ใช้ชีวิตสู้ชีวิต เทคนิคหาโอกาสจากวิกฤต เปลี่ยนธุรกิจให้สตรองขี้น

 

 

     ในวิกฤตย่อมมีโอกาสเสมอ ประโยคที่หลายคนคงคุ้นเคย แต่จะมีสักกี่คนที่พอจะรู้ว่าแล้วเราจะสร้างโอกาสได้อย่างไร และก็คงมีอีกหลายๆ คนเช่นกัน ที่อยากรู้ว่าจะสร้างโอกาสจากวิกฤตได้อย่างไร

    วีรพล สวรรค์พิทักษ์ ผู้จัดการการตลาดดิจิทัล บริษัท อีมิแน้นท์แอร์ ได้นำเสนอมุมมองการเปลี่ยนปัญหาให้เป็นโอกาสตามหลัก “ไคเซน” ของโตโยต้า ในการเข้าใจตนเอง เข้าใจวิกฤต และเราสามารถหาช่องทางโอกาสอะไรได้บ้างจากวิกฤตที่เกิดขึ้น

เข้าใจวงจรชีวิตธุรกิจ

 Resolve & Resilience การแก้ไขปัญหาและความยืดหยุ่น เช่น เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ขึ้นมา เราต้องเตรียมรับมืออย่างไร เพื่อป้องกันพนักงานในองค์กรให้ปลอดภัย ขณะเดียวกันก็สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ด้วย

Return การวางแผนเพื่อกลับสู่การทำธุรกิจให้กลับมาปกติได้เหมือนเดิม เช่น การปรับปรุงเวลาเปิด-ปิด และรูปแบบการจำหน่ายสินค้าตามมาตรการของภาครัฐ

Reimagination การคิดใหม่เพื่ออนาคต เช่น การเตรียมรับมือกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในปีหน้า หรือหากต้องกลับมาล็อกดาวน์อีกครั้งควรเตรียมรับมืออย่างไร

     แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นปัญหาอุปสรรคใหญ่ของ SME คือ การคว้าโอกาสไม่ทันนั่นเอง

อุปสรรคทำให้ SME คว้าโอกาสไม่ทัน

  • การทำธุรกิจทุกอย่างย่อมมีอุปสรรค แต่ควรมองถึงโอกาสที่ซ่อนอยู่
  • เมื่อมองเห็นแล้ว แต่ไม่คว้าเอาไว้ คู่แข่งอาจคว้าเอาไปได้
  • ยกตัวอย่างเช่น ตลาดผู้สูงอายุ จริงๆ แล้ว คือ โอกาสทองของ SME เลย เพราะ
  • การซื้อสินค้าของผู้สูงอายุไม่ได้จำกัดอยู่แค่สินค้าเกี่ยวกับสุขภาพเท่านั้น
  • ผู้สูงอายุ คนวัยทำงาน วัยรุ่นกลับมีการใช้งานอินเตอร์เท่าๆ กันในแต่ละวัน
  • ด้วยกำลังซื้อที่มีค่อนข้างสูง จึงโตสวนกระแสกับเศรษฐกิจ แต่ขณะเดียวกันการแข่งขันก็สูงเช่นกัน

ใช้วิกฤตสู้วิกฤต

     นอกจากจะทำความเข้าใจกับธุรกิจให้มากขึ้นแล้ว ก็ต้องเข้าใจกับวิกฤตที่เกิดขึ้นด้วย รวมถึงพัฒนาธุรกิจตนเองโดยใช้หลักการวิกฤตสู้วิกฤต

  • Cashflow

มีอยู่ 2 แนวทาง คือ 1. เพิ่มเงินทุนที่มี 2. ลดค่าใช้จ่ายลง โดยการหาเงินทุนเพิ่ม เช่น การเพิ่มยอดขาย การวิ่งเข้าหาแหล่งเงินทุน เพื่อมาเสริมสภาพคล่องให้กับธุรกิจ ส่วนการลดค่าใช้จ่าย ได้แก่ ต้นทุนประกอบการ เช่น ต้นทุนวัตถุดิบ ต้นทุนการผลิต, ค่าใช้จ่ายในการบริหาร เช่น เงินเดือนพนักงาน, ค่าใช้จ่ายในการขาย เช่น การขนส่ง การปรับจากหน้าร้านมาเป็นช่องทางออนไลน์

  • Organization Behavior

การปรับองค์กรและพฤติกรรมให้เข้ากับสถานการณ์ที่เป็นอยู่

  • Value Proposition

การสร้างคุณค่าที่แท้จริงขององค์กร คือ อะไร ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจร้านกาแฟ ต้องมองให้ออกว่าจริงๆ แล้วลูกค้าที่เข้ามาต้องการกินกาแฟของเราหรือเสพบรรยากาศมากกว่ากัน ดังนั้นต้องมองให้ออกว่าเรานำเสนออะไรให้ลูกค้า แล้วลูกค้ารับรู้ในสิ่งที่เรากำลังนำเสนออยู่หรือไม่

  • Integration

พลิกทุกกระบวนท่าที่มี เพราะธุรกิจคิดแยกส่วนไม่ได้ ต้องบูรณาการไปด้วยกัน ไม่ว่าการบริหาร การตลาด ไปจนถึงดูการผลิต การขนส่ง การพัฒนาธุรกิจ เพื่อเอาตัวรอดจากวิกฤตพลิกธุรกิจให้กลับมาดำเนินได้ตามปกติ

  • Digitize

ดิจิตอล ไม่ใช่ไม่ได้ ซึ่งไม่ได้มีช่องทางการขายอย่างเดียวเท่านั้น ยังมีเรื่องการประชาสัมพันธ์ให้ใช้ทุกช่องทางที่มี บางทีลูกค้าอาจไม่ได้ซื้อวันนี้ แต่เขารับรู้ถึงการสื่อสารจากเราได้เช่นกัน

จุดแข็งของ SME แตกต่างจากธุรกิจใหญ่

1. มีความคล่องตัวสูง ใช้ความเล็กที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์ ปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

2. มีผู้สนับสนุนจำนวนมาก ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ทุกวันนี้เข้าไปใช้โอกาสจากช่องทางที่มีอยู่มากน้อยแค่ไหน

3. เทคโนโลยี ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ธุรกิจเกิดความเท่าเทียมกันไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ จึงเป็นอีกสิ่งที่ SME ไม่ควรหลีกหนี และต้องปรับตัวให้ได้

     มนุษย์ทุกคนจะอยู่รอดได้ คือ ต้องมีการปรับตัว สถานการณ์ธุรกิจก็เช่นกัน การปรับตัวให้ทันวิกฤตนอกจากได้พัฒนาตัวเองแล้วอาจสร้างโอกาสใหม่ๆ ได้อีกด้วย

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ

ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด ฉบับทายาทรุ่น 3 จาก 3 แบรนด์เก๋า หอยนางรม-น่ำเอี๊ยง-เด็กสมบูรณ์

ธุรกิจครอบครัวที่ผ่านรุ่น 3 ไปได้ต้องทำอย่างไร ? เราจะพาไปดูวิธี ‘ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด’ จาก 3 แบรนด์เก๋า: หอยนางรม - น่ำเอี๊ยง - เด็กสมบูรณ์" ​ ที่ไม่เพียงรักษามรดกครอบครัวไว้ แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ๆ อีกด้วย ​