Banana-mâché สรรค์สร้างกาบกล้วยด้วยเทคนิคที่แตกต่าง พาสินค้าไทยยืนหนึ่งในเวทีโลก

Text : รุจรดา
Photo : เจษฎา ยอดสุรางค์






Main Idea
 
  • กล้วยเป็นพืชมหัศจรรย์ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนทั้งของกินของใช้ แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีอีกหลายมิติที่จะนำส่วนต่างๆ ของกล้วยมานำเสนอในวิธีที่ต่างออกไป
 
  • แบรนด์ C-SENSE ได้หยิบเอากาบกล้วย ส่วนที่เรียกได้ว่าสร้างมูลค่าได้น้อยที่สุดมาแปรรูปด้วยวิธีใหม่ ใช้เทคนิคเปเปอร์มาเช่สร้างสรรค์เป็นภาชนะและของตกแต่งบ้านให้กลายเป็นสินค้าส่งออกไปทำเงินได้ในเวทีโลก



     กล้วยนับเป็นพืชมหัศจรรย์ที่นำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจหากเราจะได้เห็นผลิตภัณฑ์จากกล้วยมากมาย ทั้งในรูปแบบอาหารการกินและข้าวของเครื่องใช้ แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีคนหยิบเอากล้วยมานำเสนอในมิติที่ต่างออกไปจนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่ส่งออกไปไกลถึงทวีปยุโรปและสหรัฐอเมริกา





     เรากำลังพูดถึงแบรนด์ C-SENSE ที่หยิบเอากาบกล้วยมาแปรรูปใหม่ ใช้เทคนิคเปเปอร์มาเช่ (Papier-mâché) สร้างสรรค์เป็นภาชนะ ของตกแต่งบ้าน หรือกระทั่งโคมไฟ แล้วให้ชื่อผลิตภัณฑ์นี้ว่า Banana-mâché มาจากกล้วยผสมกับการทำเปเปอร์มาเช่ ซึ่งเมื่อพูดออกไปผู้คนก็เข้าใจถึงวิธีการผลิตได้ทันที
               

     วัตถุดิบสำคัญในการผลิต คือ ต้นกล้วย โดยปาดเอาผนังออกด้านหนึ่งก่อนจึงจะเห็นลวดลาย (Texture) ที่สวยงาม จากนั้นจึงลอกกาบกล้วยเป็นชั้นๆ นำไปตากให้แห้งและชุบสารเคมีเพื่อให้ใช้งานได้คงทน มีทีมงานขึ้นโครงว่าต้องการผลิตงานในรูปไหน และทีมสุดท้ายนำกาบกล้วยไปติดทับเข้ากับโครงซึ่งเป็นขั้นตอนที่ต้องพิถีพิถันอย่างมาก แน่นอนว่ากาบข้างนอกที่ถูกแยกออกในขั้นตอนแรกก็นำมาเย็บเป็นกระเป๋าขาย สร้างมูลค่าเพิ่มได้อีกต่อหนึ่ง
ซึ่งเพียงแค่ปีแรกที่ทำผลิตภัณฑ์มาวางขายในงานแสดงสินค้าเพื่อการส่งออกก็ได้รับความสนใจจากลูกค้าชาวต่างประเทศอย่างมาก จากการที่ลูกค้าเห็นคุณค่าใน 3 ประการ คือ เป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ สามารถใช้ซ้ำได้เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมได้ และเป็นงานคราฟท์ (ทำมือ)
 



     ปิยะนุช ชัยธีระยานนท์ เจ้าของแบรนด์ 
C-SENSE บอกเราว่าเธอเน้นสร้างงานฝีมือ ไม่ใช้เครื่องจักรช่วยผลิต เพราะในตลาดโลกมีสินค้าที่ใช้เครื่องจักรผลิตจำนวนมาก หากเธอลงไปเล่นในตลาดนี้จะต้องแข่งขันกับผู้ผลิตชาวอินเดีย อินโดนีเซีย หรือเวียดนาม แต่การใช้งานคราฟท์ตีตลาดจะได้ลูกค้ากลุ่มเฉพาะ ทั้งยังสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับชาวบ้านที่ทำงานฝีมือได้ดีและประณีตกว่าเครื่องจักร


     “ผลงานของเราเป็นภาชนะตกแต่งบ้านได้ดีกว่าใส่อาหารแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง เพราะหากผลิตสินค้าที่ใช้ได้เพียงครั้งเดียวก็ไม่คุ้มกับค่าแรงคนทำที่ตั้งใจมาก และจุดประสงค์ของเราไม่ได้อยากให้เขาใช้แล้วทิ้ง แต่จะเป็นของแฮนด์เมดทำด้วยมือที่ควรจะอยู่กับเราไปนานๆ”





     หลังจากที่ตลาดหลักเป็นต่างประเทศมานับ 10 ปี จึงหันมาเปิดตัวขายสินค้าในเมืองไทยมากขึ้นเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเพราะตลาดโลกเริ่มชะลอตัว ในขณะที่กระแสเรื่องการใส่ใจสิ่งแวดล้อมเข้ามาถึงประเทศไทยพอดี นับเป็นการจับทิศทางตลาดได้อย่างพอเหมาะพอเจาะ


     นี่เป็นตัวอย่างของการหยิบเอาของคุ้นเคยใกล้ตัวมาประยุกต์เข้ากับวิธีการผลิตและใส่ดีไซน์ที่ต่างออกไป แล้ววัตถุดิบที่เราคิดว่าสร้างมูลค่าได้ไม่เท่าไร จะกลายเป็นสินค้าทำเงินได้มากกว่าที่คาดเดาได้เลยทีเดียว
 
 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี


 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ

ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด ฉบับทายาทรุ่น 3 จาก 3 แบรนด์เก๋า หอยนางรม-น่ำเอี๊ยง-เด็กสมบูรณ์

ธุรกิจครอบครัวที่ผ่านรุ่น 3 ไปได้ต้องทำอย่างไร ? เราจะพาไปดูวิธี ‘ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด’ จาก 3 แบรนด์เก๋า: หอยนางรม - น่ำเอี๊ยง - เด็กสมบูรณ์" ​ ที่ไม่เพียงรักษามรดกครอบครัวไว้ แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ๆ อีกด้วย ​