ปั้นแบรนด์สินค้าชุมชนให้เก๋ไก๋ ด้วยธรรมศาสตร์โมเดล






 
     ในแต่ละชุมชนของประเทศเรา เต็มไปด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น วัตถุดิบชั้นดี ชาวบ้านที่มีศักยภาพแต่สินค้าระดับชุมชนนั้นกลับขายไม่ได้ราคา บางคนขายสินค้าเดิมๆ เป็น 10 ปีก็ยังไปไหนไม่ได้สักที นั้นเป็นเพราะอุปสรรคหลายด้าน เช่น แพ็คเกจจิ้ง สินค้าไม่มีอย. ผู้คนยังเข้าไม่ถึงตัวสินค้า เป็นต้น ท้ายที่สุดสินค้าของชุมชนก็ไปได้ไกลแค่ร้านขายของฝากหรือขายกันเองในชุมชนเท่านั้น ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว สินค้าของชุมชนหากถูกพัฒนาให้ถูกทางจะ
สามารถกลายเป็นสินค้าระดับประเทศหรือระดับโลกได้เลยทีเดียว 

 
     "ธรรมศาสตร์โมเดล" เป็นโครงการธุรกิจเพื่อชุมชน อยู่ในหลักสูตรบริหารควบปริญญาตรี-โท ทางบัญชีและบริหารธุรกิจของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยธรรมศาสตร์โมเดลทำหน้าที่เป็นสะพานทอดระหว่างชุมชน นักศึกษารวมถึงเหล่า Corporate ที่จะช่วยเข้ามาพัฒนาเศรษฐกิจระดับชุมชนให้เติบโตไปข้างหน้าได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืนด้วยการให้นักศึกษาเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาสินค้าชุมชน ปั้นแบรนด์ ให้สามารถขายได้จริง โดยองค์กรต่างๆ จะเข้ามาสนับสนุนเรื่องของ Knowhow เป็นพาร์ทเนอร์ในการพัฒนาสินค้าชุมชน 



 
     รองศาสตราจารย์ ดร.พิภพ อุดร คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของธรรมศาสตร์โมเดลได้บอกว่าธรรมศาสตร์โมเดลเปรียบเสมือนพื้นที่ห้องเรียนของนักศึกษาที่จะสามารถสร้างประโยชน์ให้แก่สังคมและชุมชนได้จริง 

 
     “พื้นที่ของชุมชนเปรียบเสมือนห้องเรียนของนักศึกษา สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่แค่ผลลัพธ์แต่มันคือสำนึกที่ทุกคนมีร่วมกันในการสร้างประโยชน์ให้แก่สังคมและชุมชน ผลักดันให้ชุมชนก้าวไปข้างหน้า ผมตั้งความหวังว่าสถานศึกษาในประเทศไทย จะมีโมเดลแบบนี้เช่นกัน คือสถานศึกษาเลือกชุมชนให้นักศึกษาลงพื้นที่ จับมือกับ Corporate เข้ามาเป็นพาร์ทเนอร์ 3 ฝ่ายจับมือกันเราเรียกว่าธรรมศาสตร์โมเดล ช่วยกันคิดค้นพัฒนาอะไรใหม่ๆ ผมจะไม่พูดว่าธรรมศาสตร์โมเดลเป็นของธรรมศาสตร์ แต่ธรรมศาสตร์โมเดลเป็นของทุกคน ทุกคนสามารถช่วยกัน นำโมเดลของเราไปใช้ ไม่ต้องเอาชื่อเราไปก็ได้ ทำให้เกิดขึ้นกับทุกชุมชนในประเทศไทย ช่วยพัฒนาชุมชนให้ดีขึ้น”

 
     ลองมาดูตัวอย่างแบรนด์เก๋ๆ จากชุมชนที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นจากธรรมศาสตร์โมเดล กันดีกว่า 





1.Rice Me @วิสาหกิจชุมชนเกาะกก 

     จากข้าวไรซ์เบอร์รี่ได้ถูกแปรรูปกลายมาเป็น Snack Bar ในแบรนด์ Rice Me ที่นำข้าวไรซ์เบอร์รี่มาอัดเป็นแท่ง ปรุงรสอร่อย ใส่ธัญพืช ทำให้กินง่ายขึ้น รสชาติอร่อยถูกใจ ที่สำคัญยังดีต่อสุขภาพอีกด้วย เหมาะสำหรับกลุ่มลูกค้าที่ชอบอาหารสุขภาพ คนออกกำลังกายและคุมน้ำหนัก แท่งหนึ่งอิ่มอร่อยอยู่ที่ 220 แคลอรี่เท่านั้นเอง 

 


 
2.Horm Herb @วิสาหกิจชุมชนเกาะกก 

     Horm Herb อีกหนึ่งแบรนด์น่าสนใจที่แปลงโฉมจากลูกประคบสมุนไพรราคาไม่ถึงหนึ่งร้อยบาทให้กลายเป็นหมอนรองคอสมุนไพร ราคา 400 บาท ในรูปลักษณ์ที่ดูดี สามารถเพิ่มมูลค่าได้หลายเท่าตัวเลยทีเดียว ที่สำคัญยังใช้งานง่าย หอมสมุนไพรเต็มๆ 




 
3.Cassy Chips @ศพก.บ้านฉาง 

     มันสำปะหลังปกติราคาขายอยู่ที่  1-2 บาทต่อกิโลกรัม แต่ Cassy Chips สามารถเพิ่มมูลค่าให้มันสำปะหลังได้ที่ 10 บาท/ 1 กิโลกรัม ช่วยชาวบ้านในชุมชนที่ปลูกมันสำปะหลังให้มีชีวิตที่ดีขึ้น โดยมันสำปะหลังที่นำมาใช้ในการทำ Cassy Chips คือมัน 5 นาทีซึ่งเป็นพันธุ์ที่ชาวบ้านปลูกกัน หลังจากที่นำมัน 5 นาทีมาสไลด์และทอดเสร็จแล้วก็ปรุงรสด้วยน้ำพริกเผาหรือสมุนไพร นำใส่แพ็คเกจจิ้งที่ดูดี มีคุณภาพ ขายได้ในราคาซองละ 35 บาท สร้างมูลค่าเพิ่มได้ถึง 11 เท่าเลยทีเดียว 



4.Chalud @ชุมชนมาบชลูด 

     แบรนด์ Chalud ช่วย Makeover จากกระเป๋าผ้าธรรมดาของชุมชนมาบชะลูดให้กลายเป็นกระเป๋าเก๋ไก๋มีดีไซน์ สามารถขายได้ถึงใบละ 200 – 300 บาท จากที่เคยขายได้แค่ใบละ 100 บาทเท่านั้น ซึ่ง Chalud นั้นเปลี่ยนทั้งลวดลายของผ้าให้ดูทันสมัย มีรูปแบบที่หลากหลายและเข้ากับไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่มากยิ่งขึ้น 




 
5.รสชะมวง @ชุมชนตำบลเนินพระ 

     จากใบชะมวงที่หลายคนรู้จักการนำมาทำแกงหมูชะมวง ก็ได้ถูกแปรรูปอย่างสร้างสรรค์ให้กลายเป็นเครื่องดื่มสมุนไพรใบชะมวง โดยความยากคือการทำให้น้ำชะมวงมีรสชาติที่คงที่เหมือนกันทุกขวดรวมถึงการยืดอายุให้ยาวนานขึ้น จนสุดท้ายก็ได้ออกมาเป็นน้ำชะมวงรสชาติอร่อย ดื่มแล้วชื่นใจ ดีต่อสุขภาพอีกด้วย  
 
 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ

ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด ฉบับทายาทรุ่น 3 จาก 3 แบรนด์เก๋า หอยนางรม-น่ำเอี๊ยง-เด็กสมบูรณ์

ธุรกิจครอบครัวที่ผ่านรุ่น 3 ไปได้ต้องทำอย่างไร ? เราจะพาไปดูวิธี ‘ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด’ จาก 3 แบรนด์เก๋า: หอยนางรม - น่ำเอี๊ยง - เด็กสมบูรณ์" ​ ที่ไม่เพียงรักษามรดกครอบครัวไว้ แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ๆ อีกด้วย ​