ถอดรหัสค้าปลีกภูธร ต้องสตรอง! เบอร์ไหน ยักษ์ใหญ่ถึงโค่นไม่ล้ม

Text : กองบรรณาธิการ
Photo : สรรค์ภพ จิรวรรณธร
 




Main Idea

 
  • มวยวัดอย่างค้าปลีกภูธร ที่ดูเป็นรองค้าปลีกขนาดใหญ่แทบทุกประตู แต่ในสังเวียนต่างถิ่น มีค้าปลีกขนาดใหญ่ลงไปแข่งถึงที่ แต่กลับไม่สามารถโค่นเจ้าถิ่นลงได้ แถมหลายรายยังอยู่แบบสตรอง สร้างรายได้หลายพันล้านบาทต่อปี 
 




 
     นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 เป็นต้นมา ค้าปลีกภูธรเริ่มฟื้นตัว หลายรายเติบโตขยายกิจการมากขึ้น อย่างเช่น ซีเจ เอ็กซ์เพรส ที่วันนี้มีถึงประมาณ 300 สาขา ซุปเปอร์ชีป จากภูเก็ตก็ขยายไปแถวกระบี่ พังงา รวมเป็นกว่า 60 สาขา แม้แต่ธนพิริยะ จากเชียงราย ไม่เพียงขยายสาขาไปลำพูน ลำปาง ปัจจุบันเข้าเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อย





     ดร.ฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์ ผู้อำนวยการบริหารสมาคมผู้ค้าปลีกไทย นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญเรื่องค้าปลีก ฉายภาพ อุตสาหกรรมค้าปลีกในไทยแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ค้าปลีกแถวแรก หรือกลุ่มค้าปลีกสมัยใหม่ ที่มีส่วนแบ่งตลาด 30 เปอร์เซ็นต์ แถว 2 คือ ค้าปลีกภูธร มีส่วนแบ่งประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ และแถว 3 คือ ร้านโชห่วยเล็กๆ มีส่วนแบ่งประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์


     “กลุ่มค้าปลีกภูธร มีผู้เล่นอยู่ประมาณ 400-500 ราย กินส่วนแบ่งตลาดอยู่ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ พวกนี้มีการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ ในอีก 5-10 ข้างหน้าค้าปลีกเมืองไทยจะโตด้วยแถว 2 ในขณะที่ทิศทางต่อไปของแถว 1 คือ การโตออกไปต่างประเทศ ซึ่งวันนี้ก็เริ่มเห็นหลายรายที่ขยายไปต่างประเทศแล้ว”
 

ความยืดหยุ่น กลุ่มทายาท อาวุธลับของค้าปลีก


     ความน่าสนใจของค้าปลีกภูธรวันนี้ไม่เพียงยังอยู่ได้อย่างสตรอง แต่หลายรายสร้างรายได้ต่อปีหลายพันล้านบาท แม้ที่ผ่านมาจะมีค้าปลีกขนาดใหญ่ลงไปแข่งขันในพื้นที่แต่ก็ไม่สามารถโค่นเจ้าถิ่นอย่างพวกเขาลงได้


     “ผมเคยไปคุยกับผู้ประกอบการค้าปลีกรายหนึ่งในกระบี่ เขาบอกเลยว่าไม่กลัว เทสโก้ บิ๊กซี หรือห้างใหญ่ๆ ที่ลงไปแข่ง แต่กลัวซุปปอร์ชีป ค้าปลีกภูธรด้วยกันมากกว่า เพราะรู้สึกว่าเชนค้าปลีกสมัยใหม่จะมีรูปแบบในการเล่น จึงพอรู้ว่าจะรับมืออย่างไร แต่กับกลุ่มแถว 2 บางทีก็เป็นมวยวัด กะเกณฑ์อะไรไม่ได้ว่าจะมารูปแบบไหน แบบนี้น่ากลัวมากกว่า





     จุดแข็งข้อหนึ่งที่ทำให้ค้าปลีกภูธรสามารถปรับตัวได้อย่างแข็งแกร่งในช่วงที่ผ่านมา คือ การมีทายาทรุ่น 2 เข้ามารับช่วงต่อธุรกิจมากขึ้น ซึ่งทายาทรุ่น 2 เหล่านี้ล้วนไม่ธรรมดา หลายคนจบการศึกษาจากเมืองนอก ส่วนในแง่การเปลี่ยนแปลงธุรกิจของแถว 2 สามารถทำได้รวดเร็ว ขณะที่กลุ่มแถว 1 มีรูปแบบบริหารจัดการที่ไม่ค่อยยืดหยุ่น ส่วนใหญ่นโยบายจะกำหนดมาจากส่วนกลาง ฉะนั้นพอไปแข่งขันในต่างจังหวัดก็ไม่สามารถสู้กับคนที่อยู่ในท้องถิ่น ที่ยืดหยุ่นกว่าและรู้สนามมากกว่าได้


     “อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้การปรับตัวของค้าปลีกภูธรได้เปรียบคือ มันเหมือนลมพัดจากกรุงเทพฯ กว่าจะไปถึงพวกเขาก็ใช้เวลาประมาณ 3-5 ปี ดังนั้น เขาจะเห็นภาพอนาคตจากในกรุงเทพฯ ก่อนว่าเปลี่ยนไปอย่างไร นี่คือความโชคดีทำให้เขาปรับตัวได้ทันความเปลี่ยนแปลง”
 




สร้างคน เน้นทำงานแบบเครือข่าย


     อย่างไรก็ตาม ดร.ฉัตรชัย บอกว่า หัวใจของการทำธุรกิจค้าปลีกวันนี้จึงไม่ได้อยู่ที่แค่เงินทุน แต่อยู่ที่โนว์ฮาว (Know-How) และแพสชั่น (Passion) ที่อยากจะเติบโต และการปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี


     “สิ่งที่เทคโนโลยียังทำไม่ได้คือ กิจกรรมข้างใน และการบริการ เหล่านี้ยังต้องใช้คนอยู่ ฉะนั้นต้องพัฒนาคนเพื่อมาใช้เทคโนโลยีให้เป็น ต่อไปไม่ควรทำธุรกิจตัวคนเดียว แต่ควรทำแบบเครือข่าย (Network) เพราะว่า SME คงไม่สามารถไปลงทุนทำพวก Big Data ได้เอง ฉะนั้นเราต้องไปขอเชื่อมกับคนอื่น ส่วนการบริหารจัดการในองค์กรก็ต้องทำงานเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายไม่ใช่รูปแบบการสั่งการเหมือนในอดีต วันนี้พฤติกรรมลูกค้าเปลี่ยน แต่ผมว่ายังไม่น่าตกใจเท่าพฤติกรรมเราไม่เปลี่ยน เพราะถ้าเรายังคิดแบบเดิม ไปไม่รอดแน่ ฉะนั้น SME ต้องปรับวิธีคิดจากตัวเองก่อน”
 

 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี   
           

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ

ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด ฉบับทายาทรุ่น 3 จาก 3 แบรนด์เก๋า หอยนางรม-น่ำเอี๊ยง-เด็กสมบูรณ์

ธุรกิจครอบครัวที่ผ่านรุ่น 3 ไปได้ต้องทำอย่างไร ? เราจะพาไปดูวิธี ‘ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด’ จาก 3 แบรนด์เก๋า: หอยนางรม - น่ำเอี๊ยง - เด็กสมบูรณ์" ​ ที่ไม่เพียงรักษามรดกครอบครัวไว้ แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ๆ อีกด้วย ​