‘Mi Everything’ เจาะแนวคิดสร้างธุรกิจ ‘ทำทุกสิ่ง’ แบบ Xiaomi

Text : Yuwadi.s
 




Main Idea
 
  • เพียงแค่ระยะเวลาไม่กี่ปี ชื่อของ Xiaomi ก็กลายเป็นแบรนด์สมาร์ทโฟนที่ทำยอดขายติด Top 5 ของโลก เทียบเท่าแบรนด์ยักษ์ใหญ่อย่าง Apple และ Samsung
 
  • Xiaomi คือแบรนด์จีนที่กำลังมาแรงแซงทางโค้ง อีกทั้งยังไม่หยุดอยู่แค่การทำสมาร์ทโฟนเท่านั้นแต่ยังมองหาโอกาสใหม่ๆ ในตลาดไลฟ์สไตล์จนตอนนี้ Xiaomi มีสินค้ามากมายตั้งแต่สากกะเบือยันเรือรบเลยทีเดียว




 
                ‘อยากขายทุกสิ่งตั้งแต่สากกะเบือยันเรือรบ’


     นี่คือธงในใจของแบรนด์แดนมังกรยักษ์ใหญ่อย่าง Xiaomi ที่เริ่มต้นโด่งดังมาจากสมาร์ทโฟน Mi One ในช่วงปี 2554  ซึ่งเป็นสมาร์ทโฟนราคาไม่แพงแต่ฟังก์ชั่นจัดเต็ม เพียงไม่กี่ปีก็ขยับขึ้นมาเป็นแบรนด์สมาร์ทโฟนที่มียอดขายอยู่ในอันดับที่ 4 ของโลก หลังจากนั้น Xiaomi ก็พัฒนาเทคโนโลยีออกมาไม่หยุดหย่อน แถมช่วงหลังเรายังได้เห็นผลิตภัณฑ์ที่เรียกเสียงว้าวจากแบรนด์นี้ได้มากทีเดียว




     ลองมาเจาะลึกแนวคิดและทำความรู้จัก Xiaomi ที่กำลังจะกลายเป็น Apple แห่งเอเชียไปด้วยกัน


     ผู้ก่อตั้ง Xiaomi คือ Lei Jun เป็นหนึ่งในนักธุรกิจที่ร่ำรวยที่สุดในประเทศจีน เขาจบสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์จาก Wuhan University และใฝ่ฝันว่าวันหนึ่งจะกลายเป็น Steve Jobs ให้ได้ เขาได้เริ่มทำงานที่ Kingsoft ในตำแหน่งวิศวกร หลังจากนั้นยังเคยก่อตั้งเว็บไซต์ขายหนังสือออนไลน์และขายกิจการไปในมูลค่า 75 ล้านเหรียญสหรัฐ จนปี 2553 เขาได้ก่อตั้ง Xiaomi ร่วมกับพาร์ทเนอร์อีก 7 คน ซึ่งแต่ละคนบอกเลยว่าไม่ธรรมดา เรียกว่าเป็นระดับหัวกระทิและเก่งกาจในหลายด้าน จนในที่สุดทีมที่แข็งแกร่งนี้ก็ได้ถือกำเนิดขึ้น ซึ่งเรื่องของ “บุคลากร” ก็คือหนึ่งในจุดแข็งของ Xiaomi จนถึงทุกวันนี้
 
  • เริ่มต้นจากสมาร์ทโฟนสู่สมาร์ทไลฟ์สไตล์
แน่นอนว่า Xiaomi เริ่มต้นโด่งดังจากสมาร์ทโฟน แต่พวกเขายังไม่หยุดธุรกิจเอาไว้เท่านั้น เพราะพวกเขาต้องการที่จะสร้าง Mi Ecosystem เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง และสิ่งที่พวกเขามองเห็นคือโอกาสจากกลุ่มสินค้าไลฟ์สไตล์ โดยเลือกที่จะจับมือกับพาร์ทเนอร์ที่หลากหลายเพื่อสร้างสินค้าต่างๆ ขึ้นบนโลก ด้วยการทำงานบนแนวคิดที่ว่า




     ‘คนเราไม่จำเป็นต้องเก่งทุกด้าน แต่ต้องเลือกคนทำงานด้วยให้ถูกต้อง’



     สำหรับสินค้าที่น่าสนใจของแบรนด์ Xiaomi มีมากมาย ตั้งแต่อุปกรณ์สุขภาพแบบ Smart Wearable อย่าง Mi Band ที่ขายในราคาย่อมเยา โดยรุ่นล่าสุดที่เปิดตัวไปคือ Mi Band 4 ที่ทำยอดขายสูงถึง 1 ล้านเครื่องเพียงแค่ 8 วันเท่านั้น นอกจากนี้ยังมี หูฟัง เครื่องชั่งน้ำหนัก สมาร์ททีวี ไปจนถึงพวกปลั๊กไฟ หม้อหุงข้าว ของใช้ในบ้าน สมาร์ทเฟอร์นิเจอร์ หุ่นยนต์หรือแม้แต่ไขควง กระทั่งสกูตเตอร์ไฟฟ้าก็ยังมี พลังที่อยู่เบื้องหลังข Mi Ecosystem คือความร่วมมือระหว่าง Xiaomi และอีกหลายบริษัทในจีนที่ช่วยกันสร้างสินค้าที่หลากหลายและครอบคลุม อีกทั้งยังคุ้มค่า ราคาไม่แพง จนทำให้ผู้บริโภคหันมาเลือกใช้สินค้าจาก Xiaomi มากขึ้นในวันนี้
 

  • เข้าถึงผู้บริโภคอย่างถูกกลุ่ม  
     แต่ไม่ใช่ว่า Xiaomi จะได้รับการยอมรับจากทั่วโลกอย่างล้นหลาม เพราะในบางประเทศยังมองว่า Xiaomi คือตัวก๊อบปี้สไตล์จาก Apple เท่านั้น อย่างในสหรัฐอเมริกาเองที่ไม่ได้เปิดรับแบรนด์จาก Xiaomi เท่าไหร่นัก ฉะนั้น การขยายธุรกิจไปยังตลาดต่างประเทศ พวกเขาจึงเริ่มต้นขยายไปยังกลุ่มประเทศที่มีพฤติกรรมใกล้เคียงกับประเทศจีน อาทิ อินเดีย อินโดนีเซีย ที่สำคัญ Xiaomi กำลังเข้าไปครองพื้นที่ออนไลน์ในอินเดียโดยเป็น Vendor ที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 2 อีกทั้งยังคืบคลานเข้าสู่ตลาดเอเชียมากขึ้นด้วย


     พวกเขาเน้นการจับกลุ่มลูกค้าออฟไลน์ผ่านร้านสินค้าไลฟ์สไตล์ที่มีชื่อว่า Mi Home ซึ่งตอนนี้มีอยู่ประมาณ 130 สาขาในจีนและกำลังจะขยายสาขาในจีนเพิ่มขึ้นประมาณ 1,000 แห่งภายใน 3 ปี โดยวางแผนจะพา Mi Home ไปยังตลาดต่างประเทศ ซึ่งจะพุ่งเป้าไปที่อินเดียก่อนประมาณ 100 สาขาภายใน 3 ปี อีกด้วย
 



สรุปแนวคิดสู่ความสำเร็จแบบ Xiaomi
  • มีทีมงานที่แข็งแกร่ง ตั้งแต่อดีตขุนพลแห่ง Google อดีตหัวหน้าทีมแห่ง Motorola อดีตคณบดีจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีปักกิ่ง และอื่นๆ อีกมากมาย 
  • ไม่จำเป็นต้องเก่งทุกด้านแต่ต้องรู้ว่าควรจับมือกับใคร
  • รู้ว่าผู้บริโภคของตัวเองอยู่ที่ไหนและควรจะเจาะกลุ่มพวกเขาอย่างไร
  • ผลิตของดีในราคาย่อมเยาเพื่อให้คนจำนวนมากเข้าถึงได้
  • มีสินค้าที่หลากหลายตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ของผู้คน
 

               
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี


 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ

ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด ฉบับทายาทรุ่น 3 จาก 3 แบรนด์เก๋า หอยนางรม-น่ำเอี๊ยง-เด็กสมบูรณ์

ธุรกิจครอบครัวที่ผ่านรุ่น 3 ไปได้ต้องทำอย่างไร ? เราจะพาไปดูวิธี ‘ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด’ จาก 3 แบรนด์เก๋า: หอยนางรม - น่ำเอี๊ยง - เด็กสมบูรณ์" ​ ที่ไม่เพียงรักษามรดกครอบครัวไว้ แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ๆ อีกด้วย ​