ต้องไม่จบที่โควิด! 4 กลยุทธ์ ฟิตธุรกิจครอบครัวให้พร้อม เพื่อสตรองได้ในทุกวิกฤต

TEXT : กองบรรณาธิการ





     วงจรของธุรกิจยุคนี้สั้นลง โดยเฉพาะในยุคโควิดที่ผ่านมาระลอกแล้วระลอกเล่า จนมีความเสี่ยงว่าธุรกิจครอบครัวที่ทำมาอาจไม่ได้ยืนยาวได้จนถึงรุ่นถัดไป ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จึงกำลังง่วนกับการรับมือวิกฤตตรงหน้า แต่ระหว่างนี้อย่าลืมเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับโลกอนาคตที่จะเปลี่ยนแปลงไปด้วย


     และนี่คือ 4 กลยุทธ์ที่จะทำให้ธุรกิจครอบครัวยุคนี้จะสามารถจัดการความเสี่ยงและสร้างพื้นฐานที่มั่นคงสำหรับต่อยอดเป็นความสำเร็จในระยะยาวได้



 
 
1. สร้างความหลากหลายให้ธุรกิจจากการมองมุมใหม่
 

      การจัดการความเสี่ยงแบบดั้งเดิมอาจไม่เพียงพอ ในอนาคตนับจากนี้ไป ผู้ประกอบการจึงต้องมีมุมมองที่กว้างขึ้น เพื่อประเมินปัจจัยความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นมาในโลกธุรกิจยุคนี้ เช่น ภัยคุกคามด้านไซเบอร์ การเตรียมกระแสเงินสด การประเมินราคาต้นทุนที่อาจสูงขึ้น แม้กระทั่งการหยุดชะงักของซัพพลายเชนเพราะคู่ค้าไม่อาจข้ามพ้นวิกฤตโควิด
               

     ธุรกิจครอบครัวจำเป็นต้องปรับปรุงสภาพคล่องของเงินทุน และกระจายความหลากหลายในธุรกิจ จะว่าไปแล้วก็คือการปรับสมดุลใหม่ ลดการลงทุนแบบกระจุกตัวอยู่ในธุรกิจหลัก แล้วมองหาโอกาสใหม่ๆ ก็จะช่วยกระจายความเสี่ยงได้




 
2. ใช้ประโยชน์จากโลกดิจิทัล และยอมลงทุนเพื่อตอบโจทย์เทรนด์ “อยู่ที่บ้าน” 


     ก่อนหน้าการระบาด online shopping และการ work from home เป็นแนวคิดที่ไม่ได้ใกล้ตัวสักเท่าไร แต่ตอนนี้มันกลายเป็น “วิถี” ของการทำธุรกิจยุคนี้ไปแล้ว เพราะผู้บริโภคซื้อสินค้าออนไลน์จนเป็นเรื่องปกติ ในขณะที่ฝั่งพนักงานก็เคยชินกับการทำงานจากที่บ้าน (หรือที่ไหนก็ตาม) เป็นที่เรียบร้อย
ดังนั้นธุรกิจครอบครัว โดยเฉพาะธุรกิจค้าปลีกจะต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินงานให้เข้ากับเศรษฐกิจแบบ “อยู่บ้าน” เปิดช่องทางดิจิทัลและให้บริการจากระยะไกล ดังนั้น จึงต้องลงทุนด้านเทคโนโลยีและให้ความสำคัญกับความปลอดภัยทางไซเบอร์ ไปจนถึงพัฒนาทักษะตลาดและการบริหารจัดการผ่านดิจิทัล และหาโซลูชัน “บริการจัดส่ง” ที่เหมาะสมกับสินค้าหรือบริการของธุรกิจ




 
3. พึ่งพา “ท้องถิ่น” ลดความเสี่ยง เพิ่มโอกาส 


      พอมีโควิด ก็ต้องปิดประเทศ ดังนั้นแล้ว ธุรกิจต้องหันมาพึ่งพาท้องถิ่นมากขึ้น ทั้งห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่ซัพพลายเออร์ไปจนถึงผู้บริโภค หากสามารถผลิตในท้องถิ่น ใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น ลดการพึ่งพาการนำเข้าก็จะสามารถป้องกันการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน ไปจนถึงลดต้นทุน ทำให้การดำเนินธุรกิจมีความมั่นคงมากขึ้นด้วย ขณะเดียวกันอาจเป็นการเปิดจุดเด่นของชุมชน แล้วสร้างโอกาสในการท่องเที่ยวในประเทศได้อีกต่างหาก เท่ากับ วิน-วิน ทั้งผู้ประกอบการธุรกิจและคนในท้องถิ่น




 
4. แสวงหาโอกาสการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน 


     ธุรกิจครอบครัวหรือธุรกิจขนาดเล็กจะเพิ่มความสามารถในการทำธุรกิจและแบ่งปันความเสี่ยงได้ด้วยการร่วมมือกับพันธมิตรเป็นบริษัทอื่น หรือนักลงทุนเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจ และที่สำคัญเป็นการสร้างพอร์ตโฟลิโอให้กลายเป็นแบรนด์สุดปังที่พร้อมสำหรับการเติบโตหลังการระบาดจบลงด้วย
 



 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ

ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด ฉบับทายาทรุ่น 3 จาก 3 แบรนด์เก๋า หอยนางรม-น่ำเอี๊ยง-เด็กสมบูรณ์

ธุรกิจครอบครัวที่ผ่านรุ่น 3 ไปได้ต้องทำอย่างไร ? เราจะพาไปดูวิธี ‘ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด’ จาก 3 แบรนด์เก๋า: หอยนางรม - น่ำเอี๊ยง - เด็กสมบูรณ์" ​ ที่ไม่เพียงรักษามรดกครอบครัวไว้ แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ๆ อีกด้วย ​