ส่องโอกาสตลาดหมื่นล้าน อาหารพร้อมทาน Ready to Eat ธุรกิจยังแรงต่อเนื่อง

 

     ในปัจจุบันเรามักจะเห็นอาหารพร้อมทาน (Ready-to-eat) หลากหลายแบรนด์วางไว้ในตู้แช่แข็ง ที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคทำให้อาหารพร้อมทานในประเทศในปี 2563 มีมูลค่าประมาณ 4.4 หมื่นล้านบาท และก็ยังมีแนวโน้มโตต่อเนื่องได้อีก

     อยากรู้ไหมว่าทำไมอาหารพร้อมทานจึงได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น วันนี้ทาง SME THAILNAD ONLINE จะพาทุกคนไปไขข้อสงสัยกันว่าเป็นเพราะสาเหตุอะไร

     แต่ก่อนอื่นเราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักอาหารพร้อมทานกันก่อนว่ามีกี่ประเภท  ซึ่งอาหารพร้อมทานจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

     1. อาหารพร้อมทานแบบแห้งแบบจัดวางบนชั้น (Dried and Shelf Stable Ready-to-eat Food)

     คิดเป็นสัดส่วน 57.1 % ของมูลค่าอาหารพร้อมทานทั้งหมดในประเทศ 

     สัดส่วนอาหารพร้อมทานแบบแห้งคิดเป็น 98.1 %

  • บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 7 %
  • อาหารพร้อมทานแบบจัดวางบนชั้น 9 %

     

     2. อาหารพร้อมทานแช่เย็น-แช่แข็ง (Chilled and Frozen Ready-to-eat Food)

     คิดเป็นสัดส่วน 42.9 % ของมูลค่าอาหารพร้อมทานทั้งหมดในประเทศ

  • อาหารพร้อมทานแช่เย็น (Chilled Ready-to-eat Food)  1 %
  • อาหารพร้อมทานแช่แข็ง (Frozen Ready-to-eat Food) 69.9 %

     

สาเหตุที่ทำให้ธุรกิจอาหาร Ready-to-eat ได้รับความนิยม

     1. รูปแบบการใช้ชีวิตเปลี่ยนแปลงไป Urbanization หรือความเป็นสังคมเมืองของประเทศไทยขยายเพิ่มขึ้น ปัจจุบัน ประมาณ 50% ของประชากร 70 ล้านคนของประเทศอาศัยอยู่ในเขตเมือง และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 72% ภายในปี 2593

     2. พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป ผู้คนใช้ชีวิตบนความเร่งรีบ ซึ่งต้องการสิ่งที่ช่วยให้เขาใช้ชีวิตง่ายและรวดเร็ว ทำให้อาหารพร้อมทานตอบโจทย์ผู้คนในเมืองเป็นอย่างดี และคนนิยมอยู่คนเดียวหรือครอบครัวเล็กๆ อาหารที่เลือกทานก็เป็นอาหารง่ายๆ

     3. การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดจะเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน ผู้คนออกไปทานอาหารข้างนอกไม่ได้ ทำให้ธุรกิจที่ทำอาหารพร้อมทาน (Ready-to-eat) เติบโตมากในช่วงสถานการณ์โควิด-19

     ด้วยสาเหตุนี้ทำให้ธุรกิจอาหารหลายธุรกิจต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อตอบรับความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป

     “เพราะการปรับตัวให้เข้ากับทุกยุคสมัย คือกลยุทธ์ที่สำคัญสำหรับการทำธุรกิจ

     ทุกวันนี้เราจึงได้เห็นผู้ประกอบการธุรกิจอาหารหลายๆ รายได้ปรับตัวหันเข้าสู่ตลาดนี้  โดยมีโควิด-19 เป็นตัวเร่ง ให้แตกไลน์สินค้าเป็นอาหารพร้อมทาน หนึ่งในนั้นคือ ร้านอาหาร “สลัดแฟคทอรี่” ที่ได้แตกไลน์สินค้าทำสลัดพร้อมทานวางขายในซุปเปอร์มาเก็ต หรือแม้แต่ตำมั่ว เจ้าของร้านอาหาร เจ้าของร้านอาหารตำมั่ว ก็ได้หันมาผลิตน้ำปลาร้าตำมั่ว เพื่อสร้างรายได้ให้กับแบรนด์ได้อีกทางหนึ่ง

6 ปัจจัยหนุนตลาด RTE ในประเทศโตต่อเนื่อง

     ไม่แปลกใจที่ธุรกิจหลายๆ รายทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กหันมาจับตลาดนี้เพราะเป็นตลาดที่กำลังเติบโต ในปี 2563 อาหารพร้อมทานมีมูลค่าตลาดในประเทศประมาณ 4.4 หมื่นล้านบาท (แบ่งเป็นอาหารพร้อมทานแบบแห้งและแบบจัดวางบนชั้น 2.5 หมื่นล้านบาทและอาหารพร้อมทานแช่เย็น-แช่แข็งมูลค่า 1.9 หมื่นล้านบาท โดยปัจจัยทำให้ตลาดอาหารพร้อมทานเติบโตมาจาก

     1. การขยายตัวของร้านค้าปลีกสมัยใหม่โดยเฉพาะร้านสะดวกซื้อ ซึ่งมีสาขาจำนวนมากและกระจายไปยังแหล่งชุมชน ทำให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงแหล่งจำหน่ายได้ง่าย และสะดวกในการรับประทาน

     2. การขยายตัวของชุมชนเมือง ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปสู่วิถีชีวิตของสังคมเมืองที่เร่งรีบและต้องการความสะดวกสบาย

     3. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เลือกหลากหลายเมนู และหลากหลายสัญชาติ อาทิ อาหารจีน อาหารญี่ปุ่น อาหารอิตาเลี่ยน

     4. คุณค่าทางโภชนาการมากกว่าอาหารพร้อมทานแบบแห้งจึงดึงดูดผู้บริโภค

     5. เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านรุ่นใหม่ที่เอื้อให้การซื้ออาหารแช่เย็น-แช่แข็งมาบริโภคสะดวกขึ้น เช่น ตู้เย็นสมัยใหม่มีช่องแช่แข็งขนาดใหญ่ และไมโครเวฟมีราคาถูกลง

     6. การจัดโปรโมชั่น ส่วนลด ของร้านค้าปลีกสมัยใหม่จูงใจผู้บริโภค

อนาคตอุตสาหกรรมอาหารพร้อมทาน

     อย่างไรก็ตามศูนย์วิจัยกรุงศรีคาดว่าความต้องการบริโภคอาหารพร้อมทานแช่เย็น-แช่แข็งในประเทศปี 2564 - 2566 จะมีมูลค่าเติบโตต่อเนื่องเฉลี่ย 12 - 14 % ต่อปี โดยอาหารพร้อมทานแช่เย็น และอาหารพร้อมทานแช่แข็งจะเติบโตเฉลี่ย 13 - 14 % ต่อปี และ 12 - 13 % ต่อปี ตามลำดับ

     โดยในช่วงปี 2564 - 2566 ปริมาณความต้องการบริโภคในประเทศมีแนวโน้มเติบโตเฉลี่ย 3 - 4 % ต่อปี การส่งออกในช่วงปี 2564 - 2566 คาดว่ามูลค่าจะเติบโตเฉลี่ย 9 - 10 % ต่อปี

     อาหารพร้อมทานแช่เย็น - แช่แข็งคาดว่าความต้องการบริโภคในประเทศปี 2564 - 2566 จะมีมูลค่าเติบโตต่อเนื่องเฉลี่ย 12 - 14 % ต่อปี โดยอาหารพร้อมทานแช่เย็น และอาหารพร้อมทานแช่แข็งจะเติบโตเฉลี่ย 13 - 14 % ต่อปี และ 12 - 13 % ต่อปี ตามลำดับ ส่วนมูลค่าส่งออกในช่วงปี 2564 - 2566 คาดว่าจะเติบโตเฉลี่ย 11 - 12 % ต่อปี

     ด้วยตลาดที่มีมูลค่าเป็นหมื่นล้าน ทำให้ตลาดการแข่งขันกันย่อมสูง การปรับตัวพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ของอาหารพร้อมทานประเภทอื่น อาทิ อาหารพร้อมทานแบบจัดวางชั้น และอาหารพร้อมทานปรุงสดใหม่ รวมถึงอาหารทดแทนอื่น อาทิ เบเกอรี่ ขนมขบเคี้ยว ธัญพืชอบกรอบ (ซีเรียล) ที่ออกสู่ตลาดมากขึ้น อาจยังเป็นปัจจัยเสี่ยงกดดันการแข่งขันได้ไม่มากก็น้อย

TEXT : กองบรรณาธิการ

ที่มา : https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/Food-Beverage/ready-to-eat-food/IO/io-ready-to-eat-food-21

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ

ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด ฉบับทายาทรุ่น 3 จาก 3 แบรนด์เก๋า หอยนางรม-น่ำเอี๊ยง-เด็กสมบูรณ์

ธุรกิจครอบครัวที่ผ่านรุ่น 3 ไปได้ต้องทำอย่างไร ? เราจะพาไปดูวิธี ‘ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด’ จาก 3 แบรนด์เก๋า: หอยนางรม - น่ำเอี๊ยง - เด็กสมบูรณ์" ​ ที่ไม่เพียงรักษามรดกครอบครัวไว้ แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ๆ อีกด้วย ​