อยากส่งออกอาหารไปเกาหลีใต้ ต้องรู้ เทรนด์ผู้บริโภคแดนกิมจิในยุค Next Normal

 

 

     หลายคนคงคุ้นเคยกับกิมจิ อาหารขึ้นชื่อของเกาหลีที่ดังมาหลายปีในทั่วโลก แล้วปัจจุบันนี้ผู้บริโภคเกาหลีชอบทานอาหารประเภทไหนหลังจากวิกฤตโควิด-19  แล้วทำไมตลาดเกาหลีถึงน่าสนใจ วันนี้ทาง SME THAILAND ONLINE จะพาไปหาคำตอบกัน       

      ข้อมูลจากกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ระบุว่า เกาหลีใต้เป็นตลาดคู่ค้าสำคัญของไทยที่น่าจับตามอง เนื่องจากไทยมียอดส่งออกสินค้าไปเกาหลีใต้ขยายตัวสูงต่อเนื่อง โดยในช่วงเดือน ม.ค.-พ.ย. 2564  ไทยส่งออกไปเกาหลีใต้ มูลค่า 5,373 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 39% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งสินค้าส่งออกสำคัญของไทยที่มีการเติบโตเพิ่มขึ้น ได้แก่ สินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูป ส่งออกมูลค่า 987 ล้านเหรียญสหรัฐ 21%  อาทิ

  • ยางพารา 62%
  • อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป 37%
  • น้ำตาลทราย 27%
  • ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง 25%
  • ปลาหมึก (มีชีวิต สด แช่เย็นแช่แข็ง) 11%

 

      ปี 2565 คาดว่าแนวโน้มเศรษฐกิจของเกาหลีใต้จะขยายตัวเพิ่มขึ้น จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจในประเทศ ส่งผลให้ความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้ากลุ่มวัตถุดิบที่ใช้ในภาคการผลิตของเกาหลีใต้อยู่ในช่วงขาขึ้น จึงเป็นโอกาสที่ผู้ประกอบการไทยจะขยายส่งออกไปตลาดเกาหลีใต้ 

เทรนด์อาหารในเกาหลีใต้ยุค Next Normal

      ประเทศเกาหลีใต้เป็นประเทศที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นด้านอาหาร และใช้อาหารเป็นหนึ่งใน Soft power ที่สำคัญที่ส่งเสริมให้ภาพลักษณ์ของเกาหลีใต้เป็นที่ชื่นชอบไปทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นกิมจิ ต็อกบกกี ไก่ทอด และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป นอกจากนี้ อาหารและรูปแบบการทานอาหารของชาวเกาหลีใต้ยังสามารถสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรม และสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปได้อีกด้วย ทำให้เทรนด์อาหารหลักในเกาหลีใต้ในปัจจุบัน สามารถแบ่งได้ ดังนี้

1. เทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพ

  •  อาหารจากพืช (Plant-based food) อุตสาหกรรมเนื้อสัตว์จากพืชในเกาหลีใต้กำลังเริ่มเติบโตขึ้น ตามข้อมูลของสหภาพมังสวิรัติของเกาหลี จำนวนผู้ไม่ทานเนื้อสัตว์ (ทานมังสวิรัติ) เพิ่มขึ้น 3 เท่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จากสถิติแสดงให้เห็นว่า 1 ใน 5 ของประชากรเกาหลีใต้กำลังลดการบริโภคเนื้อสัตว์ และจำนวนของผู้บริโภคกลุ่ม Flexitarian เพิ่มขึ้น ซึ่งผู้บริโภคกลุ่มนี้มักจะเลือกทานอาหารทางเลือกจากพืชเมื่อมีโอกาส นอกจากนี้ กลุ่มมิลเลนเนียลยังมีบทบาทสำคัญที่จะเปลี่ยนนิสัยการบริโภคแบบดั้งเดิมและหันมาใช้ทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

 

  • อาหารที่มีคุณค่าทางอาหารสูง/โปรตีนสูง ในสังคมเกาหลี รูปร่างหน้าตามีความสำคัญ ผู้คนจึงให้ความสำคัญกับการรักษารูปร่างให้ดีอยู่เสมอ โดยปัจจุบันไม่เพียงแต่นักกีฬาหรือผู้ที่ออกกำลังกายสร้างกล้ามเนื้อเท่านั้นที่ให้ความสนใจในอาหารที่มีโปรตีนสูง ผู้คนทั่วไปก็ให้ความสนใจเช่นกัน ในตลาดเกาหลีจึงมีผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปที่มีโปรตีนสูงเกิดขึ้น มากมาย นอกเหนือจากผงโปรตีนชงดื่มที่มีจำหน่ายโดยทั่วไป

 

  • อาหารดั้งเดิมที่เพิ่มคุณค่าทางอาหาร บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปถือเป็นอาหารโปรดหรือ Comfort food ของชาวเกาหลี จากสถิติพบว่า ในปี 2563 ชาวเกาหลีบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเฉลี่ย 79.7 ซอง/คน/ต่อปี1 แต่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปก็ไม่ใช่อาหารที่ดีต่อ สุขภาพมากนัก โดยเฉลี่ยบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 1 ซองจะให้พลังงาน 500 กิโลแคลลอรี่ มีทั้งคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และ โซเดียมที่สูง ทำให้ผู้ที่ใส่ใจต่อสุขภาพหลีกเลี่ยงการรับประทานบะหมี่ดังกล่าว

 

  • บริษัท Nongshim ผู้นำด้านการผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในเกาหลีและผู้ผลิตบะหมี่ Shin Ramyun ได้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบไม่ทอด (Non-fried) เพื่อตอบสนองต่อเทรนด์รักสุขภาพในปัจจุบัน โดยสามารถลดปริมาณแคลลอรี่ได้ถึง 30% (ซึ่งจะเหลืออยู่ที่ประมาณ 350 กิโลแคลลอรี่ต่อ 1 ซอง) และยังได้ขยายการผลิตเส้นแบบไม่ทอดในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสชาติอื่นๆ ด้วย

 

  • อาหารเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน/ วิตามินต่างๆ ในช่วงโควิด-19 ยอดจำหน่ายอาหารเสริมเพื่อสุขภาพในเกาหลีใต้เติบโตขึ้น 13% หรือคิดเป็น 2.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากผู้บริโภคมองหาวิธีเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ตนเอง ให้ร่างกายแข็งแรงปลอดภัย จากโรคต่างๆ

 

  • ทั้งนี้ ยอดจำหน่ายโสมแดงเติบโตถึง 263% วิตามิน D เติบโต 212% และ Biotics เติบโต 192% ไม่เพียงแต่อาหารเสริมเท่านั้น ปัจจุบันยังนิยมน้ำแร่ธาตุวิตะมิน และสารสกัดจากธรรมชาติต่างๆ มาผสมในอาหาร หรือทำมาในรูปแบบที่กินง่ายและมีรสชาติที่ดีขึ้น เช่น เครื่องดื่มผสม Probiotics Kombucha รสชาติต่างๆ เพื่อ ช่วยในการขับถ่าย เป็นต้น

 

2. เทรนด์อาหารตามการเปลี่ยนแปลงของสังคม

  • อาหารผู้สูงอายุ  ในปี 2564 เกาหลีมีจำนวนผู้ที่อายุมากกว่า 65 ปีถึง 16.5% หรือ 8.53 ล้านคน ซึ่งถือว่าเข้าสู่ สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged society) และคาดว่าจำนวนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนเป็นสัดส่วน 43.9% ในปี 2583 ตลาดอาหารผู้สูงอายุจึงเป็นอีกหนึ่งตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งกระทรวงความปลอดภัย อาหารและยาเกาหลีใต้ได้ให้คำจำกัดความของอาหารที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ (Aging-friendly Foods) ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตหรือแปรรูป โดยการปรับคุณสมบัติทางกายภาพของอาหาร เพื่อช่วยผู้สูงอายุในการรับประทาน อาหาร หรือย่อยอาหาร ให้เป็นรูปแบบที่ย่อยง่าย และมีการปรับองค์ประกอบทางโภชนาการให้เหมาะสม

 

  • Meal kit หรือชุดวัตถุดิบที่ถูกจัดเตรียมมาสำหรับปรุงอาหารเมนูใดเมนูหนึ่ง โดยวัตถุดิบในกล่อง จะถูกล้างทำความสะอาด หั่นและปรุงรสมาเรียบร้อย พร้อมที่จะนำไปปรุงสุกสำหรับรับประทาน ปัจจุบัน Meal kit เป็นที่นิยมในเกาหลีใต้ เนื่องจากสะดวก รสชาติที่ดี และลดขยะอาหาร เนื่องจากจะจัดมาเป็นชุด ไม่เหลือเศษ เหมาะกับสภาพสังคมปัจจุบันที่มีความเร่งรีบมากขึ้น

 

  • อาหารเดลิเวอรี่ ตลาดอาหารเดลิเวอรี่ของเกาหลีใต้ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกาและจีน โดย ในปี 2563 มียอดผู้ในงานแอปพลิเคชัน Coupang Eats เพิ่มสูงถึง 748,000 คน เพิ่มขึ้น 4 เท่าจากปีก่อนหน้า ไม่ เพียงแต่ Coupang Eats เท่านั้น ในเกาหลีใต้ยังมีบริษัทพัฒนาแอปพลิเคชัน Delivery อีกหลายบริษัท ไม่ว่าจะเป็น Baedal Minjok Yogiyo และ Shuttle โดยในปี 2564 บริษัท Woowa Brothers ผู้ดำเนินการแอพส่งอาหารอันดับ 1 ของเกาหลีใต้อย่าง Baedal Minjok ได้มียอดขายถึงเกือบ 2 พันล้านเหรียญ หรือเติบโตขึ้น 85.3% จากปีก่อนหน้า แสดงให้เห็นถึงการเติบโตอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมนี้ในช่วงโควิด-19

 

  • Home Drinking เนื่องจากมาตรการและข้อจำกัดต่างๆ ในช่วงโควิด-19 ผู้บริโภคจึงเลือกที่จะดื่มแอลกอฮอล์ที่บ้าน แทนการไปดื่มที่ผับหรือบาร์ ซึ่งส่งผลให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป และหันมาบริโภคไวน์มากขึ้นเพื่อให้เข้ากับบรรยากาศการดื่มที่บ้าน โดยในปี 2564 มูลค่าการนำเข้าไวน์ในเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นถึง 76% จากปีก่อนหน้า เป็นมูลค่า 506.2 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยประเทศผู้ส่งออกไวน์มายังเกาหลีได้แก่ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา ชิลีและสเปน ตามลำดับ ทั้งนี้ วิสกี้ก็เป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่น จึงมีมูลค่าการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน ในทางตรงกันข้ามมูลค่าการนำเข้าเบียร์ลดลง 1.7% ซึ่งเป็นการลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 3

 

  • อาหารรสชาติแปลกใหม่ ความนิยมของรสชาติอาหารที่แปลกใหม่และผสมผสานเข้ากับอาหารที่มีอยู่ เช่น Mint chocolate การผสมระหว่างมิ้นต์ที่เป็นสมุนไพร และช็อคโกแลตที่เป็นขนม เป็นที่นิยมโดยเฉพาะในกลุ่มเจนเนอ เรชั่น MZ

 

      และนี่คือเทรนด์อาหารในเกาหลีใต้ยุค Next Normal ที่ธุรกิจส่งออกสินค้าต้องรู้ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และควรติดตามอุตสาหกรรมอาหารในเกาหลีใต้อย่างใกล้ชิด เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์และโอกาสในการค้าและการ ส่งออกในอนาคต

 

ข้อมูลจาก :https://www.ditp.go.th/ditp_web61/article_sub_view.php?filename=contents_attach/777792/777792.pdf&title=777792&cate=586&d=0

https://www.mreport.co.th/news/government-news/328-Export-Thailand-to-South-Korea-2021

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ

ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด ฉบับทายาทรุ่น 3 จาก 3 แบรนด์เก๋า หอยนางรม-น่ำเอี๊ยง-เด็กสมบูรณ์

ธุรกิจครอบครัวที่ผ่านรุ่น 3 ไปได้ต้องทำอย่างไร ? เราจะพาไปดูวิธี ‘ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด’ จาก 3 แบรนด์เก๋า: หอยนางรม - น่ำเอี๊ยง - เด็กสมบูรณ์" ​ ที่ไม่เพียงรักษามรดกครอบครัวไว้ แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ๆ อีกด้วย ​