เศรษฐกิจตกต่ำ จะสร้างผลกำไรระยะยาวได้อย่างไร ฟังแนวคิดจากผู้บริหาร เอบีม คอนซัลติ้ง

 

     ในยุคที่ข้าวยากหมากแพงแบบนี้ การหาลูกค้ารายใหม่คงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ แต่มีวิธีหนึ่งที่สามารถสร้างรายได้ให้บริษัทด้วยกลยุทธ์การพัฒนาประสบการณ์ของลูกค้า (Customer experience:CX) ซึ่งไม่ใช่แค่จะสร้างความภักดีต่อแบรนด์ แต่ยังส่งผลในแง่ยอดผลกำไรระยะยาวได้อีกด้วย

     เหมือนกับบริษัทเกมที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดแห่งหนึ่งในญี่ปุ่นอย่าง ‘Nintendo’ ที่ได้ใช้กลยุทธ์ที่ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลางช่วยเพิ่มความนิยมอย่างฉับพลันของเกมบางเกมในช่วงโควิด-19

     อิชิโร ฮาระ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า แนวโน้มการทำ CX เพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้า กำลังเติบโตอย่างทวีคูณ นั่นเพราะลูกค้าคาดหวังว่าจะได้รับประสบการณ์ทางธุรกิจที่ดีจากช่องทางออนไลน์ จึงเป็นผลให้ทุกบริษัทอยู่ภายใต้แรงกดดันในการส่งมอบประสบการณ์ที่ดีให้แก่ลูกค้า

     จากการวิจัยและการสำรวจของ เอบีม คอนซัลติ้ง ต่อพนักงานที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารในประเทศญี่ปุ่น พบว่าประเด็นหลักที่ผู้บริหารต่างให้ความสำคัญสามอันดับแรกในการทำดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชัน (DX) นั้น ได้แก่ "การสร้างธุรกิจใหม่" ที่ 25 เปอร์เซ็นต์ ตามด้วย "การติดต่อกับลูกค้าในรูปแบบดิจิทัล" ที่ 14 เปอร์เซ็นต์ และ "การพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่" ที่ 13 เปอร์เซ็นต์

     “เราได้เรียนรู้จากการสำรวจในข้างต้นว่าการที่จะบรรลุความเป็นเลิศในการสร้างประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้า (CX) นั้น
เราจะต้องทรานส์ฟอร์มโมเดลธุรกิจและพุ่งเป้าความสำคัญไปที่การมุ่งเน้นความพึงพอใจของลูกค้าเป็นหลัก”

     ด้วยเหตุนี้ บริษัทและธุรกิจจึงต้องเรียนรู้วิธีปรับตัวให้เข้ากับยุคดิจิทัลในปัจจุบันและหันมาพึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้นเพื่อที่บริษัทและธุรกิจจะประสบความสำเร็จในการทำ Customer experience transformation ให้สำเร็จ อิชิโร แนะว่าจะต้องมีองค์ประกอบหลัก 3 ประการ คือ

     1. การขยาย – สร้างประสบการณ์ลูกค้าใหม่ๆ ผ่านวิวัฒนาการของเทคโนโลยีดิจิทัล การขยายประสบการณ์ลูกค้า หมายถึงการค้นหาโอกาสทางธุรกิจจากการกำหนดภาพในอนาคตที่ต้องการ จากนั้นจึงทำงานย้อนกลับมาหรือที่เรียกว่าการทำ "Back casting" เช่น การขยายคลังความรู้ด้วยการปรับปรุง AI รวมถึงการขยายพื้นที่จัดเก็บข้อมูลโดยใช้ iCloud ซึ่งทั้งสองวิธีนี้ได้เพิ่มความสามารถในการเข้าถึงและรับรองประสบการณ์ของลูกค้าที่ดีขึ้นในพื้นที่ดิจิทัล

     “มองอีกมุมหนึ่งเราสามารถทำความเข้าใจหลักการนี้จากการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมของผู้บริโภค เพราะในอดีตผู้คนมักลังเลที่จะให้ข้อมูลส่วนบุคคลเพราะกลัวเรื่องความปลอดภัย แต่ทุกวันนี้ เราแทบจะไม่คิดอะไรเลยตอนสมัครใช้บริการใหม่ต่างๆ เนื่องจากได้รับประโยชน์จากการให้บริการดังกล่าว และ "Virtual ID" ในปัจจุบันยังทำให้ผู้คนมีข้อมูลและตัวตนอยู่บนโลกดิจิทัล การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมดังกล่าวของลูกค้าซึ่งเกิดจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีนั้น ได้กลายเป็นองค์ประกอบหลักของประสบการณ์ลูกค้า รูปแบบพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปเหล่านี้ได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจอุตสาหกรรมแบบดั้งเดิมมากขึ้น อย่างเช่นธุรกิจยานยนต์ด้วย ที่เส้นทางของผู้บริโภค (Customer Journey) นั้นมักคู่กับการออกเเบบเพื่อเพิ่มความสะดวกให้แก่ลูกค้าตลอดอายุการใช้งานรถยนต์นั้นๆ”

     2. การใช้ Feedback เพื่อปรับปรุง – สร้างโมเดลธุรกิจตามความคิดเห็นของลูกค้า

     หลังจากค้นพบโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินธุรกิจให้มุ่งเน้นไปที่ความต้องการของลูกค้ามากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น บริษัทที่ทำธุรกิจ SaaS (Software-as-a-Service) ได้เปิดตัวแอปพลิเคชันใหม่ และเผยแพร่เวอร์ชั่นเบต้าให้ผู้ใช้ทดสอบบริการ ในกรณีดังกล่าวบริษัทก็ควรรวบรวมความคิดเห็นของผู้ใช้ และทำการเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงให้สอดคล้องกับความคิดเห็นที่ได้รับมาอย่างเร็วที่สุด การทำงานแบบนี้จะช่วยให้มั่นใจได้ว่าบริษัทจะพัฒนาธุรกิจโดยคำนึงถึงความคิดเห็นของลูกค้าอยู่ตลอดเวลา

     อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าความคิดเห็นของลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญ แต่ในขณะเดียวกันบริษัทควรที่จะต้องยืนหยัดเพื่อสิ่งที่เชื่อว่าเป็นการตัดสินใจบนหลักการที่ถูกต้อง ไม่ใช่ตามลูกค้าในทุกๆ เรื่อง

     3. การขยายห่วงโซ่คุณค่าผ่านการร่วมมือ – ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมร่วมกับพันธมิตรและลูกค้า

     เพื่อเป็นการส่งมอบประสบการณ์อันมีคุณค่าให้กับลูกค้าอย่างรวดเร็วผ่านผลิตภัณฑ์และบริการที่ลูกค้าต้องการ หรือในบางครั้งลูกค้าอาจไม่รู้ตัวว่าพวกเขากำลังต้องการสิ่งเหล่านั้นอยู่ก็เป็นได้ บริษัทจึงอาจค้นพบว่าจำเป็นที่จะต้องร่วมมือกับบริษัทอื่นๆ หรือลูกค้า ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ เพื่อซื้ออุปกรณ์ วัสดุ หรือความรู้เพื่อนำมาพัฒนาและเพิ่มคุณค่าของประสบการณ์ลูกค้า

     ตัวอย่างของการร่วมมือที่ดี โดยบริษัทเครื่องสำอางข้ามชาติของญี่ปุ่น อย่าง ‘ชิเซโด้’ ที่เข้าซื้อกิจการบริษัทสตาร์ทอัพแห่งหนึ่งในสหรัฐฯ ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการใช้เครื่องมือดิจิทัลมาปรับแต่งเครื่องสำอางให้เหมาะกับลูกค้าแต่ละคนโดยเฉพาะ ทำให้ชิเซโด้ได้รับการขนานนามว่าเป็นอนาคตแห่งวงการอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง อย่างไรก็ตาม การร่วมมือกันระหว่างบริษัทมักมาพร้อมกับความเสี่ยง เช่น การลงทุนที่ล้มเหลว ดังนั้นบริษัทต่างๆ จึงจำเป็นต้องมีแผนสำรองเสมอ เพื่อเป็นการเตรียมมาตรการรับมือสำหรับสถานการณ์ดังกล่าวที่อาจเกิดขึ้นกับพันธมิตรของตนได้อย่างมี

     "ในขณะที่ประสบการณ์ของลูกค้ามักจะถูกหยิบยกขึ้นมากล่าวถึงอยู่บ่อยครั้ง แต่มีบริษัทเพียงไม่กี่แห่งที่มุ่งมั่นที่จะพัฒนาเส้นทางการเดินทางของลูกค้า หรือ Customer journey map จึงส่งผลให้มีช่องว่างในการพัฒนาปรับปรุงอีกมาก และเพื่อให้ก้าวทันต่อความคาดหวังของลูกค้า บริษัทต่างๆ จะต้องส่งมอบประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมให้กับลูกค้ารวมถึงชี้ให้เห็นถึงอนาคตของการทำดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชัน ที่จะเข้ามาช่วยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้ได้ในระยะยาว สิ่งนี้เองจะเป็นการช่วยให้ธุรกิจของพวกเขาได้เปรียบเหนือคู่แข่ง"

     “จุดประสงค์ของขั้นตอนเหล่านี้คือการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืนโดยมุ่งเน้นไปที่การสร้างความพึงพอใจของลูกค้า ซึ่งถือเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการสร้างผลกำไรให้แก่ธุรกิจ แม้ในช่วงเวลาที่สถานการณ์เศรษฐกิจตกต่ำ” นายอิชิโร ฮาระ กล่าวทิ้งท้าย

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ

ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด ฉบับทายาทรุ่น 3 จาก 3 แบรนด์เก๋า หอยนางรม-น่ำเอี๊ยง-เด็กสมบูรณ์

ธุรกิจครอบครัวที่ผ่านรุ่น 3 ไปได้ต้องทำอย่างไร ? เราจะพาไปดูวิธี ‘ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด’ จาก 3 แบรนด์เก๋า: หอยนางรม - น่ำเอี๊ยง - เด็กสมบูรณ์" ​ ที่ไม่เพียงรักษามรดกครอบครัวไว้ แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ๆ อีกด้วย ​