ทำอะไรขายดี? ในยุคไวรัสระบาด ส่อง 5 ไอเดียปั๊มเงินสู้โควิดที่ SME ทำได้




Main Idea
 
 
  • ยังคงใช้ได้เสมอ กับคำว่า “โอกาสในวิกฤต” ถ้าเพียงแค่ผู้ประกอบการเปลี่ยนมุมคิด และตั้งรับกับสถานการณ์วิกฤตกันใหม่ แม้แต่ช่วงเวลาที่ยากลำบากสุดๆ ก็อาจเกิดเป็นโอกาสธุรกิจที่สร้างงานสร้างรายได้ให้กับคุณได้
 
  • และนี่คือ 5 ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ ที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างสูง ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ในปัจจุบัน ซึ่งผู้ประกอบการ SME แม้แต่วิสาหกิจชุมชนต่างๆ ก็สามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตตลอดจนเลือกใช้วัตถุดิบอื่นๆ ทดแทนวัตถุดิบหลักที่ขาดแคลน เพื่อพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสทำเงิน 




    ในช่วงเวลาที่ไวรัส COVID-19 กำลังระบาด ส่งผลให้สินค้าบางกลุ่มมีความต้องการสูง อย่างเช่น หน้ากากอนามัย
หรือเจลล้างมือ สำหรับผู้ประกอบรายเล็กอย่าง SME จะใช้สถานการณ์นี้พลิกวิกฤตเป็นโอกาสให้กับตัวเองอย่างไร ท่ามกลางต้นทุนที่มีจำกัด ทั้งยังเข้าไม่ถึงวัตถุดิบบางอย่างที่อาจขาดตลาดด้วย  


     กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม มี 5 กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาด และแนวทางที่ SME ตลอดจนวิสาหกิจชุมชน จะนำมาเป็นไอเดียสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์มาสนองความต้องการนั้นได้ จะมีอะไรน่าสนใจบ้างไปดูกันเลย
                 
               

     เจาะกลุ่มสินค้าที่ร้อนแรงรับ COVID-19


     หลังการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่ลุกลามไปใน 118 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย (ข้อมูลจาก องค์การอนามัยโลก หรือ WHO) ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ลดความเสี่ยงการติดเชื้อไวรัสดังกล่าว มีความต้องการทางการตลาดพุ่งสูง แซงหน้าผลิตภัณฑ์อื่นๆ ทั้งปัจจุบันผู้ประกอบการยังไม่สามารถผลิตสินค้าได้เพียงพอกับความต้องการอีกด้วย


     ได้แก่ 1. หน้ากากอนามัย 2. เจลล้างมือ 3. ทิชชูเปียกแอลกอฮอล์ 4. ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้น-เสปรย์ยับยั้งเชื้อไวรัส และ 5. สมุนไพรไทย


     ทางกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เห็นถึงความสำคัญในการเสริมสร้างและพัฒนาผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม SME  ตลอดจน วิสาหกิจชุมชนต่างๆ ที่สามารถเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาสได้ภายใต้แนวคิด การปรับกระบวนการผลิตสินค้าให้สอดรับกับความต้องการของตลาด โดยนำองค์ความรู้มาผสานกับเทคโนโลยี เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ที่มี พร้อมกับเพิ่มศักยภาพทางด้านกระบวนการผลิต ด้วยการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตสินค้าเป็นที่ต้องการของตลาดและสามารถเลือกใช้วัตถุดิบอื่นๆ ในการผลิตทดแทนกับวัตถุดิบหลักที่ขาดแคลนได้ด้วย
 

     ส่องไอเดียพลิกข้อจำกัด SME สู่ 5 กลุ่มผลิตภัณฑ์สุดปัง


     นี่คือไอเดียการปรับจูนธุรกิจและความเชี่ยวชาญของ SME ให้เป็นสินค้าที่จะขายดิบขายดีในช่วงไวรัสระบาดได้ ซึ่งมีตัวอย่างดังนี้
 





     1.เปลี่ยนการผลิตเสื้อผ้าสู่หน้ากากผ้าได้ง่ายๆ
 


     การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้ความต้องการหน้ากากอนามัยมีสูงกว่าช่วงเวลาปกติ สวนทางกับกำลังการผลิตภายในประเทศ ที่ทำได้ประมาณ 40.5 ล้านชิ้นต่อเดือน (ข้อมูลจาก กรมการค้าภายใน) ดังนั้น ผู้ประกอบการในกลุ่มสิ่งทอ สามารถปรับกระบวนการผลิต การตัดเย็บเสื้อผ้าแฟชั่น เสื้อผ้ากีฬา มาสู่การตัดเย็บหน้ากากผ้าได้ ซึ่งสามารถดำเนินการได้ทันทีด้วย






เนื่องจากประชาชนจำนวนมากเริ่มหันมาใช้หน้ากากผ้าทดแทนกับหน้ากากอนามัยที่ขาดแคลนกันแล้ว โดยสามารถดีไซน์ลวดลายตามเทรนด์แฟชั่นและพัฒนาขนาดให้สอดรับกับกลุ่มผู้ใหญ่และเด็ก สำหรับโครงสร้างสิ่งทอที่เหมาะสมกับการป้องกันไวรัส COVID-19 อาทิ ผ้านิตเจอร์ซี่ (Jersey Knit) หรือ ผ้าสะท้อนน้ำ ซึ่งมีคุณสมบัติป้องกันสารคัดหลัง ไอ จาม หรือเสมหะ เป็นต้น
               




     2.ปรับสายการผลิตน้ำหอมสู่เจลล้างมือ 


     จากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรค COVID-19 ส่งผลให้ความต้องการกลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพประเภทเจลล้างมือพุ่งสูงขึ้น โดยกำลังการผลิตในประเทศไทย ณ เวลานี้ อยู่ที่ประมาณ 400,000 หลอดต่อเดือน (ข้อมูลจาก องค์การเภสัชกรรม) ซึ่งอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ดังนั้น กลุ่มธุรกิจความงามที่มีสายการผลิตน้ำหอม สามารถปรับกระบวนการผลิตจากน้ำหอมสู่การทำเจลล้างมือได้ เนื่องจากมีสายการผลิตที่สามารถดำเนินการได้ทันที ขณะเดียวกันยังเป็นโอกาสอันดีสำหรับผู้ประกอบการในการขยายผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกสู่ตลาดด้วย


     แต่ในสถานการณ์ที่กำลังการผลิตแอลกอฮอล์ขาดแคลน และราคาพุ่งสูงขึ้นหลายเท่าตัวนั้น ผู้ประกอบการสามารถนำ “ไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์” หรือ “แอลกอฮอล์ล้างแผล” เป็นวัตถุดิบทดแทนการผลิตเจลล้างมือได้ เพราะมีประสิทธิภาพฆ่าเชื้อไวรัสได้ดีและยังมีราคาถูกอีกด้วย
 





     3.สร้างมูลค่าเพิ่มผลิตทิชชูเปียกผสมแอลกอฮอล์


     ประเทศไทยมีผู้ประกอบการโรงงานกระดาษทิชชูเปียกที่ปราศจากแอลกอฮอล์อยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้น ในสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ส่งผลให้ในท้องตลาดมีความต้องการผลิตภัณฑ์ที่จะลดความเสี่ยงของการติดเชื้อไวรัสดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น จึงถือเป็นโอกาสของผู้ประกอบการ SME ที่จะหันมาเร่งสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ด้วยการพัฒนา “ทิชชูเปียก” มาสู่ “ทิชชูผสมแอลกอฮอล์” ต่อยอดจากผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติยับยั้งแบคทีเรีย 99.9 เปอร์เซ็นต์ มาสู่ผลิตภัณฑ์ที่ยับยั้งเชื้อไวรัส ซึ่งปัจจุบันทิชชูเปียกผสมแอลกอฮอล์เริ่มเป็นที่ต้องการของตลาดสูงขึ้น เนื่องจากมีความสะดวกต่อการใช้งานนั่นเอง






     4.ต่อยอดผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้น-สเปรย์ยับยั้งเชื้อไวรัส



     สำหรับการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้นหรือสเปรย์ในปัจจุบัน อาจมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอสำหรับการยับยั้งไวรัสเพราะผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดทั่วไป มีคุณสมบัติทำความสะอาดคราบสกปรกและฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้เท่านั้น ดังนั้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทดังกล่าว ผู้ประกอบการสามารถต่อยอดองค์ความรู้ควบคู่กับการใช้เทคโนโลยี พัฒนาผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดยับยั้งไวรัสหรือพัฒนาสเปรย์เพื่อเป็นอีกทางหนึ่งสำหรับการใช้งานได้





     5.เสริมสร้างภูมิปัญญาไทยโอกาสสมุนไพรไทยระดับสากล


     ปัจจุบันประเทศไทยมีความโดดเด่นเรื่องพืชสมุนไพร ซึ่งเป็นพืชที่ไม่ใช่พืชเศรษฐกิจหลัก กลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SME  ตลอดจนวิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการ สามารถนำองค์ความรู้ทางภูมิปัญญาไทยสู่การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายในเชิงพาณิชย์ อย่างเช่น ฟ้าทะลายโจร เป็นสมุนไพรที่กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 อย่างไรก็ดี เพื่อผลักดันสมุนไพรไทยเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ผู้ประกอบการควรเติมเต็มองค์ความรู้ การออกแบบผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่มีคุณภาพผ่านการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยด้วย
 


     นี่คือโอกาสในวิกฤตที่ผู้ประกอบการ SME สามารถนำมาเป็นไอเดียต่อยอดธุรกิจของตนเองได้ โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมยังให้ข้อมูลว่า การแพร่ระบาดไวรัส COVID-19 ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกให้มีอัตราการขยายตัวลดลง ทางสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดการณ์เศรษฐกิจไทย ในปี พ.ศ. 2563 ว่าจะขยายตัวในช่วง 1.5-2.5 เปอร์เซ็นต์ ต่อปี (ขึ้นอยู่กับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19) จากเดิมคาดการณ์การขยายตัวที่ 2.7-3.7 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น ผู้ประกอบการ  SME ตลอดจนวิสาหกิจชุมชน จึงต้องเร่งปรับกระบวนการผลิตให้ทันกับความต้องการของตลาด เพื่อพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสและสร้างรายได้ให้เกิดขึ้น ท่ามกลางสถานการณ์ในวันนี้ได้
 
 
     ยังคงใช้ได้เสมอ กับคำว่า “โอกาสในวิกฤต” ถ้าเพียงแค่ผู้ประกอบการเปลี่ยนมุมคิด และตั้งรับกับสถานการณ์วิกฤตกันใหม่ แม้แต่ช่วงเวลาที่ยากลำบากสุดๆ ก็อาจเกิดเป็นโอกาสธุรกิจที่สร้างงานสร้างรายได้ให้กับคุณได้
และนี่คือ 5 ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ ที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างสูง ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ในปัจจุบัน ซึ่งผู้ประกอบการ SME แม้แต่วิสาหกิจชุมชนต่างๆ ก็สามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตตลอดจนเลือกใช้วัตถุดิบอื่นๆ ทดแทนวัตถุดิบหลักที่ขาดแคลน เพื่อพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสทำเงิน
 



www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี


 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ

ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด ฉบับทายาทรุ่น 3 จาก 3 แบรนด์เก๋า หอยนางรม-น่ำเอี๊ยง-เด็กสมบูรณ์

ธุรกิจครอบครัวที่ผ่านรุ่น 3 ไปได้ต้องทำอย่างไร ? เราจะพาไปดูวิธี ‘ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด’ จาก 3 แบรนด์เก๋า: หอยนางรม - น่ำเอี๊ยง - เด็กสมบูรณ์" ​ ที่ไม่เพียงรักษามรดกครอบครัวไว้ แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ๆ อีกด้วย ​