How to Start เปลี่ยนไอเดียที่ดีเป็นธุรกิจที่ใช้ได้ ควรทำทันทีหรือคิดให้ดีก่อน

TEXT : ภัทร เถื่อนศิริ

 

      วันก่อนผมได้มีโอกาสพูดคุยกับทีมงานของการตลาดวันละตอนครับ และได้รับคำถามนี้มาว่า “เราจะเปลี่ยนไอเดียที่ดีเป็นธุรกิจที่ใช้ได้อย่างไร” ผมรู้สึกว่าเป็นคำถามที่ดี จึงอยากจะนำมาแบ่งปันมุมมองสำหรับเรื่องนี้กันครับ

     ผมเชื่อว่าหลายๆ ท่านคงมีช่วงเวลาที่เราคิดไอเดียธุรกิจออกมาได้ไม่มากก็น้อย แต่พอมีไอเดียแล้วก็จะมีบางส่วนที่ลงมือทำเลย กับอีกกลุ่มนึงที่ขอคิดดูก่อน จะดีกว่าไหมครับถ้าเรามีวิธีที่สามารถช่วยเหลือทั้งสองกลุ่มได้ คือ ลดความเสี่ยงให้กับกลุ่มแรก และเพิ่มความมั่นใจให้กับกลุ่มที่สอง

     ซึ่งหากเราจะประสบความสำเร็จในธุรกิจนั้น เราจะต้องประสบความสำเร็จสองครั้ง ครั้งแรกคือในจินตนาการ และครั้งที่สองที่เกิดขึ้นจริง

     ดังนั้นขั้นตอนแรกเลยเราควรทดสอบไอเดียในจินตนาการก่อนเลยว่า

1. มีความมีเหตุมีผลไหม มีข้อมูลสนับสนุนไอเดียนั้นไหม ถ้าไม่มีหรือข้อมูลต่างๆ ขัดแย้ง เราอาจจะปัดไอเดียที่มีความเสี่ยงตกไปก่อนได้เลย

2. มีความเป็นไปได้ไหม (ข้อนี้หลายคนตกม้าตายไม่ได้คิดก่อนบ่อยมากๆ ที่ผมเจอ) กล่าวคือ สำหรับผม ผมจะคำนวน Feasibility เบื้องต้นก่อนเลยว่าหากเราทำสินค้า / ผลิตภัณฑ์นี้ออกสู่ตลาดแล้ว จะคุ้มทุนไหม หลายเคสของเพื่อนผมคือลงมือทำไปแล้ว แล้วมาคำนวน Feasibility ที่หลังถึงพึ่งทราบว่าทำยังไงก็ไม่คุ้มทุน น่าเสียดายมากครับ

3. สามารถขยายตัวและสเกลได้ไหม (อันนี้เป็นทางเลือกนะครับ เพราะความต้องการในการทำธุรกิจของแต่ละคนไม่เหมือนกัน) แต่สำหรับผมผมชอบที่จะขยายธุรกิจเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าให้ได้มากขึ้น และสามารถเติบโตแบบ Exponential ได้โดยที่ต้นทุนเพิ่มไม่มาก

      จากแค่คำถามไม่กี่ข้อข้างต้นก็สามารถกลั่นกรองไอเดียธุรกิจของเราให้แข็งแรงขึ้นได้อย่างมากแล้วครับ หากจะเจ๊งก็เจ๊งในกระดาษ/ความคิดของเราก็พอจะได้ไม่เจ็บตัวเยอะ อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงในการเริ่มทำธุรกิจของเราต่อไปได้ด้วยครับ

คำถามต่อไปคือแล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าไอเดียที่เรามีสามารถเกิดเป็นธุรกิจได้?

      วิธีการของผมคือ “Test ตลาดอย่างมีเหตุมีผล“ คือ ถ้าเรามั่นใจกับข้อมูลการทดสอบไอเดียของเราข้างต้นแล้ว การทดสอบตลาดจะเป็นการแก้ปัญหาซะส่วนใหญ่เพื่อทำให้สินค้า/ผลิตภัณฑ์ของเรานั้นตอบสนองผู้บริโภคได้ดีขึ้น หลากหลายมากขึ้น ช่วงนี้เรื่องของ Attitude + Relearn จะสำคัญมาก เพราะเราต้องเรียนรู้และรับข้อมูลเรื่องราวใหม่ๆ ปรับความคิดให้ทันสมัยกับข้อมูลใหม่ๆ เพื่อพัฒนาธุรกิจอย่างต่อเนื่อง

      Progress is impossible without CHANGE; and those who cannot CHANGE their minds cannot CHANGE everything

—George Bernard Shaw

      ความก้าวหน้าจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลง คนที่ไม่สามารถเปลี่ยนความคิดได้ จะไม่สามารถเปลี่ยนอะไรได้เลย

      โดยโจทย์ที่ยากที่สุดในการเริ่มต้นทำธุรกิจ คือ การผ่านหุบเหว Monetize ให้ได้ หลายๆ ธุรกิจเริ่มต้นมาจะยังไม่กำไร / หรือมีกำไรแต่ยังไม่ Break Even ยังขาดทุนโดยรวมในการลงทุนไป ถ้าเราพัฒนาธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เปิดรับเรื่องราวข้อมูลใหม่ๆ แล้วนำไปแก้ไขพัฒนาผมเชื่อว่าเราจะสามารถนำพาธุรกิจผ่านหุบเหวแห่งความสิ้นหวังนี้ไปได้ครับ

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ

ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด ฉบับทายาทรุ่น 3 จาก 3 แบรนด์เก๋า หอยนางรม-น่ำเอี๊ยง-เด็กสมบูรณ์

ธุรกิจครอบครัวที่ผ่านรุ่น 3 ไปได้ต้องทำอย่างไร ? เราจะพาไปดูวิธี ‘ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด’ จาก 3 แบรนด์เก๋า: หอยนางรม - น่ำเอี๊ยง - เด็กสมบูรณ์" ​ ที่ไม่เพียงรักษามรดกครอบครัวไว้ แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ๆ อีกด้วย ​