อัยยะ เงาะอบแห้ง ไอเดียทายาทเกษตรกรต่อยอดธุรกิจ แปรรูปสินค้าเพิ่มมูลค่าขึ้นเป็น 100 เท่า

 

 

       เรื่องราวธุรกิจเกือบ 100 ปีที่เริ่มต้นจากเงาะโรงเรียนต้นแรก จนกลายเป็นสินค้าแปรรูปที่มีกลุ่มลูกค้าเป็นชาวต่างชาติ 80-90% และผู้ที่อยู่เบื้องหลังเรื่องนี้คือ รัตนาพร บรรเทิงจิตร เจ้าของบริษัท นาสารฟู้ดโปรดักซ์ จำกัด เรื่องราวการธุรกิจจะเป็นอย่างไร ตามไปอ่านกันได้เลย  

ที่มาของ เงาะโรงเรียน

     เมื่อปี พ.ศ.2469 Mr.K  Wong ชายชาวจีนสัญชาติมาเลเซีย ได้เข้ามาทำเหมืองแร่ที่อำเภอบ้านนาสาร เขาได้นำเงาะปีนังจากถิ่นบ้านเกิดมาปลูกไว้ 4 ต้น ข้างๆ บ้านพัก เมื่อเงาะโตขึ้นและออกผล ปรากฏว่าเงาะทั้งสี่ต้นนี้ มีต้นเดียวเท่านั้นที่มีรสชาติหวาน หอม เนื้อกรอบ เปลือกบาง และต่อมาเมื่อปี 2579 ชาวจีนคนนี้ได้เลิกกิจการทำเหมืองแร่ เขาจึงขายที่ดินให้กับกระทรวงศึกษาธิการ จากนั้นได้พัฒนาปรับปรุงกลายมาเป็นโรงเรียนนาสาร และเมื่อประมาณปี 2489 มีผู้ตอนกิ่งไปขยายพันธุ์ได้เพียง 3-4 รายเท่านั้น 

จุดเริ่มต้นจากเงาะโรงเรียนต้นแรก

     หนึ่งในนั้นก็คือปู่ของ รัตนาพร ที่นำพันธุ์เงาะโรงเรียนต้นแรกมาปลูกที่สวน ซึ่งปู่ของเธอเริ่มทำสวนเงาะมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2490 รวมแล้ว 75 ปี และทำมาจนถึงรุ่นพ่อและรุ่นของเธอ แต่มีช่วงที่เงาะราคาถูกมาก อย่างที่เคยเห็นว่าชาวไร่นำเงาะไปเททิ้งกันจำนวนมาก

      ต้องบอกก่อนว่าเงาะนาสาร นอกจากเป็นของขึ้นชื่อของจังหวัดสุราษฎร์ธานีแล้ว ยังได้รับ GI (Geographical Indications) เป็นเงาะที่ดีที่สุดในประเทศไทยอีกด้วย

      แต่ตอนนี้เงาะนาสารเริ่มค่อยๆ หายไป เพราะว่ามีทุเรียนเข้ามาเข้ามามีบทบาทมากขึ้น และด้วยทุเรียนมีราคาที่ดีกว่าเงาะ คนจึงหันมาปลูกทุเรียนกันมากขึ้น ทำให้คนทำสวนเงาะน้อยลง เพราะนอกจากมีราคาถูกแล้ว ยังมีการแข่งขั้นที่สูง เพราะหนึ่งปีมีรายได้แค่ครั้งเดียว ทำให้เกษรตกรหลายคนซึ่งบางคนเปลี่ยนจากปลูกเงาะมาทำเป็นสวนยาง เพราะว่าสวนยางทำให้เขามีรายได้ตลอดทั้งปี

      แต่แทนที่จะปล่อยให้เงาะโรงเรียนนาสารสูญหายไปตามกาลเวลา ปี 2553 เธอจึงหาวิธีที่จะนำเงาะโรงเรียนมาสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยการเอาไปแปรรูป ซึ่งตอนนั้นยังไม่มีใครทำเงาะแปรรูป มีแต่เงาะกระป๋องอย่างเดียว เมื่อต้องใช้องค์ความรู้ที่มากขึ้นเธอจึงได้ติดต่อและได้รับความร่วมมือจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ถ่ายทอดเทคโนโลยีการทำผลไม้อบแห้ง จึงนำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ จนได้มาเป็น “อัยยะ เงาะอบแห้ง” จากเงาะที่เคยขายในสวนราคากิโลกรัมละ 10-20 บาท ก็สามารถขายได้กิโลกรัมละ 1,000 บาท

นำความโดดเด่นของพื้นที่ มาสร้างความแตกต่าง

      นอกจากเงาะนาสารแล้ว จังหวัดสุราษฎร์ธานียังมีสินค้า GI อีกสองตัวคือ ไข่เค็ม และมะพร้าว รัตนาพร จึงมองว่าบริษัทสามารถนำผลิตภัณฑ์ GI ที่บ้านเกิดมาพัฒนาเป็นสินค้าตัวใหม่ๆ ขึ้นมา อาทิ ชามะพร้าว

       “ซึ่งจะไม่ซ้ำกับพวกน้ำมันมะพร้าว ครีม เราพยายามหาความแตกต่างให้สินค้าที่สามารถขายได้ด้วยตัวของมันเอง คุณประโยชน์ของชามะพร้าวมีมหาศาล น้ำมันมะพร้าวมีประโยชน์อย่างไร ชามะพร้าวก็มีประโยชน์อย่างนั้น”

      และสาเหตุอีกอย่างหนึ่งที่ รัตนาพร เลือกทำชามะพร้าวก็เพราะว่า มะพร้าวมีทุกฤดูกาล เก็บได้ตลอดทั้งปี

และนี่คือเรื่องราวการทำธุรกิจที่เริ่มต้นจากเงาะโรงเรียนต้นแรก แต่สามารถต่อยอดธุรกิจให้อยู่ได้มากว่า 75 ปี

 

TEXT: Momo

PHOTO : IYHA

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ

ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด ฉบับทายาทรุ่น 3 จาก 3 แบรนด์เก๋า หอยนางรม-น่ำเอี๊ยง-เด็กสมบูรณ์

ธุรกิจครอบครัวที่ผ่านรุ่น 3 ไปได้ต้องทำอย่างไร ? เราจะพาไปดูวิธี ‘ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด’ จาก 3 แบรนด์เก๋า: หอยนางรม - น่ำเอี๊ยง - เด็กสมบูรณ์" ​ ที่ไม่เพียงรักษามรดกครอบครัวไว้ แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ๆ อีกด้วย ​