รูปแบบสินค้าที่เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ มีแนวโน้มพึ่งพิงรายได้จากสินค้าหลักลดลง (สินค้าหลัก 8 รายการ ได้แก่ ข้าว ไก่ กุ้ง ทูน่ากระป๋อง น้ำตาลทราย แป้งมันสำปะหลัง สับปะรดกระป๋องและข้าวโพดหวานปรุงแต่ง) โดยจะมีการพัฒนาสินค้าใหม่ๆเข้าสู่ตลาดมากขึ้น เช่น อาหารสำหรับผู้ป่วยและผู้สูงอายุและผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสุขภาพ
 
     ตลาดส่งออกเปลี่ยนแปลงไป โดยสินค้าอาหารของไทยจะลดการพึ่งพิงตลาดเดิมลดลง เช่น สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป โดยจะมีการกระจายการส่งออกไปตลาดใหม่ๆมากขึ้นโดยเฉพาะตลาดภายในภูมิภาคที่มีการตกลงทางการค้า ได้แก่ อาเซียน ญี่ปุ่นและจีน
 




     แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ที่ผ่านมาผู้ประกอบการยังคงชินอยู่กับการทำสินค้าที่เรียกว่าแปรรูปเบื้องต้น หรือไม่มีการพัฒนา ใช้นวัตกรรมหรือความคิดสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้น ซึ่งเมื่อดูที่โครงสร้างของอุตสาหกรรมอาหารไทย จะพบว่ามี 110,000 ผู้ประกอบการ โดย 99.5 เปอร์เซ็นต์เป็น SME พวกรายใหญ่มีแค่ 600 ราย แต่พวกนี้สามารถที่จะสร้างมูลค่าในการส่งออกสูงถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลืออีกแสนกว่ารายเป็นรายย่อยที่มีมูลค่าการส่งออกที่ 30 เปอร์เซ็นต์ นั่นคือโจทย์ที่จะต้องสนับสนุนให้ผู้ประกอบการรายย่อยมีการเพิ่มศักยภาพตัวเองให้มากขึ้น โดยแนวทางในการปรับตัวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน มีดังนี้
 

ติดตามเทรนด์อยู่เสมอ

     ทุกวันนี้เทรนด์ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอาหารหรือตัวบรรจุภัณฑ์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อย่างเช่น การใช้นาโนเทคโนโลยีเข้ามาทำเป็นตัวแพ็กเกจจิ้งที่สามารถเปลี่ยนสีได้เมื่อใกล้วันหมดอายุ ซึ่งเป็นผลดีต่อผู้บริโภค นอกจากนี้รูปร่างของตัวบรรจุภัณฑ์ต้องมีความคิดสร้างสรรค์ แปลกใหม่และแตกต่างเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค
 

ติดฉลากฉลาด

     ทุกวันนี้ฉลากของตัวผลิตภัณฑ์จะเป็นแค่ฉลากธรรมดาๆ ไม่ได้อีกต่อไป เพราะจะต้องบอกเรื่องราวและคุณค่าของตัวสินค้าได้ซึ่งเป็นการตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคใหม่ที่สนใจถึงที่มาที่ไปและข้อมูลเบื้องลึกของผลิตภัณฑ์ เช่น ฉลากของน้ำมันรำข้าวต้องสามารถบอกถึงที่มาได้ว่ามาจากนาข้าวผืนไหน ปลูกข้าวมาแล้วกี่ปี ปลูกโดยใคร รุ่นที่เท่าไหร่ ผืนดินนี้อุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุตัวไหน แล้วพอสกัดออกมาเป็นน้ำมันรำข้าวแล้วมีแร่ธาตุชนิดใด วิตามินตัวไหน นอกจากนี้การใช้เทคโนโลยีที่ผู้บริโภคสามารถสแกนตัวฉลากแล้วข้อมูลของตัวสินค้าแสดงออกมาในรูปแบบวิดีโอเริ่มมีให้เห็นมากขึ้น
 

ยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร 



ใช้ไอทีผ่อนแรงคน

     ปัจจุบันการใช้ไอทีถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างหนึ่งในการเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในการทำธุรกิจ ซึ่งบางครั้งไม่จำเป็นต้องลงทุนเยอะเสมอไป เช่น การใช้บาร์โค้ดเข้ามาช่วยในการเช็คสต็อกสินค้าที่โกดังแทนการคีย์ข้อมูล เพราะเพียงแค่ยิงเลเซอร์ลงบนบาร์โค้ดข้อมูลก็จะปรากฏบนคอมพิวเตอร์ เป็นการช่วยประหยัดเวลา
 

เลือกหุ่นยนต์เพิ่มความปลอดภัย

     Robot and innovation เป็นอีกสิ่งที่ผู้ประกอบการควรคำนึงถึง เช่น การใช้แขนยนต์ในพื้นที่ของกระบวนการผลิตที่มีความเสี่ยงหรือมีความร้อน เป็นเทรนด์ที่เอาเข้าไปเสริมในบางกระบวนการแทนที่การใช้แรงคน เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการสูญเสียและลดความเสี่ยงในการทำงาน





www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ

ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด ฉบับทายาทรุ่น 3 จาก 3 แบรนด์เก๋า หอยนางรม-น่ำเอี๊ยง-เด็กสมบูรณ์

ธุรกิจครอบครัวที่ผ่านรุ่น 3 ไปได้ต้องทำอย่างไร ? เราจะพาไปดูวิธี ‘ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด’ จาก 3 แบรนด์เก๋า: หอยนางรม - น่ำเอี๊ยง - เด็กสมบูรณ์" ​ ที่ไม่เพียงรักษามรดกครอบครัวไว้ แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ๆ อีกด้วย ​