Pet Lover มีเฮ! Tamago Mouzze คลอดขนมสำหรับสัตว์ป่วยรุกตลาดสัตว์เลี้ยงแสนรัก

Text: Neung Cch.





Main Idea
 
  • เมื่อสัตว์เลี้ยงจะถูกยกระดับให้กลายเป็นลูกรัก ถูกฟูมฟักเลี้ยงดูอย่างดีกระทั่งเกิดสินค้าบริการมากมาย แม้ยามเจ็บป่วยก็มีโรงพยาบาลหรือคลินิกคอยให้การรักษาไม่ต่างจากมนุษย์
 
  • แม้จะดูเหมือนมีครบทุกอย่าง แต่สำหรับหมาหรือแมวที่ป่วยและเริ่มเบื่ออาหาร กลับหาของทานเล่นที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายลำบาก กลายเป็นช่องว่างให้เกิดผลิตภัณฑ์ขนมสำหรับสัตว์ป่วย ใครจะคิดว่าเพียงหนึ่งปีสามารถทำยอดขายแตะหลักล้านบาทได้!




     ตอกย้ำเทรนด์สุขภาพไม่ได้มีแต่ในมนุษย์เราเท่านั้น เมื่อสัตว์เลี้ยงต่างได้รับการเลี้ยงดูอย่างทะนุถนอมทำให้ธุรกิจสัตว์เลี้ยงในไทยเติบโตต่อเนื่องเฉลี่ยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ทุกปี มีมูลค่าประมาณ 32,230 ล้านบาท ทั้งในกลุ่มอาหารสัตว์ 14,600 ล้านบาท สถานพยาบาลสัตว์เลี้ยง 10,200 ล้านบาท และผลิตภัณฑ์สำหรับสัตว์เลี้ยง 7,430 ล้านบาท โดยสุนัขถือเป็นสัตว์เลี้ยงยอดนิยมสูงถึง 61 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาเป็นแมว 24 เปอร์เซ็นต์ นอกนั้นเป็นสัตว์เลี้ยงอื่นๆ 15 เปอร์เซ็นต์





     ด้วยเทคโนโลยีบวกกับความผูกพันที่เจ้าของสัตว์เลี้ยงต่างดูแลสัตว์เลี้ยงอย่างดี ทั้งอาหารเสริม ค่ารักษาพยาบาล ฯลฯ ส่งผลให้วงจรชีวิตพวกมันอายุยืนยาวขึ้น แต่เมื่อสัตว์เลี้ยงมีอายุมากขึ้นร่างกายอวัยวะต่างๆ ก็เริ่มเสื่อมตามสภาพ ทั้งหัวใจ ไต กลายเป็นสาเหตุที่สุนัขและแมวเริ่มป่วยก็เริ่มมีอาการเบื่ออาหาร ซึ่งนอกจากการักษาแล้วหากทำให้สุนัขหรือแมวสามารถทานอาหารได้ก็จะช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วขึ้น


     “จากการที่เราเป็นสัตวแพทย์มาประมาณ 10 ปี เห็นว่าในตลาดยังไม่มีขนมสำหรับสัตว์ที่ป่วยเลย  จึงอยากพัฒนาผลิตภัณฑ์มีประโยชน์ต่อสัตว์เลี้ยง โดยนำไข่ขาวที่มีการใช้รักษาโรคอยู่แล้วเพราะมีคุณค่าทางโภชนาการมาเป็นวัตถุดิบหลัก ผสมกับวัตถุดิบธรรมชาติตัวอื่นๆ อาทิ มันเทศ ปราศจาก Gluten ไม่มีโซเดียมและฟอสฟอรัสต่ำ เหมาะกับสัตว์เลี้ยงระยะพักฟื้น ที่ต้องการแหล่งโปรตีนคุณภาพสูง ย่อยง่าย อีกทั้งขนมไข่ขาวมูซทามาโกะ เพิ่มความสะดวกด้วยด้วยการบีบจากซองแล้วกินได้ทันที” สัตว์แพทย์ วาณีนุช เกษโกวิท ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ไข่กำลังดี จำกัด กล่าวถึงการสร้างผลิตภัณฑ์ขนมสำหรับสัตว์ป่วย แบรนด์ Tamago Mouzze เข้ามารุกตลาดสัตว์เลี้ยง





     แต่กว่าจะเปลี่ยนไข่ขาวให้เป็นขนมที่มีรสชาติสุนัขรับประทานได้นั้นต้องผ่านกระบวนการค้นคว้าวิจัยไม่ต่ำกว่าสองปี โดยอาศัยความร่วมมือกับเพื่อนร่วมอาชีพให้ช่วยเก็บข้อมูลในเรื่องหลักๆ คือ รสชาติ และทานแล้วต้องไม่มีผลกระทบกับการรักษาโรค


     “ช่วงแรกๆ เราก็ลองทำเองก่อนเอาไข่ไปต้ม หมา แมว กินไม่ได้อ้วก เวลาอึออกมาก็เป็นเม็ด พอดีแฟนให้คำแนะนำว่าลองเปลี่ยนรูปแบบทำเป็นของเหลวเพื่อให้ทานง่ายก็ดีขึ้น จากนั้นก็ให้เพื่อนๆ ที่เป็นสัตว์แพทย์ช่วยลองใช้ จากข้อมูลที่เก็บมาตลอดสองปีมันทำให้ สัตว์เลี้ยงมีชีวิตชีวามากขึ้น เมื่อได้ผลการทดลองเป็นที่พอใจ จากนั้นก็ค่อยๆ พัฒนาบรรจุภัณฑ์ การจดทะเบียน การผลิตที่ได้มาตรฐานของกรมปศุสัตว์”





     ส่วนวิธีการทำตลาด วาณีนุช ได้อาศัยคอนเน็กชั่นในวงการทั้งคลินิก โรงพยาบาลสัตว์ เพื่อเป็นจุดกระจายสินค้า เพียงระยะเวลาปีกว่าๆ ก็สามารถทำยอดขายได้ 3 ล้านบาท


     “ธุรกิจโตช้ากว่าที่คิดไว้ในเรื่องของรายได้ เพราะมันก็มีความยากเหมือนกัน เพราะผู้บริโภคยังไม่รู้จักสินค้าต้องพยายามสื่อสารให้คนเข้าใจผ่านสื่อโชเชียล รวมทั้งการให้ข้อมูลสัตวแพทย์เพื่อให้เขาสื่อสารแทนเรา เหมือนให้เขาเป็น เป็นกระบอกเสียงเป็นเซลส์ให้เรา ซึ่งตรงนี้ถือว่าได้ผลสร้างการรับรู้และสร้างความเชื่อถือได้อย่างดี หลังจากนี้บริษัทก็จะทำตลาดต่างประเทศมากขึ้น”
                 

     จากจุดสังเกตเล็กๆ กับสิ่งรอบตัวที่คุ้นเคย กลายเป็นคำถามเกิดเป็นไอเดียที่นำความเชี่ยวชาญในสิ่งที่ตนถนัดได้ธุรกิจที่มีตลาดรองรับแบบ Tamago Mouzze
                 
 
 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

เกือบหลับ แต่กลับมาเป็นธุรกิจร้อยล้าน Plantae - La Glace 2 แบรนด์รุ่นใหม่ใจถึงทำถึง

Plantae และ La Glace สองแบรนด์รุ่นใหม่คือ ตัวอย่างของผู้ที่ไม่ยอมแพ้ ทั้งคู่ต่ายเคยตกอยู่ในวิกฤต แต่ด้วยแพชชันและการปรับตัวที่รวดเร็ว พวกเขากลับมาสร้างรายได้ระดับร้อยล้านได้สำเร็จ

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ