น้ำแข็ง วัตถุดิบก้อนเล็กๆ ต้นทุนที่ร้านอาหาร ร้านกาแฟไม่ควรมองข้าม

 

     คุณเคยสงสัยไหมร้านเครื่องดื่มแต่ละร้านถึงใช้น้ำแข็งไม่เหมือนกัน?

     ทุกคนก็มักจะรู้ดีอยู่แล้วว่าประเทศไทยเราเป็นเมืองร้อนแบบร้อนมาก ซึ่งอยากถามถึงฤดูหนาวเลย แทบจะไม่มี เมื่อประเทศไทยเป็นเมืองร้อนสิ่งที่ทำให้คนไทยสดชื่นได้ก็คือ อะไรที่เย็นๆ หวานๆ ซึ่งความเย็นที่ว่านั้นก็มีส่วนผสมของน้ำแข็งเป็นส่วนประกอบ และน้ำแข็งที่เราเห็นในทุกวันมีหลากหลายชนิด วันนี้เราเลยจะพาทุกคนดูว่าน้ำแข็งแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร

ใครเป็นคนนำน้ำแข็งเข้ามาในประเทศไทย

     น้ำแข็งก้อนแรกของไทยเดินทางมาพร้อมกับเรือกลไฟชื่อ ‘เจ้าพระยา’ ของพระภาษีสมบัติบริบูรณ์ (ยิ้ม พิศลยบุตร) โดยใส่มาในหีบไม้ฉำฉาและกลบด้วยขี้เลื่อยเพื่อรักษาอุณหภูมิเอาไว้ ซึ่งในสมัยก่อนน้ำแข็งเป็นเรื่องแปลกใหม่สำหรับคนไทยมาก ส่วนใหญ่มักถูกแจกจ่ายให้เจ้านายและขุนน้ำขุนนาง ทำให้ตอนนั้นคนส่วนใหญ่ยังไม่เคยเห็น และไม่เชื่อว่าน้ำแข็งมีจริง ทางราชการจึงเอาน้ำแข็งใส่ถาดตั้งไว้ให้ราษฎรดูที่พิพิธภัณฑสถาน ซึ่งสมัยนั้นตั้งอยู่ที่ตึกศาลาสหทัย

     กว่าไทยจะสามารถผลิตน้ำแข็งได้ด้วยตนเองก็ต้องรอจนถึงรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 เมื่อมีการตั้งโรงน้ำแข็งแห่งแรกของไทยชื่อ “น้ำแข็งสยาม”  โดยพระยาภักดีนรเศรษฐ (เลิศ เศรษฐบุตร) ทำให้ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่าโรงน้ำแข็งนายเลิศ หลังจากผลิตน้ำแข็งเองได้ และนี่ก็คือที่มาของนำแข็งในประเทศไทยเรา

น้ำแข็งแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร

  • น้ำแข็งสี่เหลี่ยม (Cube ice)

     เป็นน้ำแข็งที่ได้รับความนิยมทั้งในไทยและต่างประเทศ ซึ่งน้ำแข็งสี่เหลี่ยมนี้จะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบด้วยกันคือ แบบเต็มก้อน (Full Cube) และแบบครึ่งก้อน (Half Cube) และน้ำแข็งสีเหลี่ยมจะละลายช้ากว่าน้ำแข็งประเภทอื่นๆ เนื่องจากมีความหนาแน่นสูง สามารถรักษาอุณหภูมิความเย็นไว้ได้นาน มีความเย็นต่อเนื่องหลายชั่วโมง นอกจากนี้ยังไม่ทำลายรสชาติของเครื่องดื่มอีกด้วย เพราะฉะนั้นนำแข็งประเภทนี้จึงเหมาะสำหรับกลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มประเภทค็อกเทล เครื่องดื่มประเภทชาเย็น กาแฟเย็นได้ หรือเครื่องดื่มแบบชงเป็นอย่างดี แม้แต่ร้านอาหารชั้นนำต่าง ๆ พร้อมทั้งร้านกาแฟและโรงแรม มักจะเลือกใช้น้ำแข็งสี่เหลี่ยมกันเป็นหลัก

  • น้ำแข็งหลอด (Bullet ice)

     จะเห็นได้ว่าร้านเครื่องดื่มส่วนใหญ่น้ำมักจะใช้น้ำแข็งชนิดนี้กัน น้ำแข็งหลอดจะแบ่งออกเป็น 2 แบบด้วยกันคือ แบบหลอดเล็ก และแบบหลอดใหญ่

     1. น้ำแข็งหลอดเล็ก (Small Gourmet Ice Cubes) มีขนาด 2 ซม. จะให้คุณสมบัติพิเศษที่ทำให้ละลายช้า แถมยังให้ความเย็นของเครื่องดื่มอยู่ได้นานและทำให้เครื่องดื่มไม่จืดจางเร็ว  นอกจากนี้ยังเหมาะกับเครื่องดื่มเมนูประเภทปั่น  เพราะมีขนาดเล็กเลยทำให้ปั่นง่าย

     2. น้ำแข็งหลอดใหญ่ (Gourmet Ice Cubes) มีขนาด 4 ซม. ซึ่งจะละลายช้าเนื่องจากมีความหนาแน่นสูง แต่ก็ขึ้นอยู่กับกระบวนการผลิตด้วย เพราะฉะนั้นน้ำแข็งหลอดใหญ่จึงเหมาะสำหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเป็นที่นิยมในกลุ่มธุรกิจ ผับบาร์ โรงแรม หรือโรงงาน เป็นต้น

  • น้ำแข็งเกล็ด (Granular ice)

     จะมีความหนาแน่นของน้ำประมาณ 70% จึงทำให้น้ำแข็งชนิดนี้มีลักษณะที่กรอบ ให้ความเย็นเร็ว ไม่สามารถเก็บรักษาอุณหภูมิความเย็นไว้ได้นาน และละลายง่ายที่สุดในน้ำแข็งประเภทต่าง ๆ แต่น้ำแข็งชนิดนี้ก็สามารถนำมาใช้ได้หลากหลายประโยชน์ด้วยกัน เช่น จะใช้แช่อาหารสด เนื้อสัตว์ ผักผลไม้ได้ดี และยังทำให้อาหารที่แช่ไว้ไม้เป็นรอยชำและสดใหม่อยู่เสออีกด้วย หรือใส่ในน้ำหวาน เครื่องดื่มน้ำอัดลม จึงเหมาะสำหรับธุรกิจประเภทร้านขายอาหารสด

  • น้ำแข็งแบบแผ่น ( Flake ice )

     น้ำแข็งแบบแผ่นเหมาะสมต่อการนำไปแช่อาหารสดเป็นหลัก และไม่เหมาะสมต่อการนำมาบริโภค ส่วนใหญ่จะถูกนำไปใช้ในกลุ่มอุตสาหกรรมจำพวกเนื้อสัตว์มากกว่า หรือไม่ก็ถูกนำไปใช้ในห้องเย็นที่มีการแช่อาหารสดเป็นหลัก โดยเฉพาะในต่างประเทศนิยมเป็นอย่างมาก

  • น้ำแข็งก้อนกลม (Ice Ball)

จะมีขนาดประมาณ 1-2 นิ้ว ส่วนใหญ่มีรูปทรงและขนาดที่แน่นอน เพราะจะผลิตจากบล็อกน้ำแข็ง เลยทำให้น้ำแข็งชนิดนี้เก็บอุณหภูมิความเย็นของเครื่องดื่มไว้ได้นาน ละลายช้าไม่ทำให้รสชาติของเครื่องดื่มเปลี่ยน ซึ่งจะเหมาะกับเครื่องดื่มที่มีราคาแพง ส่วนใหญ่จะพบเห็นในบาร์ ภัตตาคารหรู เป็นต้น

พออ่านถึงตรงนี้แล้วคุณก็จะรู้ว่าน้ำแข็งแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งก็อยู่ที่ธุรกิจแล้วว่าจะเลือกใช้นำแข็งแบบไหนที่เหมาะสมกับธุรกิจของคุณ

มาดูกันว่าน้ำแข็งราคาเท่าไร

  • น้ำแข็งหลอดใหญ่ บรรจุกระสอบละ 20 กิโลกรัม ราคา 24 บาท
  • น้ำแข็งหลอดเล็ก บรรจุกระสอบละ 20 กิโลกรัม ราคา 24 บาท
  • น้ำแข็งเกล็ด บรรจุกระสอบละ 150 กิโลกรัม ราคา 72 บาท

 

     ถ้าสมมติว่าร้านของคุณใช้น้ำแข็งหลอดเล็กวันละ  5 กระสอบ ต้นทุนค่าน้ำแข็งต่อวันก็จะอยู่วันละ 5*24 = 120 บาท ซึ่งถ้าคิดเป็นเดือนคุณจะต้องจ่ายเงินค่าน้ำแข็ง 120*30 = 3,600 บาท และเป็นปี 3,600*12 = 43,200 บาท แต่ถ้าคุณเลือกใช้น้ำแข็งที่ถูกประเภทต้นทุนค่าน้ำแข็งของคุณอาจจะลดลงก็ได้ เพราะจากข้อมูลข้างต้นน้ำแข็งแต่ละประเภทมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน

ที่มา :

https://bit.ly/3Skd96n

https://bit.ly/3zMU8lU

https://bit.ly/3BACL92

https://bit.ly/3bjSP4E

 

 

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ

ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด ฉบับทายาทรุ่น 3 จาก 3 แบรนด์เก๋า หอยนางรม-น่ำเอี๊ยง-เด็กสมบูรณ์

ธุรกิจครอบครัวที่ผ่านรุ่น 3 ไปได้ต้องทำอย่างไร ? เราจะพาไปดูวิธี ‘ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด’ จาก 3 แบรนด์เก๋า: หอยนางรม - น่ำเอี๊ยง - เด็กสมบูรณ์" ​ ที่ไม่เพียงรักษามรดกครอบครัวไว้ แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ๆ อีกด้วย ​