Nature-Positive เทรนด์ใหม่ต้องจับตา กลุ่ม G7 ยักษ์ใหญ่ของโลกใช้ผลักดันการทำธุรกิจ

 

     ทุกวันนี้กระแสกรีน กระแสรักษ์โลกกำลังถูกขับเคลื่อนขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการควรต้องคำนึงถึงขึ้นมาเป็นอันดันแรกๆ ของการทำธุรกิจ ซึ่งไม่ใช่แค่การทำเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดูดีเท่านั้น แต่เรียกว่ายุคนี้ใครไม่ทำสิแปลกไปเลยก็ว่าได้ เผลอๆ อาจถูกมองไม่ดีในสายตาผู้บริโภคด้วย ดังนั้นแล้วหลายบริษัทจึงพยายามหันมาให้ความสำคัญกับผลกระทบที่เกิดกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จนเกิดเป็นเทรนด์ที่ชื่อว่า “Nature positive”

“Nature positive” คืออะไร?

     ตามรายงานของ World Economic Forum ที่ให้ไว้ หมายถึง การเสริมสร้างความยืดหยุ่นของโลกและสังคม เพื่อหยุดยั้งก่อนที่จะเกิดการสูญเสียธรรมชาติที่ดีของโลกตลอดไป

     ถามว่า Nature Positive แตกต่างจาก Net-Zero และ Carbon Neutral อย่างไร?

     เราอาจเคยได้ยินคำศัพท์หลายคำเพื่อช่วยส่งเสริมสิ่งแวดล้อม เช่น Carbon Neutral – การไม่มีปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ หรือ Net-Zero – การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ แต่สำหรับ Nature Positive ที่ถูกบัญญัติขึ้นมาใหม่นี้มีความหมายมากกว่านั้น เพราะไม่ใช่แค่การทำร้ายให้น้อยลง แต่คือ การหันมาทำทุกอย่างที่จะส่งผลบวกหรือผลดีต่อธรรมชาติให้มากที่สุด เพื่อเสริมสร้างระบบนิเวศที่แข็งแรง มากกว่าการยอมรับการจำกัดความเสียหายที่จะเกิดขึ้น

     โดย G7 หรือกลุ่มประเทศผู้นำยักษ์ใหญ่ของโลกทั้ง 7 แห่ง (แคนาดา, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อิตาลี, ญี่ปุ่น, สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา) ที่รวมกันแล้วมี GDP สูงกว่าครึ่งหนึ่งของศรษฐกิจทั้งโลกร่วมกันออกมาแสดงจุดยืนว่าการทำร้ายโลกหรือชั้นบรรยากาศนั้นไม่ควรแค่จะเป็นเพียงแค่ศูนย์ แต่ควรเป็นบวกหรือส่งผลดีต่อธรรมชาติด้วย เพื่อประโยชน์ของทั้งผู้คนและโลกใบนี้ จึงได้มีการนิยามศัพท์ใหม่ขึ้นมาทางสิ่งแวดล้อมว่า “Nature Positive” โดยได้มีการร่วมกันกำหนดมาตรฐานและกฎเกณฑ์ขึ้นมาใหม่ อย่างเช่นการให้คะแนน ESG (แนวคิดการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนย่อมาจาก Environment, Social, และ Governance) ซึ่งปัจจุบันได้รับความนิยมจากนักลงทุนทั่วโลกจำนวนมาก เพื่อนำมาใช้ประกอบการพิจารณาลงทุน

     ในปี 2560 State Street Global Advisors เคยได้ทำการศึกษากับผู้ลงทุนสถาบันทั้งหมด 475 องค์กรในทวีป สหรัฐอเมริกา ยุโรป และเอเชียแปซิฟิก พบว่าพอร์ตการลงทุนของของบริษัทส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 80 ให้ความสนใจจัดสรรเงินลงทุนกับองค์กรที่ดำเนินธุรกิจตามหลัก ESG สอดคล้องกับผลการศึกษาจาก Financial Planning Association ในปี 2563  ที่ได้ทำการสำรวจผู้ให้คำแนะนำทางการเงินกว่า 242 รายในสหรัฐอเมริกาโดยพบว่ามีการแนะนำนักลงทุนในกองทุนแบบ ESG มากขึ้นจากปีที่ผ่านมา สำหรับในไทยเองได้มีการเปิดเผยจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่าการลงทุนที่เน้นความยั่งยืนนำมาซึ่งผลตอบแทนที่มากขึ้น ซึ่งผลจากการทดลองจัด portfolio บริษัทจดทะเบียนไทยตามดัชนี DJSI ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาพบว่า Portfolio ดังกล่าวให้ผลตอบแทนรวมสะสม 51 เปอร์เซ็นต์ มากกว่าดัชนี SET100TRI ที่ใช้เปรียบเทียบอยู่ 13 เปอร์เซ็นต์ (ข้อมูลจาก https://www.tris.co.th/esg)

     โดยคณะกรรมการร่วมอนุรักษ์ธรรมชาติ (JNCC) ในสหราชอาณาจักรได้กล่าวรายงานไว้ในเดือนกันยายนปีที่ผ่านมา ถึงแผน Nature Positive 2030 เพื่อกระตุ้นให้ G7 และ World Economic Forum (WEF) ร่วมกันนำไปใช้ผลักดันเหล่าสมาชิกเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นเชิงบวกกับธรรมชาติให้เกิดขึ้นให้ได้ภายในปี 2030

อยากทำ Nature positive ต้องเริ่มยังไง

     สำหรับธุรกิจที่สนใจอยากดำเนินแนวทางตาม Nature positive ควรเริ่มต้นดังต่อไปนี้

     1. ตั้งธงว่าสิ่งแวดล้อม คือ หนึ่งในหัวใจสำคัญของธุรกิจ

     ข้อแรก คุณต้องมีหัวใจแน่วแน่เพื่อจะทำธุรกิจให้เกิดผลเชิงบวกต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ได้ เพื่อจะกำหนดทิศทางความเป็นไปของธุรกิจที่นอกจากไม่ทำลายแล้ว ยังส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมในอนาคตด้วย

     2. ประเมินผลกระทบของธุรกิจในห่วงโซ่อุปทานกระบวนการและการดำเนินงานที่มีอยู่ในปัจจุบันของธุรกิจขัดแย้งกับการส่งเสริมสิ่งแวดล้อมเชิงบวกอย่างไรบ้าง? ซึ่งไม่เพียงแต่กิจการของคุณเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่การให้ความสำคัญและใส่ใจในทุกๆ ขั้นตอน ยังเป็นการช่วยคัดสรร หรือส่งเสริมให้ธุรกิจอื่นหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องในกิจการของคุณตระหนักและให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมพร้อมกันไปด้วย

     3. กำหนดมาตรฐานสร้างผลกระทบเชิงลบให้น้อย เชิงบวกให้มากขึ้น

     โดยระบุผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเชิงลบที่เกิดขึ้นภายในธุรกิจ เมื่อรู้ว่าจุดใดขาดดุลก็ให้ตัดออกและปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น จากนั้นลองสร้างมาตรฐานเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมกับทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นซัพพลายเออร์ ลูกค้า และหุ้นส่วนทางธุรกิจอื่นๆ โดยลองกำหนดเป้าหมายที่สามารถวัดผลได้อย่างชัดเจน เพื่อดูว่าแต่ละส่วนสามารถช่วยในการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้นได้มากน้อยเพียงใด

     4. วัดผลความก้าวหน้า

     เมื่อกำหนดโครงสร้างเพื่อมุ่งสู่แนวทาง Nature Positive แล้ว คุณต้องมีการวัดความคืบหน้าที่เกิดขึ้นด้วยว่ากิจกรรมต่างๆ ที่คุณทำนั้นส่งผลต่อความยั่งยืนที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมในเชิงบวกได้มากน้อยแค่ไหน

     สุดท้ายให้จำไว้ว่า Nature Positive ไม่ใช่ศัพท์ใหม่ที่บัญญัติขึ้นมาเพื่อภาพลักษณ์ที่ดูดีให้ธุรกิจเท่านั้น แต่หากคุณต้องการสร้างความแตกต่างอย่างแท้จริงให้เกิดขึ้นในโลกอนาคตที่ดีได้ การทำเพื่อธรรมชาติเชิงบวกนี้ คือ สิ่งที่ธุรกิจจะละเลยไม่ได้เลย

ที่มา : 

https://www.diligent.com/insights/esg/nature-positive/

https://www.entrepreneur.com/article/421275

TEXT : กองบรรณาธิการ

www.smethailandlcub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ

ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด ฉบับทายาทรุ่น 3 จาก 3 แบรนด์เก๋า หอยนางรม-น่ำเอี๊ยง-เด็กสมบูรณ์

ธุรกิจครอบครัวที่ผ่านรุ่น 3 ไปได้ต้องทำอย่างไร ? เราจะพาไปดูวิธี ‘ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด’ จาก 3 แบรนด์เก๋า: หอยนางรม - น่ำเอี๊ยง - เด็กสมบูรณ์" ​ ที่ไม่เพียงรักษามรดกครอบครัวไว้ แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ๆ อีกด้วย ​