Oh Veggies ธุรกิจที่เกิดจากการมองเห็นโอกาสและช่องว่าง และเติบโตจากการเปลี่ยนปัญหาให้เป็นเงิน

 

 

      ย้อนไปเมื่อ 15 ปีก่อน เมื่อผู้บริโภคในไทยต่างเริ่มหันมาดูแลใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น แต่กลับมีช่องว่างในตลาด ผัก ผลไม้สดมีวางขายอยู่มากมายในท้องตลาด แต่กลับยังไม่มีแบรนด์ใดเลยที่หันมาจริงจังกับการแปรรูปให้เป็นผัก ผลไม้พร้อมรับประทานแบบได้มาตรฐาน จากการเห็นช่องทางโอกาสดังกล่าวจึงทำให้ วุฒิชัย เจริญศุภกุล CEO บริษัท พลังผัก จำกัด ผู้บุกเบิกตลาดผัก-ผลไม้ Ready to Eat ในประเทศไทย ภายใต้แบรนด์ “Oh Veggies” จำหน่ายอยู่ในคอนวีเนียนสโตร์ และร้านสะดวกซื้อ จนปัจจุบันสามารถแตกไลน์ธุรกิจออกมาอีกมากมาย โดยหลักการเดียวที่เขาใช้หาโอกาสให้กับตัวเองตั้งแต่ยังไม่เริ่มต้นทำธุรกิจ จนถึงการต่อยอดธุรกิจให้ใหญ่โตขึ้นมาได้ทุกวันนี้ ก็คือ การสแกนหาปัญหาแท้จริงที่เกิดขึ้นในทุกๆ ช่วงของการทำธุรกิจ และหาทางแก้ปัญหาให้ทันท่วงที

สแกนปัญหา สร้างโอกาสให้ธุรกิจ

      ตั้งแต่เริ่มต้นธุรกิจจนถึงวันที่ธุรกิจเริ่มขยายและเติบโต คุณวุฒิชัยเล่าว่า เขาต้องคอยแสกนปัญหาธุรกิจอยู่ตลอด แม้กระทั่วช่วงที่กำลังจะเริ่มต้นลงมือทำธุรกิจของตัวเอง จากพนักงานออฟฟิศ เมื่อตัดสินใจจะลงมือทำธุรกิจ ก็จำเป้นต้องมีการสำรวจสแกนความต้องการของตลาดและผู้บริโภค ดังนั้นในแต่ละช่วงของการทำธุรกิจปัญหาจะเปลี่ยนรูปแบบไป สำหรับเทคนิคง่ายๆ คือ

  • หา Pain Point

      มองปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อสร้างตลาดที่ชัดเจน โดยขณะนั้นผู้บริโภคอยากมีสุขภาพดี แต่ต้องเร่งรีบกับการทำงาน ทำให้การเตรียมอาหารเป็นเรื่องยาก จากผักผลไม้ในท้องตลาดมีอยู่มากมาย แต่ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของวัตถุดิบขายกันเป็นต้นๆ ผู้บริโภคต้องนำมาตัดแต่งเอง ยังไม่มีการทำเป็นสินค้าพร้อมรับประทานที่ได้มาตรฐานความสะอาด ปลอดภัย

  • คู่แข่งเป็นอย่างไร

      เลือกทำในสิ่งที่ตลาดยังไม่มีคู่แข่ง หรือมีแต่ยังไม่แข็งแรง เพื่อนำเสนอสิ่งที่แตกต่าง และสามารถเอาชนะได้ แม้อาจไม่ใช่สินค้าที่ไม่เคยมีมาก่อน แต่สามารถเลือกวิธีนำเสนอในมุมที่ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อนได้ โดยตลาดในไทยขณะนั้นยังไม่มีแบรนด์สินค้าใดทำผัก ผลไม้ในรูปแบบที่ได้มาตรฐาน และกระจายจำหน่ายในช่องทางที่เข้าถึงผู้บริโภคได้ง่าย สะดวก แต่ในต่างประเทศการทำสินค้าแบบ Ready to Eat กำลังเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น

  • สำรวจเงินทุนที่มี

     เนื่องจากลาออกจากการเป็นพนักงานประจำเพื่อมาลงทุนทำธุรกิจของตัวเอง เงินเก็บสะสมจึงมีอยู่ไม่มาก ดังนั้น

1. ควรเลือกลงทุนในธุรกิจที่เริ่มต้นไม่ต้องใช้เงินลงทุนสูงมากเกินไป

2. สร้างโอกาสจากตลาดที่คู่แข่งยังไม่เยอะ ไม่มีรายใหญ่ เมื่อเจอตลาดที่ใช่ ธุรกิจก็จะเติบโต เงินทุนก็จะค่อยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

  • ประเมินหลังจากลงมือทำไปแล้ว

      ในช่วงแรก Oh Veggies เจาะกลุ่มตลาดไปยังอาคารสำนักงานออฟฟิศด้วยการทำคีออส เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับสินค้าที่สดใหม่ แต่กลับพบว่าไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายที่แท้จริง จากที่ตั้งเป้ายอดขายไว้เพียง 3% แต่กลับทำได้ไม่ถึง 1% ด้วยซ้ำ จึงยกเลิกรูปแบบการขายแบบคีออสในระยะเวลาเพียง 3 เดือนแม้จะลงทุนทำไปแล้วกว่า 12 ตัว และเบนเข็มใหม่สู่สเปเชียลตี้สโตร์ ร้านค้าเพื่อคนรักสุขภาพจริงๆ จึงทำให้ได้รับผลตอบรับที่ดีขึ้น

รู้ปัญหา..หาทางแก้

  • ตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจ เช่น จะเติบโตได้จากช่องทางใดบ้าง สินค้าที่ขาย คือ อะไร ลูกค้าเป็นใคร
  • หมั่นสแกนปัญหาธุรกิจอยู่เสมอ ตั้งแต่ก่อนลงมือทำ ขณะลงมือทำ และผลลัพธ์ที่ได้ รวมถึงอัพเดตความต้องการของตลาดอยู่เสมอ
  • จดบันทึกข้อมูลแต่ละส่วนอย่างละเอียด เช่น ขั้นตอนในกระบวนการผลิต, ตัวเลขทางบัญชีผลกำไร-ขาดทุน, ปัญหาที่เกิดขึ้น, ผลการเปลี่ยนแปลงในแต่ละปี

 

Key Success ธุรกิจ

“เติบโตอย่างยั่งยืน และมีคุณภาพ”

แต่ละปีต้องมียอดขายเพิ่มขึ้น 40% มาจากสินค้าใหม่

  • การเติบโต = การหาตลาดใหม่ๆ
  • ความยั่งยืน = เติบโต + มีกำไร
  • หัวใจสำคัญ = คงคุณภาพให้เหมือนกับการส่งมอบในวันแรกๆ ที่เริ่มต้นธุรกิจ

 

เทคนิคบริหารธุรกิจสไตล์ Oh Veggies

  • มองเห็นตลาดให้ชัดเจน เช่น ความต้องการของผู้บริโภค ระยะเวลาการคืนทุน เพื่อประเมินความเสี่ยง จึงค่อยตัดสินใจลงทุน
  • ประเมินรูปแบบความเสี่ยงที่อาจจะต้องเจอ เพื่อหาวิธีเตรียมตัวรับมือ และแนวทางแก้ไข
  • กำหนดความเสียหายที่ธุรกิจสามารถรับได้ ผลลัพธ์เลวร้ายที่สุดที่รับได้ คือ อะไร เพื่อสุดท้ายแล้วธุรกิจต้องสามารถอยู่ต่อไปได้

รู้-เห็น-เป็น-ใจ

จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ หลักการทำงานของ Oh Veggies ได้สอดคล้องกับหลักการไคเซนของโตโยต้า ด้วยการใช้กลยุทธ์ “รู้ เห็น เป็น ใจ” ในการดำเนินธุรกิจ

รู้ – มีการเก็บข้อมูลธุรกิจอย่างละเอียดอยู่เสมอ ทำให้สามารถมองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นในส่วนต่างๆ ได้ชัดเจน

เห็น – เมื่อมองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ก็เห็นแนวทางแก้ไขที่ชัดเจนได้

เป็น – ลงมือแก้ปัญหาด้วยตนเอง โดยเมื่อเจอแล้วรีบแก้ไขในทันที ทำให้รอดพ้นจากวิกฤตมาได้

ใจ - ใส่ใจดูแลธุรกิจอย่างใกล้ชิดในทุกส่วน ไม่ปล่อยปละละเลย จนทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ ถูกใจในสินค้าและบริการได้

***ข้อมูลจากโครงการ “ถอด DNA ความสำเร็จแบบวิถีโตโยต้า” ในหัวข้อ “แนวคิดในการทำธุรกิจแบบ TOYOTA WAY”

โดย SME Thailand x โตโยต้าธุรกิจชุมชนพัฒน์ 

สนใจเข้าร่วมกิจกรรม คลิก https://toyotatsi.com/course

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ

ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด ฉบับทายาทรุ่น 3 จาก 3 แบรนด์เก๋า หอยนางรม-น่ำเอี๊ยง-เด็กสมบูรณ์

ธุรกิจครอบครัวที่ผ่านรุ่น 3 ไปได้ต้องทำอย่างไร ? เราจะพาไปดูวิธี ‘ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด’ จาก 3 แบรนด์เก๋า: หอยนางรม - น่ำเอี๊ยง - เด็กสมบูรณ์" ​ ที่ไม่เพียงรักษามรดกครอบครัวไว้ แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ๆ อีกด้วย ​