ถอดสูตรเด็ด SME ต้องใช้ วิเคราะห์คู่แข่งอย่างไร ให้ได้ชัยชนะ!

TEXT : เจษฎา 





Main Idea
 
 
     5 แนวคำถาม “วิเคราะห์คู่แข่ง” สร้างแต้มต่อธุรกิจ
 
 
  • คู่แข่งมีผลิตภัณฑ์หรือบริการอะไร
 
  • สิ่งที่คู่แข่งมุ่งเน้น และการวาง Positioning ในตลาด
 
  • กลุ่มเป้าหมายคือใคร และกลุ่มไหนสร้างรายได้มากที่สุด
 
  • ข้อได้เปรียบของคู่แข่งคืออะไร
 
  • ชื่อเสียงและภาพลักษณ์ในอุตสาหกรรมของคู่แข่ง
 


 

        การประเมินคู่แข่งทางธุรกิจที่สมน้ำสมเนื้อกับเรานั้น สามารถเริ่มต้นทำได้จากการวิเคราะห์ด้านคุณภาพ การบริการ และราคา จากนั้นลองลิสต์เอาไว้ 5 – 10 แบรนด์ โดยอย่าลืมคู่แข่งทางอ้อมด้วย ซึ่งแม้ว่าคู่แข่งทางอ้อมจะไม่ได้ขายสินค้าหรือบริการแบบเดียวกับที่เราทำ แต่ลูกค้ามักมองว่า ข้อเสนอของคู่แข่งทางอ้อม เป็นตัวเลือกเสริมให้กับเขาได้





     ยกตัวอย่างเช่น โรงภาพยนตร์ 2 แห่งฉายภาพยนตร์เรื่องเดียวกัน นี่คือคู่แข่งกันโดยตรง ส่วนผู้บริโภคที่ต้องการความบันเทิง คู่แข่งทางอ้อมของโรงภาพยนตร์อาจเป็น โรงละคร งานกีฬา สวนสนุก และไนต์คลับ เพราะทั้งหมดนี้คือธุรกิจที่แย่งชิงเงินของผู้บริโภคที่ต้องการความบันเทิง
ทั้งนี้ แนวทางการตั้งคำถามเพื่อวิเคราะห์คู่แข่ง มีดังนี้
 
  • คู่แข่งมีผลิตภัณฑ์หรือบริการอะไรบ้าง
 
  • สิ่งที่คู่แข่งมุ่งเน้น และการวาง Positioning ในตลาด
 
  • กลุ่มเป้าหมายคือใคร กลุ่มไหนสามารถสร้างรายได้ให้มากที่สุด

  • ข้อได้เปรียบของคู่แข่งคืออะไร (อย่าพยายามทำข้อได้เปรียบเลียนแบบคู่แข่ง ยกเว้นเราจะทำได้ดีกว่า)
 
  • ชื่อเสียงและภาพลักษณ์ในอุตสาหกรรมของคู่แข่ง และเราสามารถสร้างความต่างได้อย่างไร เช่น คู่แข่งเป็นแบรนด์ยักษ์ใหญ่ มีทรัพยากร เงินทุน และบุคลากรเพียบพร้อม แต่ค่าใช้จ่ายสูง และบริหารจัดการช้า แต่เราเป็นบริษัทขนาดเล็กที่แก้ไขและจัดการปัญหารวดเร็ว รวมถึงไม่มีปัญหาเรื่องเงินทุน จึงสามารถจ้างได้ทั้งพนักงานรายเดือน และจ้าง Outsource แทนการจ้างพนักงานก็ได้ เป็นต้น
 



 
        หลังจากวิเคราะห์คู่แข่งไปแล้วในเบื้องต้น ลองคัดเลือกรายชื่อแบรนด์ของคู่แข่งที่เราเคยซื้อผลิตภัณฑ์หรือบริการ แล้วถามตัวเองดูว่าทำไมเราเลือกซื้อผลิตภัณฑ์จากแบรนด์นี้มากกว่าแบรนด์อื่น มีข้อเสนออะไรดึงดูดใจหรือเปล่า ? ซื้อเพราะคุณภาพและการบริการ ? ความน่าเชื่อถือ ? พนักงานมารยาทดีมากๆ ? ราคาโดนใจ ? พวกเขาวาง Positioning อย่างไรเมื่อเทียบกับคู่แข่งในตลาด ? ตลอดจนคำถามอีกมากมายที่จะช่วยให้เราสู้กับคู่แข่งรายนี้ได้สมน้ำสมเนื้อมากยิ่งขึ้น นั่นก็คือ
 
  • คู่แข่งเก่งเรื่องอะไรมากที่สุด
 
  • จุดแข็งคืออะไร การรับประกันสินค้า หรือสภาพคล่องทางการเงินสูงมาก
 
  • โอกาสที่น่าสนใจ แต่คู่แข่งเพิกเฉยหรือยังไม่ทันมองเห็น
 
  • สิ่งที่คู่แข่งทำได้ไม่ดี หรือดีน้อยกว่าเรา
 
  • สิ่งที่ทำให้ลูกค้าชอบคู่แข่ง
 
  • คอมเมนต์ที่ไม่ดีเกี่ยวกับธุรกิจคู่แข่งคือเรื่องใด
 
  • เหตุผลที่ลูกค้าของคู่แข่งไม่กลับมาซื้อสินค้าซ้ำ
 
  • เราได้เรียนรู้อะไรจากคู่แข่งบ้าง
 
  • เราทำอะไรได้ดีกว่าคู่แข่งบ้าง
 
  • สิ่งที่คู่แข่งจะไม่สามารถเลียนแบบเราได้
 
  • สิ่งที่เราพัฒนาแล้วคู่แข่งเลียนแบบเราได้
 
  • ถ้าคู่แข่งพัฒนาบางอย่าง เขาจะก้าวนำเราไปอีกหลายก้าว สิ่งนั้นคืออะไร
 
  • ราคาผลิตภัณฑ์หรือบริการเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่ง หากราคาสูงกว่าหรือเท่ากัน เราสามารถแสดงให้เห็นถึงมูลค่าและความคุ้มค่าในการจ่ายเงินได้หรือไม่
 
  • บรรจุภัณฑ์ของคู่แข่ง สร้างความประทับใจหรือดึงดูดใจลูกค้ามากแค่ไหน
 
  • จุดอ่อนของคู่แข่ง คืออะไร
 




     ทั้งหมดนี้คือตัวอย่างของการใช้ข้อมูลของคู่แข่ง เพื่อนำมาปรับและพัฒนาธุรกิจให้ก้าวเหนือกว่าคู่แข่งในตลาด อย่าให้พลาดเหมือนตัวแทนบริษัทประกันภัยรถยนต์รายหนึ่งในสหรัฐฯ ที่ประกาศโฆษณามอบส่วนลดประกันภัยรถยนต์พิเศษสำหรับวัยรุ่นผู้ขับรถยนต์รายใหม่ที่มีผลการเรียนดีเด่น แต่คู่แข่งก็ให้ส่วนลดที่ดีไม่แตกต่างกันแถมไม่ต้องมีผลการเรียนที่ดีด้วย ผลคือเขาพ่ายแพ้คู่แข่งไปแบบหลุดรุ่ย


     โชคดีที่เขาไม่ยอมแพ้แค่นั้น แต่ตัวแทนบริษัทรายเดิมคนนี้แหละเขียนเบอร์โทรศัพท์บ้านลงบนนามบัตร และเสนอขายประกันกับกลุ่มลูกค้าใหม่ โดยเปลี่ยนจากวัยรุ่นเป็นพ่อแม่ของวัยรุ่นแทน พร้อมกับบอกว่า “ลูกของคุณอาจออกไปเที่ยวข้างนอกตอนกลางคืน อาจดื่มอะไรเยอะเกินไปจนพวกเขาขับรถกลับไม่ไหว แต่ไม่ต้องห่วงถ้าซื้อประกันกับผม ผมจะไปรับพวกเขากลับมาให้เอง ไม่ว่าจะเป็นตอนกลางวันหรือกลางคืนก็สามารถโทรมาใช้บริการเสริมนี้ได้” ไม่มีตัวแทนขายประกันภัยรถยนต์ในพื้นที่คนอื่นกล้าทำแบบเขา ทำให้เขาสามารถสร้างโอกาสในการปิดการขายได้มากขึ้น และกลายเป็นคนขายประกันภัยรถยนต์ที่ประสบความสำเร็จมากๆ คนหนึ่งเลยทีเดียว
 

     ถ้าเราไม่เรียนรู้ และพยายามรู้จักคู่แข่ง เราอาจแพ้ตั้งแต่ยังไม่ทันเริ่มธุรกิจเลยด้วยซ้ำ  
 
 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ

ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด ฉบับทายาทรุ่น 3 จาก 3 แบรนด์เก๋า หอยนางรม-น่ำเอี๊ยง-เด็กสมบูรณ์

ธุรกิจครอบครัวที่ผ่านรุ่น 3 ไปได้ต้องทำอย่างไร ? เราจะพาไปดูวิธี ‘ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด’ จาก 3 แบรนด์เก๋า: หอยนางรม - น่ำเอี๊ยง - เด็กสมบูรณ์" ​ ที่ไม่เพียงรักษามรดกครอบครัวไว้ แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ๆ อีกด้วย ​