Service charge เรื่องที่ SME ไม่ควรมองข้าม ทำอย่างไรให้ถูก กฎ กติกา

TEXT : กองบรรณาธิการ

 

      เรื่องนี้เป็นประเด็นร้อนแรงในโลกออนไลน์เป็นอย่างมาก ทำให้ทุกคนก็ต้องคำถามว่าตกลงต้องจ่ายค่า Service charge (เซอร์วิสชาร์จ) หรือไม่ เรื่องนี้สะท้อนถึงผู้ประกอบการเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นเรื่องที่ห้ามมองข้ามอย่างเด็ดขาด จากเมื่อก่อนอาจเป็นเรื่องที่เล็ก ๆ น้อยๆ แต่ปัจจุบันอาจจะไม่ใช่ เพราะว่าเรื่องนี้อาจทำให้ลูกค้าไม่ประทับใจ ส่งผลเสียต่อธุรกิจของคุณได้ วันนี้เราเลยจะพาผู้ประกอบการทุกคนไปรู้เรื่องนี้กัน และไปดูวิธีการคำนวณค่าเซอร์วิสชาร์จว่าคำนวณอย่างไรไม่ให้ขาดทุน ตามมาดูกันเลย

Service charge คืออะไร

       ก่อนอื่นต้องมาทำความรู้จักกันก่อนว่าเซอร์วิสชาร์จคืออะไร Service charge คือ ค่าบริการที่ผู้ประกอบการขายสินค้า คิดเพิ่มขึ้นจากค่าสินค้าหรือบริการที่ผู้บริโภคเข้ามาซื้อหรือใช้บริการของทางร้าน ซึ่งการเก็บค่าเซอร์วิสชาร์จเป็นการเก็บเพื่อนำรายได้มาแบ่งให้พนักงานในแต่ละเดือน นั่นถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของรายได้ของพนักงานภายในร้าน

สิ่งที่ผู้ประกอบการควรรู้เกี่ยวกับ Service charge

      สำหรับธุรกิจร้านอาหารไหนต้องการที่จะเก็บค่าเซอร์วิสชาร์จกับผู้ที่มาใช้บริการ สิ่งที่ต้องรู้คือ

1. อัตราการเรียกเก็บค่า Sevice Charge ที่เหมาะสม ตามกฎหมายที่กรมการค้าภายในกำกับอยู่ คือ"ต้องไม่เกิน 10% เพราะเป็นอัตราที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่รับทราบตามสากล และรับได้

2. ต้องติดป้ายให้ลูกค้าเห็นชัดเจน และบอกให้ผู้บริโภคทราบก่อนว่าการเข้ามาใช้บริการกับทางร้านมีการเก็บService Charge หรือให้พนักงานแจ้งที่หน้าร้านก็ได้เช่นกัน เพราะว่าถ้าหากไม่แจ้งลูกค้าก่อนล่วงหน้า ลูกค้ามีสิทธิที่จะไม่จ่ายค่า Service Charge ให้กับทางร้าน

3. Service Charge จะถูกแบ่งให้พนักงานบริการภายในร้าน ซึ่งต้องมีการเซ็นสัญญาจ้างถูกต้องตามกฎหมายกำหนด และจะเป็นรายได้แยกจากเงินเดือนของพนักงาน

ข้อดี – ข้อเสีย ของการเก็บ Sevice Charge     

      อย่างที่บอกไปแล้วข้างต้นว่าข้อดีข้อการเก็บค่าเซอร์วิสชาร์จคือ ช่วยเพิ่มรายได้ให้กับพนักงาน ถ้าเกิดว่ามีการเซ็นสัญญาจ้างตามกฎหมาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการควรให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพราะว่าจะเป็นสิ่งที่สามารถจูงใจให้กับพนักงานได้ และจะทำให้พนักงานจะมีความคิดเชิงบวกกับธุรกิจ ส่งผลให้พวกเขาตั้งใจทำงาน และเมื่อตั้งใจทำงานแล้ว หมายความว่าพวกเขาจะส่งต่อความรู้สึกดีๆ ให้กับลูกค้าของคุณด้วย ซึ่งเมื่อพนักงานบริการดี พูดจาไพเราะ หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส ก็ทำให้ลูกค้าประทับใจร้านของคุณได้ด้วยเช่นกัน  

      และข้อเสียก็คือ การเรียกเก็บค่าเซอร์วิสชาร์จที่ไม่สมเหตุสมผลหรือมากเกินไป อาจทำให้ลูกค้าไม่ประทับและเปลี่ยนใจไปใช้บริการร้านอื่นเลยก็ได้  ไม่ว่าเราจะทำอะไร ก็มีทั้งข้อดี-ข้อเสีย อยู่ที่ว่าธุรกิจจะทำให้มันออกมาในรูปแบบไหน และเหมาะสมหรือไม่

วิธีคำนวณค่า Service Charge

      วิธีคำนวณคือ  ราคาอาหาร + Service Charge% + Vat 7% = ราคาที่ลูกค้าต้องจ่าย

ตัวอย่างเช่น  ราคาอาหาร 500 บาท

                        Service Charge 10%

                        Vat 7%

วิธีคำนวณคือ  500+10%+7% = 588.5 บาท

       พอถึงตรงนี้แล้วผู้ประกอบการรู้แล้วว่าวิธีการคำนวณค่า Service Charge ต้องคำนวณอย่างไร และที่สำคัญอย่าลืมคำนวณค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) ด้วย ไม่งั้นจะขาดทุนเอาได้นะ เพราะว่าค่าเซอร์วิสชาร์จทางธุรกิจจะไม่ได้รับรายได้นั้น แต่ต้องแบ่งจ่ายให้กับพนักงาน และในส่วนของค่าภาษีมูลค่าเพิ่มทุกคนก็น่าจะรู้ดีว่า ทางธุรกิจต้องจ่ายให้กับกรมสรรพพากร

      เพราะฉะนั้นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทุกคนก็ก่อนที่จะตั้งราคาของสินค้าหรือบริการก็อย่าลืมคำนวณสิ่งเหล่านี้ไปด้วยนะ เพื่อไม่ให้ขาดทุนในอนาคต


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

เค้กหรือมายากล!? ไอเดียสุดแหวก! เมื่อ “ราเมน” กลายเป็นเค้ก

Bob The Baker Boy ร้านเค้กในสิงคโปร์ทำให้คำว่า “เค้ก” เปลี่ยนไปตลอดกาล จาก "หน้าตา" เค้กที่แทบทุกคนเห็นแล้วต้องหยิบมือถือขึ้นมาถ่าย! ไอเดียแบบนี้เกิดจากความตั้งใจของเมย์ ฟง เจ้าของร้านสุดครีเอทีฟ

ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด ฉบับทายาทรุ่น 3 จาก 3 แบรนด์เก๋า หอยนางรม-น่ำเอี๊ยง-เด็กสมบูรณ์

ธุรกิจครอบครัวที่ผ่านรุ่น 3 ไปได้ต้องทำอย่างไร ? เราจะพาไปดูวิธี ‘ทรานฟอร์มธุรกิจให้รอด’ จาก 3 แบรนด์เก๋า: หอยนางรม - น่ำเอี๊ยง - เด็กสมบูรณ์" ​ ที่ไม่เพียงรักษามรดกครอบครัวไว้ แต่ยังสร้างโอกาสใหม่ๆ อีกด้วย ​