จะให้พักต่อหรือพอแค่นี้ เมื่อลูกค้าอ้าง PDPA ไม่ให้บัตรประชาชน Check In ดูวิธีรับมือของเจ้าของโรงแรม

Text: ณัฏฐพัชร กมลพลพัตร

 

      เป็นเคสที่เริ่มเกิดขึ้นแล้วสำหรับบางโรงแรมในปัจจุบัน

      การที่แขกไม่ให้เอกสารส่วนตัวเหล่านั้นทั้งบัตรประชาชน ใบขับขี่ หรือพาสปอร์ตในการ Check In จริงๆ แล้วมันก็เป็นที่ไม่น่าแปลกใจเท่าไหร่ถ้าแขกจะอ้างถึง พ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) เพราะในใจความแล้วแขกผู้เข้าพักหรือตาม พ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคล นิยามว่าเป็น "เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล" ถ้าว่ากันตามเนื้อหาใน พ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคค ก็มีสิทธิในการยอมรับ หรือ ปฏิเสธในการให้ข้อมูลส่วนบุคคลของตน กับ "ผู้ควบคุมข้อมูล" หรือในที่นี้คือ "โรงแรม" ได้เช่นกันเพราะสาระสำคัญของ พ.ร.บ.ฯ ในเรื่องการจัดเก็บข้อมูลนี้คือ "ต้องแจ้งและได้รับความยินยอมในการให้ข้อมูลจากเจ้าของข้อมูลก่อน" แน่นอนว่าถ้าเขาไม่ให้เก็บเราก็ไม่มีสิทธิเก็บ

      จริงๆ แล้วโรงแรมเองก็มีพ.ร.บ.โรงแรม พ.ศ.2547 ที่มีรายละเอียดในการที่โรงแรมต้องจัดเก็บข้อมูลส่วนตัวของแขกผู้เข้าพัก แต่ทางออกแบบใดถึงจะดีทั้งสองฝ่าย วันนี้ Hotel Man เลยมีแนวทางมาแนะนำซึ่งวิธีที่ใช้ในการบริหารจัดการกรณีนี้ที่ดีที่สุดเป็นแนวทางกัน

โรงแรมมีกฎหมายที่คุ้มครองต้องจัดเก็บข้อมูลการเข้าพัก

      ถ้าว่ากันไปตามสถานการณ์นี่คือในสภาวะอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเข้าพักในโรงแรมเพราะเมื่อพูดถึงการเข้าพักในโรงแรม เราจะมีกฎหมายอีกตัวหนึ่งที่คุ้มครองและกำหนดให้โรงแรมต้องจัดเก็บข้อมูลการเข้าพักของแขกผู้เข้าพักอยู่นั่นคือ พ.ร.บ.โรงแรม พ.ศ.2547 ที่มีรายละเอียดในการที่โรงแรมต้องจัดเก็บข้อมูลส่วนตัวของแขกผู้เข้าพักคือ

      มาตรา 35 ที่ระบุว่าแขกผู้เข้าพักต้องกรอกรายละเอียดใน "บัตรทะเบียนผู้เข้าพัก ร.ร.3" รวมทั้ง มาตรา 36 โรงแรมต้องมีหน้าที่นำส่งข้อมูลผู้เข้าพักใน "ทะเบียนผู้เข้าพัก ร.ร.4" ให้กับหน่วยงานฝ่ายปกครอง และต้องเก็บไว้เป็นระยะเวลา 1 ปี ในสภาพที่ตรวจสอบได้ โดยถ้าโรงแรมไม่ปฏิบัติตามกฎก็จะมีบทลงโทษทางปกครองตาม มาตรา 56 ที่ปรับตั้งแต่สองหมื่นถึงหนึ่งแสนบาทและไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทตามมาตรา 57 ซึ่งแน่นอนว่า "เมื่อแขกมีสิทธิไม่ให้ข้อมูลการเข้าพักโดยอ้าง พ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคล โรงแรมก็มีสิทธิปฏิเสธการเข้าพักเพื่อป้องกันการถูกบทลงโทษทางปกครองได้เช่นกัน

ทางออกของปัญหาที่ดีที่สุด

      แต่ที่จริงแล้วนี่ไม่ใช่ทางออกของปัญหาที่ดีที่สุดโดยเฉพาะในสถานการณ์นี้เพราะมันจะเป็นการสู้กันไปสู้กันมามันเป็นข้อปฏิบัติที่ผิดหลักของ "การเดินทางเพื่อท่องเที่ยว" ที่เน้นการมาพักผ่อนและปล่อยวางมากกว่า ในจุดนี้การแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุดเวลาแขกไม่ให้เอกสารดังที่กล่าวมาแล้วอ้าง พรบ.ข้อมูลส่วนบุคคล เราอาจช่วยอธิบายให้แขกเข้าใจได้ว่า "ในกรณีที่แขกจะเข้าพักนั้นการให้ข้อมูลส่วนบุคคลกับโรงแรมเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำโดยสามารถให้เหตุผลตามข้อยกเว้นในการอนุญาตให้โรงแรมสามารถจัดเก็บข้อมูลส่วนตัวของแขกผู้เข้าพักได้โดยอ้างอิงจากตัวของ พรบ.ข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งประกอบด้วย

      พ.ร.บ. ข้อมูลส่วนบุคคล มาตรา 22 การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล ให้เก็บรวบรวมได้เท่าที่จำเป็นภายใต้วัตถุประสงค์อันชอบด้วยกฎหมาย

  • กรณีนี้โรงแรมจัดเก็บข้อมูลตาม พ.ร.บ.โรงแรม พ.ศ.2547 เหตุผลก็เพื่อเป็นไปตามมาตรการรักษาความปลอดภัยให้กับแขกผู้เข้าพักกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน เกิดการเจ็บป่วย จะได้สามารถระบุตัวตนและให้ความช่วยเหลือหรือติดต่อญาติพี่น้องได้ ซึ่งข้อมูลที่จัดเก็บส่วนใหญ่ก็เป็นเท่าที่จำเป็นตามที่ พ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคลกำหนดซึ่งสอดคล้องกับการที่โรงแรมต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.โรงแรม พ.ศ.2547

 

      มาตรา 24 (6) ห้ามมิให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลทำการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เว้นแต่ "เป็นการปฏิบัติตามกฎหมายของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล"

  • กรณีนี้ค่อนข้างชัดเจนว่า โรงแรมทำการจัดเก็บข้อมูลเพื่อเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายใน พรบ. โรงแรม พ.ศ.2547 และยังเกี่ยวข้องกับเรื่องของ "ความมั่นคงของประเทศ" อีกด้วยเพราะเราต้องรับแขกจากหลายเชื้อชาติทั้งในไทยและต่างประเทศเราไม่มีทางรู้ว่าใครเป็นใคร? ดังนั้นการปฏิบัติตามกฎหมายที่ได้กำหนดไว้จึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด

 

      มาตรา 24 (3) ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีการจัดเก็บรวบรวมและระยะเวลาในการเก็บรวบรวมไว้ ในกรณีที่ไม่สามารถกำหนดระยะเวลาได้ชัดเจน ให้กำหนดระยะเวลาที่อาจคาดหมายได้ตามมาตรฐานของการเก็บรวบรวม

  • กรณีนี้เราสามารถอธิบายเพิ่มเติมได้ว่า “การจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของแขกตาม ร.ร. 3 และการบันทึกใน ร.ร.4” นั้น มีระยะเวลาการจัดเก็บ 1 ปี หากเลยระยะเวลานั้นแล้วแขกไม่ต้องการให้โรงแรมจัดเก็บข้อมูลอีกก็สามารถแจ้งความประสงค์ได้เป็นลายลักษณ์อักษณ ก็จะช่วยสร้างความเข้าใจอันดีให้แขกได้อีก

 

ต้องมีระบบ Cyber Security มีมาตรฐาน

      แน่นอนว่าเคสการที่แขกไม่ให้เอกสารประจำตัวโดยอ้าง พ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคล เป็นอะไรที่เกิดขึ้นได้แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะเกิดขึ้นกับแขกทุกคน เพราะในกรณีเดียวกันแขกบางคนก็ยังคงปฏิบัติตามปกติในการให้เอกสารส่วนตัวในการลงทะเบียนเข้าพัก

       แต่สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของโรงแรมในฐานะ “ผู้ควบคุมข้อมูล” คือการจัดเก็บและรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่ได้จัดเก็บจากแขกไม่ให้รั่วไหลที่ต้องมีขั้นตอนทั้งการจัดเก็บเป็นกระดาษเอกสารที่ต้องไม่หลุดรอดออกไปด้านนอกและให้คนอื่นนำไปใช้ประโยชน์ทางธุรกิจจนส่งผลกระทบกับแขกหรือแม้แต่การที่ต้องมีระบบ Cyber Security ที่ต้องมีมาตรฐานที่สูงกว่าเดิมเพื่อป้องกับการถูกจารกรรมข้อมูล

      ทั้งหมดนี้สิ่งสำคัญที่เราชาวโรงแรมต้องเจอกันต่อไปก็คือ “การอธิบายและให้ข้อมูล” ในข้อสงสัยกับแขกซึ่งก็เป็นงานที่พนักงานโรงแรมทำกันอยู่แล้วทุกวันและนี่อาจจะเป็นอีกเคสหนึ่งที่ยังใหม่แต่ก็จะกลายเป็น New Normal ไปในที่สุด

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ

ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด ฉบับทายาทรุ่น 3 จาก 3 แบรนด์เก๋า หอยนางรม-น่ำเอี๊ยง-เด็กสมบูรณ์

ธุรกิจครอบครัวที่ผ่านรุ่น 3 ไปได้ต้องทำอย่างไร ? เราจะพาไปดูวิธี ‘ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด’ จาก 3 แบรนด์เก๋า: หอยนางรม - น่ำเอี๊ยง - เด็กสมบูรณ์" ​ ที่ไม่เพียงรักษามรดกครอบครัวไว้ แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ๆ อีกด้วย ​