​สิ่งต้องรู้…เมื่อไขมันทรานส์กลายเป็นของต้องห้าม! ในธุรกิจอาหาร





 
               
     หลังองค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศมาตรการ “REPLACE” เป็นแนวทางให้ประเทศต่างๆ นำไปปฏิบัติโดยตั้งเป้าปี 2023 หรืออีก 5 ปีข้างหน้าอุตสาหกรรมอาหารทั่วโลกจะปลอดจากกรดไขมันทรานส์ เนื่องจากมีหลักฐานชี้ชัดว่าน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (Partially Hydrogenated Oils) หรือที่เรียกกรดไขมันทรานส์นั้น เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ผลคือมีประเทศต่างๆ ราว 45 ชาติที่ขานรับ ซึ่งไทยก็เป็นหนึ่งในนั้น การประกาศของกระทรวงสาธารณสุขเรื่องห้ามผลิต จำหน่าย และนำเข้ากรดไขมันทรานส์ ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 180 วันนับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้สร้างแรงกระเพื่อมอย่างมาก โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอาหาร
               

     ความจริงการต่อต้านการใช้กรดไขมันทรานส์นั้นเกิดขึ้นมานานแล้ว และสวีเดนเป็นประเทศแรกในโลกที่ออกกฎหมายควบคุมปริมาณกรดไขมันทรานส์ในอาหาร จากนั้นหลายประเทศในยุโรปได้ดำเนินรอยตาม ขณะที่สหรัฐฯ เองเริ่มพิจารณาเรื่องนี้อย่างจริงจังในปี 2015 และให้เวลาบริษัทผู้ผลิตอาหารในการปรับตัว 3 ปีซึ่งปี 2018 นี้เป็นปีที่สหรัฐฯ ตั้งเป้าจะให้กรดไขมันทรานส์หมดไปจากวงจรการผลิตอาหาร ส่วนไทย การประกาศของกระทรวงสาธารณสุขย่อมกระทบต่อผู้ผลิตในวงการอาหารทุกระดับ แต่ที่ผ่านมาพบว่าหลายบริษัทเริ่มปรับตัวไปล่วงหน้าแล้ว เช่น การปรับสูตรขนมอบ หรือการเปลี่ยนแปลงวิธีการผลิตเนยขาว เพื่อให้กลายเป็นกรดไขมันทรานส์น้อยที่สุด เป็นต้น
               

     ตัวอย่างของอาหารบางชนิดที่จะไม่เหมือนเดิม เมื่อกรดไขมันทรานส์กลายเป็นของต้องห้าม เช่น

     
     โดนัท -หากไม่ใช้ไขมันทรานส์ โดนัทที่ได้อาจอมน้ำมัน และหืนเร็ว

     
     คุกกี้ เค้กและขนมอบอื่นๆ -การใช้ไขมันทรานส์มีผลต่อเนื้อสัมผัส (texture) และอายุของผลิตภัณฑ์  

     
     แครกเกอร์- ในการผลิตขนมขบเคี้ยวประเภทนี้อาจต้องเปลี่ยนไปใช้น้ำมันอื่น เช่น น้ำมันถั่วเหลืองหรือน้ำมันคาโนล่า

   
     ป๊อบคอร์น- รวมถึงป๊อปคอร์นกึ่งสำเร็จที่ใช้ไมโครเวฟ ผู้ผลิตอาจต้องเปลี่ยนจากเนยเทียม/มาการีนมาเป็นเนยสดแท้

     
      พิซซ่าแช่แข็งและอาหารแช่แข็งอื่นๆ - โดยมากมีส่วนผสมของไขมันทรานส์ เพื่อให้ shelf life หรืออายุการเก็บรักษายางนานขึ้น การใช้อย่างอื่นทดแทน อาจทำให้ผู้ผลิตต้องเพิ่มสารกันบูดเพื่อให้อาหารเก็บได้นานขึ้น


     ครีมเทียม –สามารถแทนด้วยน้ำมันถั่วเหลือง หรือทำให้เครื่องดื่มเข้มข้นขึ้นด้วยผงอัลมอนด์ ผงเม็ดมะม่วงหิมพานต์ป่นละเอียด
   

      
     
     อย่างไรก็ดี สำหรับผู้บริโภค แม้จะมีการห้ามใช้กรดไขมันทรานส์ แต่สิ่งที่ควรทราบก็คือ


     1. ไม่ว่าอย่างไร กรดไขมันทรานส์จะไม่หายไปจากอาหารแปรรูป ยากที่จะเรียกได้ว่าปลอดไขมันทรานส์อย่างหมดจดเพราะกรดไขมันทรานส์นี้ไม่เพียงมาจากการสังเคราะห์ หากยังสามารถเกิดขึ้นได้ธรรมชาติ โดยพบในเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์นม แม้จะมีปริมาณน้อยนิดก็ตาม


     2. การที่ฉลากระบุ “กรดไขมันทรานส์ 0%” ไม่ได้หมายความว่าอาหารนั้นๆ ไม่มีกรดไขมันทรานส์เลยสักนิด เพราะหลายประเทศมักออกกฎ เช่น หากอาหารนั้นมีไขมันทรานส์ไม่เกิน 2% หรือไม่เกินกี่กรัมของปริมาณที่กำหนดก็ถือว่าปลอดไขมันทรานส์ ดังนั้น การระบุบนฉลากว่า “ไม่มีไขมันทรานส์” จึงอาจเป็นกับดักที่ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดได้


     3. น้ำมันทางเลือกที่นำมาใช้แทนกรดไขมันทรานส์ แม้จะมาจากธรรมชาติ แต่ก็ก่อปัญหาได้เช่นกัน เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าวที่เป็นกรดไขมันอิ่มตัว หรือน้ำมันอื่นๆ อาทิ น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันคาโนล่าก็ทำให้อาหารหืนเร็ว ที่สำคัญน้ำมันก็คือน้ำมันหากบริโภคไม่บันยะบันยังก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพได้เช่นกัน


     4. การขจัดไขมันทรานส์จากอาหารไม่อาจการันตีถึงการมีสุขภาพดีตราบใดที่ผู้บริโภคยังใช้ชีวิตบนพื้นฐานของพฤติกรรมเสี่ยง เป็นต้นว่า กินแบบไม่สมดุล กินมากเกินไป ไม่ออกกำลังกาย ดื่มหนัก สูบหนัก เป็นต้น กรดไขมันทรานส์อาจเป็นปัจจัยหนึ่งเท่านั้น การส่งเสริมสุขภาพแข็งแรงจึงควรคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย  
               
 

ที่มา
http://healthland.time.com/2013/11/07/7-foods-that-wont-be-the-same-if-trans-fats-are-banned/
https://civileats.com/2015/06/19/4-things-you-should-know-about-fdas-ban-on-trans-fats/



www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ

ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด ฉบับทายาทรุ่น 3 จาก 3 แบรนด์เก๋า หอยนางรม-น่ำเอี๊ยง-เด็กสมบูรณ์

ธุรกิจครอบครัวที่ผ่านรุ่น 3 ไปได้ต้องทำอย่างไร ? เราจะพาไปดูวิธี ‘ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด’ จาก 3 แบรนด์เก๋า: หอยนางรม - น่ำเอี๊ยง - เด็กสมบูรณ์" ​ ที่ไม่เพียงรักษามรดกครอบครัวไว้ แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ๆ อีกด้วย ​