​วิกฤต Lay off พนักงาน สะท้อน 3 บทเรียนที่ธุรกิจต้องรับมือ!






 
     ในรอบปีที่ผ่านมาหลายคนคงได้ยินข่าวองค์กรใหญ่ๆ หลายแห่งเริ่มปรับโครงสร้างด้วยการลดพนักงาน เป็นการสะท้อนภาพให้เห็นชัดเจนว่า วันนี้โลกของธุรกิจไม่ได้ง่ายอีกต่อไป ท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะองค์กรขนาดใหญ่ยักษ์ หรือแม้แต่ SME เล็กๆ ไม่มีสิ่งไหนการันตีได้เลยว่า คุณจะอยู่รอดและประสบความสำเร็จไปตลอด ถ้าธุรกิจของคุณไม่รู้จักที่จะปรับตัว และจากกรณีการ Lay off พนักงานที่เกิดขึ้น รู้ไหมว่า เหตุการณ์เหล่านี้กำลังบอกอะไรคุณบ้าง?
 

1.ถ้าธุรกิจไม่ Disrupt ตัวเองก็ต้องรอวันล่มสลาย
     

     ธุรกิจขนาดใหญ่ขยับตัวทีก็ยากลำบาก แต่หากไม่ทำอะไรในยุคที่ทุกอย่างต้องเปลี่ยนแปลงก็อาจทำให้คุณพบเจอกับสิ่งที่โหดร้ายที่สุดนั่นคือการล้มละลายของบริษัท ทุกวันนี้การทำธุรกิจจะต้องเจอกับปัญหามากมาย ทั้งคู่แข่งที่เกิดใหม่ทุกวัน การเข้ามาของเทคโนโลยี พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป เรื่องของเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวย
หากคุณยังทำธุรกิจแบบเดิมๆ ก็อาจจะทำให้ก้าวตามโลกไม่ทัน ยอดขายไม่ขึ้น กำไรลดหดหาย ท้ายที่สุดก็ขาดทุนแถมยังต้องแบกรับค่าใช้จ่ายมหาศาล การลดต้นทุนรวมถึงปรับกลยุทธ์ในการทำธุรกิจให้เข้ากับยุคสมัย จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ส่วน SME ขนาดเล็กนับว่ามีความได้เปรียบในเรื่องของการขยับตัวมากกว่า เปลี่ยนแปลงอะไรง่ายกว่า แบกรับต้นทุนพนักงานไม่เยอะเท่าองค์กรใหญ่ จึงอาจจะไม่จำเป็นต้องลดคน แต่มองหาวิธีการลดต้นทุนในด้านอื่นๆ ก็จะช่วยให้ฝ่าวิกฤตไปได้โดยที่ไม่ต้องเสียพนักงานไป
 




2.เทคโนโลยีกำลังเข้ามาแทนแรงงานคนมากขึ้น

     ด้วยความที่เทคโนโลยีมีความทันสมัยมากขึ้น การใช้ AI หรือ Business Solution ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับหลายๆ องค์กรในการลดต้นทุนได้แบบระยะยาว ทำให้องค์กรเหล่านี้หันมาลงทุนกับเทคโนโลยีมากขึ้นและลดการใช้แรงงานคนลง จึงไม่ต้องแปลกใจเลยว่าทำไมองค์กรหลายแห่งจึงมีการปรับลดพนักงานลง โดยเฉพาะตำแหน่งงานที่สามารถใช้เทคโนโลยีแทนที่ได้ ด้วยเหตุนี้ พนักงานจำเป็นต้องพัฒนาตัวเองมากยิ่งขึ้น เพราะไม่อย่างนั้นเทคโนโลยีก็จะเข้ามาแทนที่ ลองมองหาสกิลที่มีความเฉพาะด้าน เช่น สกิลด้านการเจรจาต่อรอง สกิลด้านการขาย เรื่องของความคิดสร้างสรรค์ หากพนักงานเพิ่มสกิลเหล่านี้ให้กับตัวเอง ก็ไม่ต้องกลัวว่าจะถูกปลดออกจากงาน  
 

3.บางทีการเปลี่ยนแปลงอาจไม่ใช่เรื่องเลวร้ายเสมอไป
     

     การเปลี่ยนแปลงคือโอกาสหากคุณมองให้มันเป็นด้านบวก หลายองค์กรพอมีข่าวว่าต้องปลดคนออก พนักงานต่างก็ขวัญเสีย ความจริงแล้วการปลดคนออกขององค์กรหรือการปรับโครงการเป็นเหมือนการหยุดให้ตัวเองได้ตั้งหลักก่อนที่จะเริ่มต้นสู้ต่อ เช่น IKEA ที่มีการลดคน 7,500 ตำแหน่งแต่ก็มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นในส่วนที่เป็นงานสาย Digital เพื่อมุ่งเน้นการทำออนไลน์ให้มากขึ้น เนื่องจากวิกฤตของ Retail นั้นหนักหน่วงเกินกว่าที่จะสู้ไหว หรือแม้แต่บริษัทที่มีหลายสาขาตัดสินใจปรับลดสาขาลงหรือปิดสาขาที่ไม่ทำกำไร ก็เพื่อทำให้ธุรกิจอยู่ได้ เพราะเขารู้ดีว่าอะไรคือจุดอ่อนที่ต้องรีบตัด หากปล่อยไว้แบบนั้น อาจทำให้ธุรกิจทั้งหมดต้องล้มไปพร้อมกัน เมื่อถึงเวลาต้องเปลี่ยน การตัดสินใจคือเรื่องยาก แต่ถ้ามองไปที่อนาคตแล้วรีบทำในสิ่งที่จำเป็น บางครั้งการเปลี่ยนแปลงอาจเป็นจุดเริ่มต้นที่ยิ่งใหญ่



www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ

ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด ฉบับทายาทรุ่น 3 จาก 3 แบรนด์เก๋า หอยนางรม-น่ำเอี๊ยง-เด็กสมบูรณ์

ธุรกิจครอบครัวที่ผ่านรุ่น 3 ไปได้ต้องทำอย่างไร ? เราจะพาไปดูวิธี ‘ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด’ จาก 3 แบรนด์เก๋า: หอยนางรม - น่ำเอี๊ยง - เด็กสมบูรณ์" ​ ที่ไม่เพียงรักษามรดกครอบครัวไว้ แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ๆ อีกด้วย ​