ส่อง 3 ไอเดียเปลี่ยนวัสดุเหลือใช้ จากขยะไร้ค่าเป็นพลังงานไฟฟ้า

               

        แน่นอนว่าส่วนหนึ่งเป็นขยะที่เกิดขึ้นในชุมชน แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่าขยะจำนวนมากเกิดจากภาคการผลิต ทั้งอุตสาหกรรมเกษตรหรืออุตสาหกรรมแฟชั่นก็ตาม หลายธุรกิจพยายามสร้างระบบจัดการขยะที่ดีขึ้น ลดการสูญเสีย และนำกลับไปใช้ประโยชน์


           หนึ่งวิธีที่ทำให้เหลือ “ขยะ” น้อยลงได้ คือการนำของเหลือเหล่านั้นมาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า ที่อาจเรียกได้ว่าอาจจะเป็นวิธีที่สร้างมูลค่าเพิ่มได้มากที่สุด




ในปี 2563  มีปริมาณขยะถูกทิ้งถึง 25.37 ล้านตัน!


โดยที่...

       - ถูกนำกลับไปใช้ประโยชน์ 33%

       - กำจัดอย่างถูกต้อง 36%

       - กำจัดอย่างไม่ถูกต้องและตกค้าง 31.1%
 
ที่มา : กรมควบคุมมลพิษ








จาก ‘เสื้อเก่าและเศษผ้า’ สู่พลังงานไฟฟ้า

               

          ถ้าเป็นเสื้อผ้าเก่าในบ้าน หลายคนมักจะส่งต่อเป็นเสื้อผ้ามือสอง หรือสร้างสรรค์นำมาตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าตัวใหม่ หรือสุดท้ายแล้วอาจกลายเป็นผ้าขี้ริ้ว แต่สำหรับธุรกิจแฟชั่น โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า ผลิตภัณฑ์ที่มีตำหนิ เศษผ้าที่เหลือจากการตัดเย็บนั่นแทบจะกองเป็นภูเขา แต่รู้หรือไม่ว่าเศษผ้าหรือเสื้อเก่า เปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าได้!


           ด้วยการคัดแยกส่วนที่ไม่ใช่เนื้อผ้า เช่น กระดุม ซิป ออกไปใช้ซ้ำได้ จากนั้นแยกประเภท เช่น ผ้าใยสังเคราะห์ ผ้าใยธรรมชาติ เพื่อไปจัดการให้ถูกวิธีก่อนที่จะนำเข้าสู่กระบวนการเผาขยะเพื่อผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า (Incineration) เกิดเป็นพลังงานหมุนเวียนคืนสู่สังคม


         ตัวอย่างจากแบรนด์เสื้อผ้า H&M ในประเทศสวีเดน นำเสื้อผ้าที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือมีเชื้อรา ซึ่งไม่สามารถจำหน่ายได้ ส่งให้โรงงานไฟฟ้าเวสเตอร์โรสผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า เป็นต้น





แปลง “กิ่ง ก้าน ใบ” ให้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า

 
               
          ของเหลือทางการเกษตร ไม่ว่าจะเป็น แกลบ ซังข้าวโพด ฟางข้าว ใบอ้อย มักจะถูกเผาไหม้กลางที่โล่ง ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ PM 2.5 หรือไม่อย่างนั้นก็ปล่อยให้ย่อยสลายไปเพราะคิดว่าเป็นวัสดุธรรมชาติไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งที่จริงวัสดุเหล่านี้เป็นอินทรีย์วัตถุชั้นดีที่กักเก็บพลังงานจากธรรมชาติเพื่อนำมาแปลงเป็นเชื้อเพลิงผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ ด้วยการนำเข้ากระบวนการเพื่ออัดแท่งเป็นเชื้อเพลิงแบบเม็ดขนาดเล็ก (Pellets) หรือแบบก้อนขนาดใหญ่ (Briquettes)



               

          ปัจจุบันในประเทศไทยมีตัวอย่างจาก บริษัท แอ๊บโซลูท คลีน เอ็นเนอร์จี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ACE ได้รับซื้อของเหลือใช้ทางการเกษตรตรงจากเกษตรกร มาผลิตเป็นเชื้อเพลิงอัดแท่งที่ได้มาตรฐานสำหรับไฟฟ้าผ่านเทคโนโลยี Electrostatic Precipitator หรือตัวอย่างจากเอสซีจี ในธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ซึ่งมีการใช้เชื้อเพลิงทดแทนในการกระบวนการผลิตซีเมนต์อยู่แล้ว ร่วมมือกับสยามคูโบต้า รับซื้อเศษผลผลิตทางการเกษตร โดยใช้หม้อเผาปูนซีเมนต์ที่เอสซีจีมี แปรรูปเหล่าฟางข้าว ใบอ้อย ให้เป็นพลังงานทดแทนเพื่อใช้ในการผลิตซีเมนต์ 





กากมันสำปะหลัง ของเหลือจากการผลิตทั่วไทย
แปรรูปสู่การผลิตกระแสไฟฟ้า

 
               
           รายงานสถิติของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรปีพ.ศ. 2563 ประเทศไทยมีเนื้อที่เพาะปลูกมันสำปะหลังกว่า 9.4 ล้านไร่ โดยมันสำปะหลัง มีบทบาทสำคัญในการส่งออกและอุตสาหกรรมอาหาร เช่น ผลิตเป็นแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคู ขณะเดียวกันมันสำปะหลังก็สามารถนำมาผลิตเป็นเอทานอลบริสุทธิ์ 99.5 เปอร์เซ็นต์ เพื่อผสมน้ำมันเบนซินเป็นแก๊สโซฮอล์ อย่างไรก็ตามเนื่องจากทุกขั้นตอนการผลิตย่อมมีของเหลือคือ กากมันสำปะหลัง และน้ำเสีย ดังนั้นเมื่อสัดส่วนการปลูกที่มีขนาดใหญ่ในประเทศ การปล่อยให้ของเหลือ ทิ้งไว้โดยไร้ประโยชน์และกลายเป็นขยะล้นประเทศ





          เรื่องนี้ บริษัท อุบล ไบโอ เอทานอล จำกัด จ.อุบลราชธานี จึงคว้าโอกาสจัดตั้งโรงผลิตก๊าซชีวภาพและพลังงานไฟฟ้าจากกากมันสำปะหลัง นำกากมันสำปะหลังมาเข้ากระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพ ซึ่งเป็นพลังงานสะอาด เพื่อนำไปผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า จำหน่ายให้การไฟฟ้าและกระจายสู่ชุมชน




 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ

ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด ฉบับทายาทรุ่น 3 จาก 3 แบรนด์เก๋า หอยนางรม-น่ำเอี๊ยง-เด็กสมบูรณ์

ธุรกิจครอบครัวที่ผ่านรุ่น 3 ไปได้ต้องทำอย่างไร ? เราจะพาไปดูวิธี ‘ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด’ จาก 3 แบรนด์เก๋า: หอยนางรม - น่ำเอี๊ยง - เด็กสมบูรณ์" ​ ที่ไม่เพียงรักษามรดกครอบครัวไว้ แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ๆ อีกด้วย ​