7 เรื่อง Plant based food ที่คนทำธุรกิจต้องรู้

 

     ถูกกล่าวถึงอย่างหนาหูขึ้นทุกวันกับเทรนด์ Plant based Food ที่หลายสำนักวิจัยต่างออกมาบอกว่าเป็นตลาดที่น่าจับตาอย่างยิ่ง ว่ากันว่าอาจจะกลายเป็นอนาคตหรือกระแสหลักวงการอาหารโลกในอนาคต

     BIS Research ประเมินว่าตลาด Plant-based Food ของโลกมีมูลค่าประมาณ 4.2 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ และคาดว่าในปี 2019-2024 จะเติบโตเฉลี่ยปีละ 14% ส่วนมูลค่าตลาด Plant-based Food ของไทยอาจแตะระดับ 4.5 หมื่นล้านบาทในปี 2024 หรือเติบโตเฉลี่ยปีละ 10% เป็นตัวเลขที่ทาง Krungthai COMPASS ได้คาดการณ์ไว้

1.Plant Based Food คืออะไร?

     หลายคนอาจเข้าใจว่า Plant based Food เป็นเรื่องใหม่ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว Plant based Food ไม่ใช่เรื่องใหม่พวกเราต่างคุ้นเคยกับ Plant based Food มานานแล้ว แต่เป็นในรูปแบบของโปรตีนเกษตรซึ่งเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้บริโภคอาหารมังสวิรัติ

     จากที่เคยรู้จักในแวดวงจำกัด จุดเปลี่ยนสำคัญของตลาด Plant based Meat โลกเกิดขึ้นในปี 2019 เมื่อ Beyond Meat และ Impossible Foods ถือเป็นเจ้าแรกๆ ของโลกที่หันมาบุกตลาด Plant based Food อย่างจริงจัง จากการเปิดตัวเนื้อวัวที่ทำจากพืช ซึ่งได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดีในตลาดสหรัฐฯ จนสร้างชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก และได้กลายเป็น Game Changer ในการสร้างความเปลี่ยนแปลงเทรนด์อาหารของโลกที่ทำให้เนื้อจากพืช

     ดังนั้น Plant based Food เป็นผลิตภัณฑ์อาหารในกลุ่มโปรตีนทางเลือกที่ใช้วัตถุดิบที่ทำจากพืช เช่น ถั่ว เห็ด สาหร่าย ข้าวโอ๊ต อัลมอนด์ ซึ่งให้โปรตีนสูง แต่พัฒนารสชาติกลิ่น และสีสัน ให้เหมือนผลิตภัณฑ์จากสัตว์

2.เหตุผลที่ Plant based Food เป็นธุรกิจที่น่าจับตา

     2.1 ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการมีสุขภาพดีมากขึ้น

     หลายคนลดการทานเนื้อสัตว์หันมาทานโปรตีนจากพืชแทน ผลสำรวจของ The Good Food Institute พบว่า ยอดขายอาหารในกลุ่ม Plant-based Food ในสหรัฐฯ พุ่งสูงขึ้น 11.4% ในปี 2019 ซึ่งเป็นอัตราเติบโตที่สูง เมื่อเทียบกับการขยายตัว 2.2% ของตลาดอาหารในภาพรวม

     2.2 กระแส Flexitarian หรือ ผู้บริโภคมังสวิรัติแบบยืดหยุ่น เติบโตต่อเนื่อง

     จากข้อมูลของ Deloitte (2019) ชี้ให้เห็นว่า กลุ่มที่เลิกหรือลดการบริโภคเนื้อสัตว์ในอังกฤษเพิ่มขึ้นถึง 2.6 เท่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการเพิ่มขึ้นของกลุ่ม Flexitarian เป็นหลัก

     2.3 กระแสรักษ์สิ่งแวดล้อมและตระหนักถึงสวัสดิภาพสัตว์ (Animal Welfare) เพิ่มสูงขึ้น

     จากข้อมูลโดย Arizton ชี้ให้เห็นว่า พื้นที่ทำฟาร์มปศุสัตว์ทั่วโลกคิดเป็นถึง 77% ของพื้นที่เกษตรกรรมทั้งหมด แต่กลับให้ผลผลิตที่กลายเป็นอาหารของมนุษย์ได้เพียง 17% รวมทั้งการคำนึงถึง “สวัสดิภาพสัตว์” (Animal Welfare) ได้รับการเลี้ยงและดูแลให้สัตว์มีความเป็นอยู่ในสภาวะที่เหมาะสม มีสุขอนามัยที่ดี ก็เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้ Plant-based Food เป็นที่นิยมมากขึ้น

     2.4 ปัญหา Food Security

     การเพิ่มขึ้นของประชากรโลกในระยะต่อไปจะยิ่งนำไปสู่ความท้าทายในการสร้างความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) จากข้อมูลของสหประชาชาติ (United Nations) คาดว่า จำนวนประชากรโลกอาจสูงถึง 9.7 พันล้านคนในปี 2050 และนั่นหมายความว่าความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ก็อาจเพิ่มขึ้นจาก 280 ล้านตันในปัจจุบัน เป็น 570 ล้านตันหรือเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า

     2.5 เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านอาหารเติบโตอย่างก้าวกระโดด

     2.6 COVID-19 ยิ่งทำให้ความกังวลในการบริโภคเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้น

 3.Plant based Food ประเภทไหนน่าสนใจ?

     ทั้งนี้ Plant based Food กลุ่มที่น่าจับตามอง ได้แก่

     1) กลุ่ม Plant based Meat

     ส่วนหนึ่งมาจากในระยะหลังๆ ร้านอาหารชื่อดังหลายแห่งเริ่มนำเสนอ เมนูอาหารที่เจาะกลุ่มลูกค้าที่ไม่รับประทาน เนื้อสัตว์ในไทยมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคคุ้นชินกับผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้มากขึ้น

     2) กลุ่ม Plant based Meal กลุ่มนี้ได้รับอานิสงส์จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวกรวดเร็วในการ รับประทาน แต่ยังเน้นเรื่องสุขภาพ

     3) กลุ่ม Plant based Egg แม้ในต่างประเทศจะมีสัดส่วนตลาดไม่ใหญ่นัก แต่มีอัตราการเติบโตสูง เนื่องจากสามารถ ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่หลากหลาย ทั้งในกลุ่มที่ดูแลสุขภาพ รวมถึงกลุ่มผู้บริโภคที่แพ้ผลิตภัณฑ์จากไข่ อีกทั้งข้อดีของ Plant based Egg คือ มีอายุการเก็บรักษา (Shelf Life) ที่นานกว่าผลิตภัณฑ์ไข่ทั่วไป

     4) กลุ่ม Plant-based Milk & Dairy เป็นตลาดที่ใหญ่และผู้บริโภคคุ้นเคยกับสินค้าในกลุ่มนี้ แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการเข้ามาเล่นตลาดนี้กันมากขึ้น จึงทำให้การแข่งขันค่อนข้างรุนแรง

4. ผู้ประกอบการประเภทไหนที่มี Potential ขยายตลาดไปสู่ Plant based Food

     1) ธุรกิจแปรรูปเนื้อสัตว์ (Processed Meat) และผลิตภัณฑ์จากปศุสัตว์ (Animal Product) เนื่องจากบริษัทเหล่านี้อยู่ในตลาดอาหารในกลุ่มโปรตีนอยู่แล้ว การต่อยอดไปสู่ตลาด Plant based Meat จึงไม่ใช่เรื่องยาก

     2) ธุรกิจผลิตอาหารสำเร็จรูปทั้งแบบพร้อมปรุงและพร้อมทาน (Ready-to-cook and Ready-to-eat) เนื่องจากเป็นกลุ่มที่สามารถใช้ Plant based Food มาพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย ตลอดจนการผลิตอาหารสำเร็จรูปแบบพร้อมทานที่ตอบโจทย์ชีวิตคนรุ่นใหม่ที่เน้นสะดวก รวดเร็ว แต่ยังคงให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพ

5. ช่องทางจำหน่าย

     5.1 Business-to-consumer: B2C ยอดขายหลักของตลาด Plant based Food ทั้งในไทยและต่างประเทศในปัจจุบันขยายตัวตามการเติบโตของตลาด B2C ผ่านช่องทางร้านค้าปลีกสมัยใหม่และ Online

     5.2 Business-to-business: B2B ตลาด B2B น่าจะมีบทบาทมากขึ้นในอนาคต โดยข้อมูลของบริษัทวิจัยตลาด NPD ระบุว่าในปี 2019 ยอดสั่งซื้อ Plant based Meat ของร้าน Foodservice ในสหรัฐฯ เติบโตถึง 37%YoY

6. ปัจจัยที่ทำให้ Plant based food สำเร็จ

     1) 52% คือ เรื่องรสชาติ

     2) 39% คือ เรื่องสุขภาพ

7. ทำธุรกิจ Plant based Food ต้องรู้จักใครบ้าง?

     เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ Plant based food เป็นที่ยอมรับของตลาดอย่างกว้างขวาง อาจจะต้องมีการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์และการร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมเป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการประสบความสำเร็จในตลาด Plant based Food ได้ง่ายขึ้น ซึ่งปัจจุบันก็มีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

     1) Ingredient Makers ส่วนใหญ่มีบริษัทแม่จากต่างประเทศ ซึ่งในการเลือกที่จะเป็น Partner กับ Ingredient Makers รายใด อาจพิจารณาเบื้องต้นจากชื่อเสียงและความเชี่ยวชาญของประเภทสารอาหาร เช่น บริษัท ADM ที่มีการพัฒนาส่วนผสมของสารอาหารที่ทำจากพืชและสารอาหารประเภทโปรตีนที่หลากหลายให้ผู้ผลิตอาหารสามารถนำไปใช้ได้อย่างง่ายดาย

     2) หน่วยงานวิจัยจากภาครัฐหรือสถาบันการศึกษา เช่น สถาบันอาหาร ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์  คณะเทคโนโลยีอาหาร มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นต้น

ที่มา : Krungthai COMPASS

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ

ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด ฉบับทายาทรุ่น 3 จาก 3 แบรนด์เก๋า หอยนางรม-น่ำเอี๊ยง-เด็กสมบูรณ์

ธุรกิจครอบครัวที่ผ่านรุ่น 3 ไปได้ต้องทำอย่างไร ? เราจะพาไปดูวิธี ‘ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด’ จาก 3 แบรนด์เก๋า: หอยนางรม - น่ำเอี๊ยง - เด็กสมบูรณ์" ​ ที่ไม่เพียงรักษามรดกครอบครัวไว้ แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ๆ อีกด้วย ​