ไม่อยากตกยุคต้องทำสิ่งนี้! 4 ความอัจฉริยะแบบญี่ปุ่นที่จะยกระดับ SME ไทยให้ก้าวนำโลก




Main Idea

 
 
  • ในช่วงเวลาที่อุตสาหกรรมกำลังมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาแทบจะตลอดเวลา สิ่งหนึ่งที่ถูกพูดถึงอย่างมากก็คือ การนำ “ระบบอัจฉริยะ” (Smart) เข้ามาเป็นฟันเฟืองหลักในการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้ก้าวไปสู่ Smart Industry หรือ โรงงานอัจฉริยะ
 
  • หนึ่งในประเทศต้นแบบที่ดีคือ ญี่ปุ่น ซึ่งจะเห็นได้จากการนำระบบ IoT  หุ่นยนต์ เทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัย และระบบการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ มาใช้ในการดำเนินงานหลายๆ ประเภท มาทำความรู้จัก 4 ความอัจฉริยะแบบญี่ปุ่นที่จะยกระดับ SME ไทยให้ก้าวนำโลกกัน




     การเปลี่ยนแปลงของโลกกำลังส่งมอบความท้าทายให้กับธุรกิจไทยในวันนี้ ซึ่งในช่วงเวลาที่อุตสาหกรรมกำลังมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาแทบจะตลอดเวลา สิ่งหนึ่งที่ถูกพูดถึงอย่างมากก็คือ การนำ “ระบบอัจฉริยะ” (Smart) เข้ามาเป็นฟันเฟืองหลักในการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้ก้าวไปสู่ Smart Industry หรือ โรงงานอัจฉริยะ ไม่ว่าจะเป็นระบบการผลิตที่มีความทันสมัย การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เอื้อต่อการทำงานให้สะดวก ง่าย และมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งในเรื่องของการประหยัดพลังงานและการใส่ใจสิ่งแวดล้อม โดยระบบสมาร์ทเหล่านี้นับเป็นสิ่งที่หลายๆ สถานประกอบการควรหันมาใช้และให้ความสำคัญ เนื่องจากเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยสร้างทั้งภาพลักษณ์ การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ และเพื่อให้รับมือได้ทันกับบริบทโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง


     หนึ่งในประเทศต้นแบบที่ดีคือ ญี่ปุ่น ซึ่งจะเห็นได้จากการนำระบบ IoT (Internet of Things) หุ่นยนต์ เทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัย และระบบการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ มาใช้ในการดำเนินงานหลายๆ ประเภท โดยระบบสมาร์ทต่างๆ ของญี่ปุ่นยังถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายในภาคอุตสาหกรรมของหลายๆ ประเทศ รวมถึงนิคมอุตสาหกรรมและโรงงานอุตสาหกรรมในไทยด้วย ทั้งนี้จากความใส่ใจในกระบวนการดังกล่าว จึงทำให้วันนี้ประเทศญี่ปุ่นยังคงไว้ซึ่งสถานะความเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมระดับแถวหน้าของโลกไว้ได้อย่างไร้ข้อกังขา                         
                                                                                                                                                    



                                                                                                                  
     ทาดาชิ โยชิดะ ประธานสมาคมบริหารจัดการประเทศญี่ปุ่น หรือ JMA กล่าวว่า Smart Industry จะไม่ใช่แนวคิดในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมอีกต่อไป หากแต่จะเป็นพัฒนาการและการปฏิวัติรูปแบบโรงงานแบบใหม่ ที่หลายๆระบบจะต้องมีความเป็นอัจฉริยะ มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่ชาญฉลาด และมีเครื่องจักร หรือกระบวนการผลิตที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น โดยในการก้าวไปสู่การเป็นโรงงานอัจฉริยะนั้น สถานประกอบการต่างๆ จะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติของความเป็น  “SMART” 4 ประเภท ได้แก่

 
  • Smart People 
     

     คือการพัฒนากำลังคนให้มีทักษะและมีความพร้อมกับการทำงานร่วมกับภาคอุตสาหกรรมในยุคใหม่อยู่เสมอ ซึ่งควรจะเริ่มตั้งแต่ในสถาบันการศึกษา เช่น ทักษะการเขียน Coding ทักษะด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเฉพาะทาง การผลิตวิศวกรที่สามารถรองรับความต้องการและผลกระทบทางอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น วิศวกรด้านความเสี่ยง วิศวกรการเงิน วิศวกรด้านไอโอที นอกจากนี้ยังควรจะต้องพัฒนาความสามารถเฉพาะทางที่หุ่นยนต์ หรือ AI ไม่สามารถทดแทนมนุษย์ได้ เพื่อรับมือกับแนวโน้มการถูกแทนที่แรงงานด้วยเครื่องมือดังกล่าวในอนาคต




 
  • Smart Technology & Innovation
 
     โดยเป็นการนำระบบเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยมาใช้ในทุกกระบวนการทางอุตสาหกรรม เพื่อให้ผลลัพธ์ในกระบวนการผลิตและการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุดและลดผลเสียให้น้อยลงที่สุด ซึ่งเทคโนโลยีที่มีความจำเป็นสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมในยุคใหม่คือ IoT (Internet of Things) เป็นการนำระบบอินเทอร์เน็ตมาเชื่อมโยงกับระบบต่างๆ ภายในสถานประกอบการ เพื่อให้การสั่งการทำงานง่าย รวดเร็ว และสามารถกระทำได้ในทุกที่ทุกเวลา ส่วนต่อมาคือ Big Data ซึ่งจะเป็นระบบที่วิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อทำนายพฤติกรรม การเตือนภัย แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รวมถึงช่วยในการตัดสินใจให้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตามด้วย หุ่นยนต์ ซึ่งจะมีหน้าที่ในการทำงานทดแทนส่วนที่มนุษย์ไม่สามารถกระทำได้ เช่น การทำงานในพื้นที่หรือบรรยากาศที่มีความเสี่ยง การผลิตที่มีความต่อเนื่องหรือระยะเวลาที่ยาวนาน Blockchain ซึ่งเป็นระบบที่จะช่วยรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ความลับของบริษัท การเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ และสุดท้ายคือระบบ AI ซึ่งเป็นระบบที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์คุณภาพของสินค้า การคำนวณ การตรวจจับความผิดพลาดจากการดำเนินงาน เป็นต้น




 
  • Smart Maintenance

      ระบบบำรุงรักษาอย่างชาญฉลาด ซึ่งเป็นการบูรณาการระหว่างวิศวกรรมการซ่อมบำรุงรักษา ระบบการบริหารจัดการการผลิต ระบบสารสนเทศ การวิเคราะห์ข้อมูล การเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ต Cloud Computing และ Big Data พร้อมนำข้อมูลสารสนเทศ ต่างๆ มาใช้ในการวิเคราะห์และทำนายล่วงหน้าว่าเครื่องจักรหรือสายการผลิตใดมีแนวโน้มที่จะมีปัญหา โดยในการยกระดับ Smart Maintenance ดังกล่าว จะช่วยให้ทราบถึงข้อมูลสภาพการทำงานของเครื่องจักรและเหตุการณ์ผิดปกติที่เกิดขึ้น ทำให้ดำเนินการแก้ไขป้องกันปัญหาได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การมีระบบบำรุงรักษาอย่างชาญฉลาดยังช่วยให้โรงงานอุตสาหกรรมลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งภาคอุตสาหกรรมไทยยังถือว่ายังมีค่าใช้จ่ายในด้านนี้ปีละไม่ต่ำกว่าหลักแสนล้านบาท



 

 
  • Smart Environment & Community 
               
     ซึ่งเป็นการจัดการบรรยากาศและสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการทำงาน เช่น พื้นที่ที่สามารถแลกเปลี่ยนแนวความคิดเพื่อการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เช่น นวัตกรรม เทคโนโลยีให้เกิดขึ้นในองค์กร รวมทั้งให้ความสำคัญในการบริหารจัดการ หรือมีโซลูชั่นที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น เทคโนโลยีในการกำจัดมลพิษ ทั้งทางบก น้ำ อากาศ นวัตกรรมการนำกลับมาใช้ใหม่ การกำจัดกากขยะอุตสาหกรรมและกากขยะอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการมีส่วนร่วมกับชุมชนในการสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการอยู่อาศัยเพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมกับชุมชนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างเติบโตและยั่งยืน


     ที่มา : สมาคมบริหารจัดการประเทศญี่ปุ่น หรือ JMA ผู้จัดงาน Maintenance & Resilience Asia 2019 หรือ MRA 2019


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ

ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด ฉบับทายาทรุ่น 3 จาก 3 แบรนด์เก๋า หอยนางรม-น่ำเอี๊ยง-เด็กสมบูรณ์

ธุรกิจครอบครัวที่ผ่านรุ่น 3 ไปได้ต้องทำอย่างไร ? เราจะพาไปดูวิธี ‘ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด’ จาก 3 แบรนด์เก๋า: หอยนางรม - น่ำเอี๊ยง - เด็กสมบูรณ์" ​ ที่ไม่เพียงรักษามรดกครอบครัวไว้ แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ๆ อีกด้วย ​