รู้หรือไม่ 9 ค่าใช่จ่ายใช้ลดหย่อนภาษีธุรกิจ SME ได้

 

     ในการทำธุรกิจสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือ เรื่องภาษี เพราะว่าต้องจ่ายทุกปี ซึ่งการจ่ายภาษีทำให้ค่าใช่จ่ายที่เพิ่มขึ้น วันนี้เราจะพาทุกคนไปดูว่าค่าใช่จ่ายอะไรบ้างที่สามารถนำเอามาลดหย่อนภาษีได้

     1. ค่าจดทะเบียนบริษัท ค่าทำบัญชีและค่าสอบบัญชี

     เฉพาะบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคล มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบ ไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าและบริการในรอบฯ ไม่เกิน 30 ล้านบาท สามารถนำค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ค่าทำบัญชี และค่าสอบบัญชี เป็นเวลา 5 รอบปีบัญชีต่อเนื่องกัน มาหักเป็นค่าใช้จ่ายลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า

  • สำหรับบริษัทที่มีกำไรสุทธิไม่เกิน 300,000 บาท ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • สำหรับบริษัทที่มีกำไรสุทธิเกิน 300,000 บาท แต่ไม่เกิน 3,000,000 ล้านบาท อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลคิดเป็นร้อยละ 15
  • สำหรับบริษัทที่มีกำไรสุทธิเกิน 3,000,000 ขึ้นไป อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลคิดเป็นร้อยละ 20

     

     2. ค่าระบบและอุปกรณ์ที่สนับสนุนระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์

      ธุรกิจ SME ที่มีทุนชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท มีรายได้จากการขายสินค้าและบริการไม่เกิน 30 ล้านบาท  สามารถนำค่าใช้จ่ายที่ซื้อหรือจ้างทำระบบและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ มาหักออกจากรายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ตามที่จ่ายไปจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท ในแต่ละรอบฯ ปี 2564 และ 2565 โดยสามารถใช้สิทธิในแต่ละรอบ และต้องไม่เป็นโปรแกรมประเภทเดียวกัน  ซึ่งสามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายได้ 2 เท่า

     3. ค่าเสื่อมคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์

  • หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นในวันที่ได้รับทรัพย์สินมาในอัตราร้อยละ 40 ของมูลค่าต้นทุน
  • ส่วนมูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือ ให้หักภายใน 3 รอบฯ นับตั้งวันที่ได้ทรัพย์สินมา

 

4. ค่าเสื่อมอาคาร โรงงาน

     สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทรัพย์สินถาวร (ไม่รวมที่ดิน) ไม่เกิน 200 ล้านบาท และมีแรงงานไม่เกิด 200  คนสามารถลดหย่อนภาษีค่าเสื่อมอาคารโรงงานได้ดังนี้

  • หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นในวันที่ได้รับทรัพย์สินมาในอัตราร้อยละ 25 ของมูลค่าต้นทุน
  • มูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือ ให้หักในแต่ละรอบฯ ไม่เกินร้อยละ 5 นับตั้งแต่ได้รับทรัพย์สินนั้นมา

 

     5. ค่าเสื่อมเครื่องจักร และอุปกรณ์ของเครื่องจักร

สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทรัพย์สินถาวร (ไม่รวมที่ดิน) ไม่เกิน 200 ล้านบาท และมีแรงงานไม่เกิด 200  คนสามารถลดหย่อนภาษีค่าเสื่อมอาคารโรงงานได้ดังนี้

  • หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นในวันที่ได้รับทรัพย์สินมาในอัตราร้อยละ 40 ของมูลค่าต้นทุน
  • มูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือ ให้หักในแต่ละรอบฯ ไม่เกินร้อยละ 20 นับตั้งแต่ได้รับทรัพย์สินนั้นมา

 

     6. ค่าจ้างงานผู้สูงอายุ

ธุรกิจ SME ใดที่จ้างผู้สูงอายุมาทำงานในบริษัทสามารถเอาค่าจ้างผู้สูงอายุมาเป็นรายจ่ายของนิติบุคคลได้ ซึ่งสามารถหักรายจ่ายได้ 2 เท่า แต่พนักงานผู้สูงอายุต้องมีเงื่อนไขดังนี้

  • มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
  • เป็นลูกจ้างบริษัทอยู่ก่อนแล้วหรือขึ้นทะเบียนกับกรมการจัดหางาน
  • ค่าจ้างจะต้องไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท
  • มีการจ้างงานผู้สูงอายุไม่เกิน 10% ของจำนวนลูกจ้างทั้งหมด
  • ผู้สูงอายุต้องไม่เป็นและไม่เคยเป็นกรรมการหรือผู้ถือหุ้นของบริษัทที่จ้างหรือบริษัทในเครือ

 

     7. ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมพนักงาน

     ธุรกิจ SME ที่ส่งพนักงานไปฝึกอบรม เพื่อเป็นการส่งเสริมการฝึกอบรมพัฒนาฝีมือแรงงานสามารถนำค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการฝึกอบรมไปลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า แต่ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังนี้

กรณีส่งพนักงานเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรม

  • ค่าใช้จ่ายในการศึกษาเช่น ค่าเล่าเรียน หรือค่าใช้จ่ายการฝึกอบรม เช่น ค่าลงทะเบียน รวมถึงค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าเดินทางที่สถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมเรียกเก็บจากบริษัท
  • มีใบเสร็จรับเงินของสถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรม
  • กำหนดเงื่อนไขให้เข้าทำงานหลังศึกษาหรือฝึกอบรมเสร็จ
  • จัดทำรายงานหรือค่าใช้จ่ายดังกล่าว

 

กรณีฝึกอบรมให้ลูกจ้างของตนเอง

  • เป็นหลักสูตรที่จัดขึ้นเพื่อพัฒนาแรงงานหรือฝีมือของลูกจ้าง ซึ่งได้รับการรับรองจากกระทรวงแรงงาน และค่าใช้จ่ายเป็นไปตามที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงแรงงาน
  • ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ของกิจการ
  • ต้องจัดทำทะเบียนลูกจ้างเพื่อเป็นหลักฐานการทำงาน
  • กำหนดเงื่อนไขให้เข้าทำงาน
  • อุปกรณ์ที่จะใช้ในการฝึกอบรมต้องกำหนดขนาดและคุณสมบัติ เพื่อมิให้ปะปนกับที่ใช้ในการประกอบกิจการตามปกติของบริษัท

 

     8. ค่าวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม

     ธุรกิจ SME ที่ต้องการใชสิทธิลดหย่นภาษีรายจ่ายที่จ่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้แก่ หน่วยงานของรัฐหรือเอกชน ต้องยื่นโครงการต่อ สวทช. เพื่อตรวจสอบและรับรอง และสามารถนำค่าใช้จ่ายเหล่านี้มาหักเป็นค่าใช้จ่ายลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า

     9. เงินบริจาค

     ธุรกิจ SME ที่บริจาคเงินให้กับองค์กร มูลนิธิ หรือที่อื่น ๆ สามารถเอามาใช้ลดหย่อนภาษีได้ แต่มีเงื่อนไขดังนี้

  • บริจาคให้กับกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ สามารถนำมาหักรายจ่ายได้เท่ากับจำนวนเงินหรือมูลค่าที่บริจาค แต่ต้องไม่เกิน 2 % ของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่าย
  • บริจาคให้กับสถาบันการศึกษา ทั้งภาครัฐ, เอกชน และสถาบันอุดมศึกษาสามารถนำมาหักรายจ่ายได้ 2 เท่า แต่ต้องไม่เกิน 10% ของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายเพื่อการกุศล
  • บริจาคให้กับกองทุนวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม รวม 4 กองทุน สามารถหักรายจ่ายได้ 2 เท่าของจำนวนเงินที่บริจาค เมื่อรวมกับรายจ่ายที่เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษา และรายจ่ายที่กำหนดแล้วต้องไม่เกิน 10% ของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่าย

 

     และนี่คือ  9 ค่าใช้จ่ายที่สามารถลดหย่อนภาษีได้ ซึ่งช่วยให้ธุรกิจจ่ายเงินค่าภาษีที่ลดน้อยลงจากเดิม

ที่มา : https://www.rd.go.th/47331.html

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5-%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%84%E0%B8%A5/

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ

ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด ฉบับทายาทรุ่น 3 จาก 3 แบรนด์เก๋า หอยนางรม-น่ำเอี๊ยง-เด็กสมบูรณ์

ธุรกิจครอบครัวที่ผ่านรุ่น 3 ไปได้ต้องทำอย่างไร ? เราจะพาไปดูวิธี ‘ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด’ จาก 3 แบรนด์เก๋า: หอยนางรม - น่ำเอี๊ยง - เด็กสมบูรณ์" ​ ที่ไม่เพียงรักษามรดกครอบครัวไว้ แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ๆ อีกด้วย ​